จับตาบทบาทของ Dengue Vaccine ตัวใหม่ ช่วยลดความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย

 


คณะผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้วัคซีนไข้เลือดออกตัวใหม่ TAK-003 สำหรับป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีไปจนถึง 16 ปีในพื้นที่ที่มีโรคไข้เลือดออกเป็นโรคระบาดประจำถิ่นขณะที่คณะกรรมาธิการยุโรปก็ให้การรับรองการทำการตลาดของ TAK-003 ในสหภาพยุโรปสำหรับป้องกันโรคไข้เลือดออกในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไปทั้งนี้เนื่องจากมีข้อมูลสนับสนุนจากทั้งการศึกษาทางคลินิกในระยะที่ 1, 2 และ 3 โดยเฉพาะการศึกษาทางคลินิกในระยะที่ 3 ที่เป็น landmark หรือ pivotal trial ที่มีชื่อว่า TIDES ซึ่งพบว่า TAK-003 มี overall vaccine efficacy (VE) สูงถึง 80.2% ในการป้องกัน virologically confirmed dengue และมีประสิทธิภาพสูงถึง 95.4% ในการป้องกัน dengue leading to hospitalization
                    ในการประชุมประจำเดือนกันยายนปี 2023 ของคณะผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันโรค (Strategic Advisory Group of Experts or SAGE on Immunization) ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) SAGE มีคำแนะนำให้ใช้วัคซีนไข้เลือดออกตัวใหม่ TAK-003 หรือที่มีชื่อทางการค้าว่าQdenga (dengue tetravalent vaccine [live, attenuated]) สำหรับป้องกันโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (dengue viruses) ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีไปจนถึง 16 ปีที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีโรคไข้เลือดออกเป็นโรคระบาดประจำถิ่น (endemic) ทั้งนี้เพื่อลดการแพร่เชื้อไปยังผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อไวรัสเดงกีมาก่อน (seronegative)
                    ในรายงานการประชุมดังกล่าวของ SAGE ระบุว่า SAGE ได้มีการทบทวนข้อมูลของ TAK-003 จาก 19 การศึกษาทางคลินิกทั้งการศึกษาทางคลินิกในระยะที่ 1, ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ที่มีผู้เข้าร่วมทั้งเด็กและผู้ใหญ่จำนวนรวมกันมากกว่า 28,000 คนซึ่งรวมถึงการศึกษาทางคลินิกในระยะที่ 3 ที่ถือเป็น pivotal trial ของ TAK-003 ที่มีชื่อว่า TIDES (Tetravalent Immunization against Dengue Efficacy Study) ที่ออกแบบขึ้นมาตามแนวทางปฏิบัติของ WHO สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนไข้เลือดออกรุ่นที่ 2 (second-generation dengue vaccine) โดย pivotal TIDES บรรลุเป้าประสงค์หลัก (primary endpoint) ด้วยการมี overall vaccine efficacy (VE) 80.2% (95% confidence interval [CI], 73.3 to 85.3) ในการป้องกัน virologically-confirmed dengue (VCD) ที่ 12 เดือนของการ follow-up ผู้เข้าร่วมการศึกษา (เด็กและวัยรุ่นอายุ 4-16 ปีที่มีสุขภาพแข็งแรง) จำนวน 19,021 คนที่ได้รับการฉีด TAK-003 ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous หรือ SC) 2 เข็มห่างกัน 3 เดือนขณะเดียวกัน pivotal TIDES ยังบรรลุเป้าประสงค์รอง (secondary endpoints) ด้วยการมี overall VE อยู่ที่ 95.4% (95% CI, 88.4 to 98.2) ในการป้องกัน VCD leading to hospitalization และมี overall VE อยู่ที่ 80.9% (95% CI, 75.2 to 85.3) ในการป้องกัน VCD ในผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 20,071 คนที่ได้รับ TAK-003 อย่างน้อย 1 เข็มหรือได้รับ placebo vaccine


