HTTPS://MEDICALXPRESS.COM, .---HTTPS://LINK.SPRINGER.COM/ARTICLE/10.1007/S11606-021-07349-5: ข้อมูลจากการศึกษาแบบ LONGITUDINAL STUDY ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร JOURNAL OF GENERAL INTERNAL MEDICINE ฉบับวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 แสดงให้เห็นว่า การใช้ยาแก้ปวด (ANALGESICS) ที่ผู้บริโภคสามารถซื้อหารับประทานได้เองจากร้านขายยาโดยทั่วไป หรือที่เรียกว่า OVER-THE-COUNTER (OTC) ANALGESICS อยู่บ่อย ๆ ได้แก่ ASPIRIN, ยากลุ่ม NON-STEROIDAL ANTI-INFLAMMATORY DRUGS หรือ NSAIDS) และ ACETAMINOPHEN มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเกิดภาวะหูอื้อ หรือเสียงดังรบกวนในหู (TINNITUS)
คณะนักวิจัยของ BRIGHAM AND WOMEN’S HOSPITAL ในนคร BOSTON มลรัฐ MASSACHUSETTS สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาด้วยการติดตามสตรีชาวอเมริกันจำนวนทั้งสิ้น 69,455 คน อายุ 31–48 ปี และไม่ได้มีภาวะหูอื้อหรือเสียงรบกวนในหูเมื่อเริ่มต้นการศึกษา โดยสตรีเหล่านี้ร่วมอยู่ในการศึกษาที่มีชื่อว่า NURSES’ HEALTH STUDY II (NHSII) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ LONGITUDINAL STUDY ขนาดใหญ่ที่ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของภาวะสูญเสียการได้ยินและเสียงรบกวนในหูที่กำลังดำเนินอยู่ขณะนี้
ผลการศึกษาจากการติดตามผู้เข้าร่วมการศึกษานี้เป็นเวลา 20 ปี พบว่า มีอุบัติการณ์ของภาวะหูอื้อหรือเสียงดังรบกวนในหูจำนวนทั้งสิ้น 10,452 CASES ขณะเดียวกันพบว่า การใช้ OTC ANALGESICS และรวมถึงการใช้ยาแพทย์สั่งจ่ายกลุ่ม COX-2 INHIBITORS บ่อย ๆ คือ 6-7 วันต่อสัปดาห์ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิด TINNITUS
โดยการใช้ MODERATE-DOSE ASPIRIN บ่อย ๆ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิด TINNITUS ได้ถึง 16% ในกลุ่มสตรีที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี แต่ไม่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิด TINNITUS ในกลุ่มสตรีที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และการใช้ LOW-DOSE ASPIRIN (เท่ากับหรือน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม) ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิด TINNITUS
การใช้ยากลุ่ม NSAIDS หรือการใช้ ACETAMINOPHEN บ่อยๆ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิด TINNITUS ได้เกือบ 20%
การใช้ยากลุ่ม COX-2 INHIBITOR อยู่เป็นประจำ (ตั้งแต่ 2 วันขึ้นไปต่อสัปดาห์) เพิ่มความเสี่ยงของการเกิด TINNITUS ได้ถึง 20%