พบเคสดาวน์ซินโดรมครั้งแรกในมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล

18 ก.ค. 2567 16:05:47จำนวนผู้เข้าชม : 65 ครั้ง

กระดูกหูรูปทรงผิดปกติของเด็กหญิงยุคหินวัย 6 ขวบ ที่พบในถ้ำแห่งหนึ่งในสเปนได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญแล้วว่า เธอเป็นโรคดาวน์ซินโดรม สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วโลกที่พบมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรมเป็นครั้งแรก และเป็นข้อมูลใหม่ต่อการศึกษาพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ถ้ำในยุคนั้น
 


วารสาร Science Advances ฉบับวันที่ 26 มิถุนายน รายงานว่า จากการใช้เทคโนโลยี micro-CT สแกนกะโหลกศีรษะของโครงกระดูกเด็กยุคหินที่นักวิจัยตั้งชื่อว่า "ทีน่า" ในถ้า Cova Negra ในเมืองบาเลนเซีย ประเทศสเปน ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ส่วนหูด้วยการจำลองภาพดิจิทัล 3 มิติ จึงพบเบาะแสว่า ส่วนหูชั้นในผิดรูปทรงมีความผิดปกติทางพันธุกรรมเกี่ยวกับโครโมโซมและอยู่ในข่ายของอาการดาวน์ซินโดรม ทำให้ทิน่าทุกข์ทรมานจากการอักเสบภายในหู ทำให้สูญเสียการได้ยินและมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงได้ ก่อนที่เธอจะเสียชีวิตในวัยประมาณ 6 ขวบ


โครงกระดูกของทิน่าถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1989 แต่การวิเคราะห์ความผิดปกติของหูด้วยเทคโนโลยี micro-CT เพิ่งจะดำเนินการในปีนี้ การที่ทิน่าป่วยและอ่อนแอสามารถมีชีวิตรอดมาได้อย่างน้อย 6 ปี นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า น่าจะเป็นเรื่องของการดูแลและช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในชุมชนของมนุษย์สายพันธุ์มีแอนเดอร์ทัลที่อาศัยอยู่ตามถ้ำ แม้ว่าจะเป็นสมาชิกที่เจ็บป่วยและเปราะบางที่สุด ซึ่งเป็นเคสที่มีนัยสำคัญต่อความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ยุคหินในแถบยูเรเซียเมื่อประมาณ 400,000 ถึง 40,000 ปีก่อน

ข้อมูล :


https://www.livescience.com/archaeology/neanderthals-cared-for-HYPERLINK "https://www.livescience.com/archaeology/neanderthals-cared-for-6-year-old-with-down-syndrome-fossil-find-reveals"6HYPERLINK "https://www.livescience.com/archaeology/neanderthals-cared-for-6-year-old-with-down-syndrome-fossil-find-reveals"-year-old-with-down-syndrome-fossil-find-reveals