สนใจทำการตลาดผ่านสื่อและบริการของเราติดต่อ 0926516944 , 02 4243434, 02 434 3434
ทบทวนการศึกษาของ Halasa NB และคณะ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine ฉบับวันที่ 22 มิถุนายน 2022 และการศึกษาของ DeSilva M และคณะ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine ฉบับวันที่ 22 มิถุนายน 2022 เช่นกัน โดย แพทย์หญิง Deborah Lehman ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อในเด็กของศูนย์การแพทย์ Ronald Reagan มหาวิทยาลัย University of California, Los Angeles (UCLA) นคร Los Angeles มลรัฐ California สหรัฐอเมริกา
เด็กแรกเกิดอายุต่ำกว่า 6 เดือน ที่เกิดจากแม่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโรค COVID-19 ในระหว่างตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงที่ลดลงกับการที่จะต้องเข้านอนโรงพยาบาลเนื่องจากโรค COVID-19
การที่สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA) ขยายข้อบ่งใช้สำหรับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 จำนวนหนึ่งให้ครอบคลุมเด็กแรกเกิดที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน ช่วยให้เด็กกลุ่มนี้ที่ถือเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ยังไม่มีทางเลือกในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโรคติดเชื้อ COVID-19 ได้รับการปกป้องจากการติดเชื้อ COVID-19 ขณะเดียวกันก็มีคำแนะนำให้สตรีที่กำลังอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนโรค COVID-19 ด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่า สตรีตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากการติดเชื้อ COVID-19 (NEJM JW Infect Dis Mar 2022 and PLoS Med 2021 Nov 30; NEJM JW Mar 15 2022 and JAMA 2022 Feb 7; [e-pub])
ในการศึกษาแบบ multicenter, case-control study การศึกษาหนึ่งที่ทำขึ้นในช่วงที่กำลังมีการระบาดอย่างรุนแรงของเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ Delta และ Omicron ทั่วสหรัฐอเมริกา Halsasa และคณะได้ศึกษาเกี่ยวกับผลของการได้รับวัคซีนในแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ที่มีต่อความเสี่ยงของทารกแรกเกิดที่จะต้องเข้านอนโรงพยาบาลเนื่องจากโรค COVID-19 ด้วยการประเมินเด็กแรกเกิดอายุต่ำกว่า 6 เดือน จำนวน 537 คน ที่นอนโรงพยาบาลเนื่องจากติดเชื้อ COVID-19 แบบแสดงอาการ (symptomatic COVID-19) เปรียบเทียบกับเด็กแรกเกิดอายุต่ำกว่า 6 เดือนเช่นกัน จำนวน 512 คน กลุ่มควบคุม (control group) ที่นอนโรงพยาบาลแต่ไม่ได้ติดเชื้อ SARS-CoV-2 ที่เป็นเชื้อไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดติดเชื้อ COVID-19 ผลการศึกษาพบว่า เด็กแรกเกิดที่เข้านอนโรงพยาบาลเนื่องจากติดเชื้อ COVID-19 มีโอกาสน้อยกว่าเด็กแรกเกิดกลุ่มควบคุมที่จะคลอดจากแม่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโรค COVID-19 ในระหว่างตั้งครรภ์ (16% เทียบกับ 29% ตามลำดับ) เด็กแรกเกิดที่ติดเชื้อ COVID-19 ที่เกิดจากแม่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโรค COVID-19 อย่างครบถ้วน มีโอกาสน้อยกว่าที่จะมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงหรือจำเป็นต้องเข้ารักษาตัวในหน่วยผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือต้องได้รับการฉีดยา vasoactives เมื่อเทียบกับเด็กแรกเกิดที่ติดเชื้อ COVID-19 และเกิดจากแม่ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 ระหว่างตั้งครรภ์ หรือได้รับวัคซีน COVID-19 ไม่ครบถ้วน มีเด็กแรกเกิด 2 คน เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อ COVID-19 แต่ทารกเกิดทั้ง 2 คนนี้ ไม่ได้เกิดจากแม่ที่ได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 ระหว่างตั้งครรภ์ วัคซีน COVID-19 มีประสิทธิภาพ 52% ในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่เด็กแรกเกิดจะต้องเข้านอนโรงพยาบาลเนื่องจากติดเชื้อ COVID-19 และมีประสิทธิภาพ 70% ในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่เด็กแรกเกิดจะต้องเข้ารักษาตัวในหน่วยผู้ป่วยฉุกเฉินเนื่องจากติดเชื้อ COVID-19 อย่างไรก็ตาม วัคซีน COVID-19 มีสิทธิภาพน้อยกว่าในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของวัคซีนในช่วงการระบาดของเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ Delta (38% เทียบกับ 80% ตามลำดับ) และวัคซีน COVID-19 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเมื่อแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนหลัง 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์เทียบกับการได้รับวัคซีน COVID-19 ก่อน 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ (69% เทียบกับ 38% ตามลำดับ
ในการศึกษาแบบ retrospective cohort study ของ Naleway และคณะ มีเป้าประสงค์เพื่อประเมินความปลอดภัยของสตรีที่ได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 ระหว่างตั้งครรภ์ ด้วยการวิเคราะห์สตรีตั้งครรภ์จำนวนกว่า 45,000 คน ที่ได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 ระหว่างตั้งครรภ์ เปรียบเทียบกับสตรีตั้งครรภ์จำนวนกว่า 45,000 คนเช่นกัน ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 ระหว่างการตั้งครรภ์ (ในช่วงเดือนธันวาคม ปี 2020 ถึงกรกฎาคม ปี 2021) ผลการศึกษาพบว่า มีรายงานของอาการไข้ อ่อนล้า และปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีดบ่อยกว่าในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 เมื่อเทียบกับกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 อย่างไรก็ตาม มีอุบัติการณ์ของความจำเป็นที่ต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์หลังได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 น้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเลย (น้อยกว่า 1%)
ความคิดเห็น:
การศึกษาของ Halsasa และคณะ นอกจากจะสนับสนุนให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 แล้ว ยังช่วยให้มีหลักฐานยืนยันได้ว่าสตรีที่ได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 ในระหว่างตั้งครรภ์ สามารถส่งผ่านภูมิคุ้มกันไปให้กับลูกแรกเกิดอายุน้อยกว่า 6 เดือน ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเด็กแรกเกิดอายุต่ำกว่า 6 เดือนเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่ยังไม่มีข้อบ่งใช้สำหรับการฉีดวัคซีน COVID-19 ขณะที่ผลการศึกษาที่พบว่าการได้รับวัคซีน COVID-19 ช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ให้ประโยชน์ในแง่ของการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าการได้รับวัคซีน CIVID-19 ในช่วงครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับบทบาทและช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการได้รับวัคซีน COVID-19 เข็มกระตุ้นสำหรับสตรีที่ได้รับวัคซีน COVID-19 เข็มพื้นฐานอย่างครบถ้วนแล้วตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ ขณะที่การศึกษาแบบสังเกต (observational study) ของ Naleway และคณะ ช่วยให้มีความมั่นใจได้มากขึ้นว่าการได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 ระหว่างตั้งครรภ์มีความปลอดภัยดี
อ้างอิง:
• Halasa NB et al. Maternal vaccination and risk of hospitalization for Covid-19 among infants. N Engl J Med 2022 Jun 22; [e-pub]. (https://doi.org/10.1056/NEJMoa2204399. opens in new tab)
• DeSilva M et al. Evaluation of acute adverse events after Covid-19 vaccination during pregnancy. N Engl J Med 2022 Jun 22; [e-pub]. (https://doi.org/10.1056/NEJMc2205276. opens in new tab)