กระทกรก เถาสิงโต

20 มี.ค 2567 14:14:06จำนวนผู้เข้าชม : 1311 ครั้ง

กลุ่ม : เภสัชวัตถุ , ประเภท : พืชวัตถุ
ชื่อไทย:กระทกรก (กระโปรงทอง, รกช้าง, เถาสิงโต, ผ้าขี้ริ้วห่อทอง)

ชื่อท้องถิ่น:ผักขี้หิด (เลย)/ รุ้งนก (เพชรบูรณ์)/ เงาะป่า (กาญจนบุรี)/ เถาเงาะ เถาสิงโต (ชัยนาท)/ ยันฮ้าง (อุบลราชธานี), เยี่ยววัว (อุดรธานี)/ ผักบ่วง (สกลนคร)/ หญ้าถลกบาต (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์)/ เครือขนตาช้าง (ศรีษะเกษ)/ ตำลึงฝรั่ง ตำลึงทอง ผักขี้ริ้ว ห่อทอง (ชลบุรี)/ รกช้าง (ระนอง)/ หญ้ารกช้าง (พังงา)/ ผักแคบฝรั่ง (ภาคเหนือ)/ รก (ภาคกลาง)/ กระโปรงทอง (ภาคใต้)/ ละพุบาบี (มลายู-นราธิวาส, ปัตตานี)/ ผักแคบฝรั่ง (ขมุ)/ มั้งเปล้า (ม้ง)/ หล่อคุ่ยเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง)/ เล่งจูก้วย เล้งทุงจู (จีน)/ รังนก/ กะทกรกป่า
ชื่อสามัญ: Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking passion flower
ชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora foetida L.
ชื่อวงศ์: PASSIFLORACEAE
สกุล:Passiflora
สปีชีส์:foetida
ชื่อพ้อง:
-Cieca vellozii (Gardn.) M. Roem.
-Decaloba obscura (Lindl.) M. Roem.
-Dysosmia ciliata M. Roem.
-Dysosmia foetida (L.) M. Roemer
-Dysosmia hastata (Bertol.) M. Roem.
-Dysosmia hibiscifolia (Lam.) M. Roem.
-Passiflora foetida f. glabra A. & R. Fern.
-Passiflora foetida var. galapagensis Killip
-Passiflora foetida var. hastata (Bertol.) Mast.
-Passiflora foetida var. lanuginosa Killip
-Passiflora foetida var. longipedunculata Killip
-Passiflora foetida var. mayarum Killip
-Passiflora hastata Bertol.
-Passiflora hircina Sweet
-Passiflora liebmanni Mast.
-Passiflora marigouja Perr. ex Triana & Planch.
-Passiflora obscura Lindl.
-Passiflora variegata Mill.
-Passiflora vesicaria L.
-Passiflora vesicaria var. galapagensis (Killip) Vanderpl.
-Tripsilina foetida (L.) Raf.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นกะทกรกเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุประมาณ 2-5 ปี มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะ และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทุกส่วน และทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเขียว
ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัว ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเว้าเป็น 3 แฉก แผ่นใบมีขนสีน้ำตาลขนาดเล็กขึ้นทั้งสองด้าน และที่ขนมีน้ำยางเหนียว

ดอกออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ดอกมีกลีบดอก 10 กลีบ กลีบดอกด้านนอกเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนกลีบด้านในเป็นสีขาว มีกระบังรอบเป็นเส้นฝอยมีสีขาวโคนม่วง ส่วนกลีบเลี้ยงของดอกเป็นเส้นฝอย ดอกมีก้านชูเกสรร่วม แยกเป็นเกสรตัวผู้ประมาณ 5-8 ก้าน ส่วนก้านเกสรตัวเมียมีประมาณ 3-4 ก้าน รังไข่เกลี้ยง

ผลลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมสีส้ม และมีใบประดับเส้นฝอยคลุมอยู่ ภายในผลมีเนื้อหุ้มเมล็ดใสและฉ่ำน้ำ (คล้ายกับเมล็ดแมงลักแช่น้ำ) มีรสหวานแบบปะแล่ม ๆ
สภาพนิเวศวิทยา: -
ถิ่นกำเนิด: -
การกระจายพันธุ์: -
การปลูกและการขยายพันธุ์:ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สรรพคุณ:
-ตำรายาไทย
*เถา-ใบ รสชุ่มเย็นเอียน สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับเสมหะทรวงอก แก้ไอ แก้บวม
*ผลสุก รสหวานเปรี้ยว สรรพคุณ บำรุงปอด แก้ปอดอักเสบ ขับเสมหะ
องค์ประกอบทางเคมี: -
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:


- ฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลางผลอ่อนและใบอ่อน มีสารประกอบไซยาไนต์คือ ไซยาโนจีนิก ไกลโคไซด์ ซึ่งเป็นสารพิษ แต่พิษจะสลายไปเมื่อถูกความร้อนที่นานพอ และในงานวิจัยยังใช้ส่วนของลำต้นและใบเพื่อนำมาประเมินคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมี โดยสกัดด้วยวิธีการสกัดต่อเรื่องด้วยเครื่องสกัดต่อเนื่องด้วยเอทานอล 95% จะได้ปริมาณสารสกัดเท่ากับ 23.37% โดยน้ำหนัก ซึ่งสารสกัดที่ได้จะเป็นของเหลวที่มีลักษณะข้นหนืด เป็นสีน้ำตาล และมีกลิ่นเฉพาะตัว
- เมื่อให้สารสกัดกะทกรกทางปากในสัตว์ทดลองซึ่งเป็นหนูตัวผู้พันธุ์วิสตาร์ที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในช่วง 180-220 กรัม เป็นระยะเวลา 28 วัน พบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางอย่างกว้างขวาง มีฤทธิ์ทำให้สงบระงับได้ สามารถช่วยระงับความวิตกกังวล ช่วยลดอาการซึมเศร้า ลดอาการความจำบกพร่อง และยังช่วยเพิ่มความหนาแน่นของเซลล์ประสาทในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส นอกจากนี้ยังสามารถนำไปพัฒนาเป็นสารสกัดกะทกรกด้วยเอทานอลในรูปแบบของยาเม็ดขนาด 125 มิลลิกรัมต่อเม็ด ซึ่งจะได้เป็นยาเม็ดที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของการผลิตเป็นยาสมุนไพรที่เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ และยังมีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพดี มีความคงตัวสูง
การศึกษาทางพิษวิทยา:-


การใช้ประโยชน์:
-โรคผิวหนัง ผื่นคัน ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำพอสมควร นำมาทาวันละ 3-4 ครั้ง เพื่อใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคัน แก้หิด
-อาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้ใบนำมาตำใช้พอกหรือประคบที่ศีรษะ
-อาการไข้ ไข้จับสั่น ใช้รากต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น
-อาการหวัด คัดจมูก ใช้ใบตำพอกศีรษะ ช่วยแก้อาการหวัด คัดจมูก
-อาการท้องอืดเฟ้อ ช่วยทำให้ผายลม ใช้เมล็ดนำมาตำให้ละเอียด ใช้ผสมกับน้ำส้มและรมควันให้อุ่น แล้วเอาไปทาท้องเด็ก
-อาการแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ใช้เปลือกต้นนำมาตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าว ช่วยแก้ไฟไหม้น้ำร้อนลวก
-ช่วยขับพยาธิ ใช้ใบนำมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาเบื่อและยาขับพยาธิ
-สิว ใบนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำใช้พอกรักษาสิว
-ยอดอ่อน สามารถใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำมาต้มหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก และแกงเลียง
-ผลดิบสีเขียว รสขม ทำให้เมา กลิ่นเหม็นเขียว ทุบแล้วแช่น้ำหนึ่งคืน ใช้ฉีดรอบโคนต้นดอกไม้ป้องกันหอยกัดกิน และทำลายการเกิดแมลงศัตรูพืชที่ฝังตัวอยู่ตามพื้นดิน
-ผลสุกสีเหลือง รสเปรี้ยวปร่า เป็นอาหารนก คนโบราณรับประทานช่วยระบายท้อง
-ในด้านทางการเกษตร เนื่องจากต้นกะทกรกมีสารพิษชื่อว่า Cyanpgenetic glycosides ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นยาฆ่าและป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ โดยเฉพาะตัวด้วงถั่วเขียว ซึ่งสารพิษดังกล่าวจะไปยับยั้งการเกิดเป็นตัว
-ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดินและทำปุ๋ยหมักได้ เนื่องจากต้นกะทกรกมีกลิ่นเหม็นเขียว จึงช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์เข้ามาทำลายได้
-แพทย์ชาวเวียดนามใช้ใบเป็นสงบระงับ ระงับความเครียดและความวิตกกังวล ด้วยการใช้ใบแห้งประมาณ 10-15 กรัม (ต่อวัน) นำมาต้มกับน้ำดื่ม
-ชาวจีนใช้ดอกตากแห้งต้มจิบเป็นยาคุมธาตุ และแก้ไอ

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล


https://thai-herbs.thdata.co/page/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%81-%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%95/