 

                    นอกจากนี้จากการติดตามผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็นเวลานาน 4 ปีครึ่ง (54 เดือนหลังจากได้รับเข็มที่ 2 ของ TAK-003 หรือplacebo vaccine) ซึ่งเป็น exploratory analysis พบว่า TAK-003 ยังคงสามารถ maintain efficacy ด้วย sustained overall VE อยู่ที่ 61.2% ในการป้องกัน VCD และ 84.1% ในการป้องกัน VCD leading to hospitalization
                   TIDES (DEN-301) trial เป็นการศึกษาทางคลินิกแบบ double-blind, randomized, placebo-controlled, phase III trial ที่มุ่งประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ TAK-003 ในการป้องกัน laboratory-confirmed symptomatic dengue fever หรือ VCD (ไม่ว่าจะมีความรุนแรงของการเกิดเชื้อไวรัสเดงกีอยู่ในระดับใดก็ตามและไม่ว่าจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกีสายพันธุ์ใดได้แก่ DEN-1, DEN-2, DEN-3 และ DEN-4) เปรียบเทียบกับ placebo-matching TAK-003 vaccine ในอาสาสมัครเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 4 ปีไปจนถึง 16 ปีที่มีสุขภาพแข็งแรงจำนวนทั้งสิ้น 20,071 คนใน 26 sites ใน 2 ภูมิภาคที่มีไข้เลือดออกเป็นโรคระบาดประจำถิ่นได้แก่ลาตินอเมริกา (Brazil, Colombia, Dominican Republic, Nicaragua และ Panama) และเอเชีย, Sri Lanka และ Thailand) อาสาสมัครถูกสุ่ม (2:1) ออกเป็น 2 กลุ่มกลุ่มหนึ่งได้รับ TAK-003 (0.5 mL ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง 2 เข็มห่างกัน 3 เดือนคือ month 0 และ month 3) ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งได้รับ matching placebo (0.5 mL ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง 2 เข็มห่างกัน 3 เดือนเช่นกัน) โดย TIDES trial ประกอบด้วย 5 parts ได้แก่ Part 1 ประเมินเป้าประสงค์หลักคือประสิทธิภาพและความปลอดภัยเป็นเวลา 12 เดือนหลังจากได้รับ TAK-003 หรือ matching placebo เข็มที่ 2, Part 2 ติดตามผู้เข้าร่วมการศึกษาต่อไปเพิ่มเติมอีก 6 เดือนเพื่อประเมินเป้าประสงค์รองคือประสิทธิภาพของวัคซีนต่อการติดเชื้อไวรัสเดงกีแต่ละสายพันธุ์ประสิทธิภาพของวัคซีนต่อserostatus ของอาสาสมัครเมื่อเริ่มต้นการศึกษา (seropositive คือผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสเดงกีมาก่อนและ seronegative คือผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อไวรัสเดงกีมาก่อน) และประสิทธิภาพของวัคซีนต่อความรุนแรงของโรคในระดับต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกัน VCD leading to hospitalization, Part 3 ประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนในระยะยาวด้วยการติดตามอาสาสมัครเพิ่มเติมเป็นเวลา 2 ปีครึ่งถึง 3 ปี (ตามคำแนะนำของ WHO เกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนไข้เลือดออกในระยะยาว), Part 4 ประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนเป็นเวลา 13 เดือนหลังจากอาสาสมัครได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น (booster) และ Part 5 ประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระยะยาวของวัคซีนไข้เลือดออกหลังจากอาสาสมัครเสร็จสิ้นการศึกษาใน Part 4
                   นอกจาก TAK-003 จะได้รับคำแนะนำในการใช้ป้องกันโรคไข้เลือดออกจากคณะผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของ WHO แล้วในเดือนธันวาคมปี 2565 คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission หรือ EC) ได้ให้การรับรองการทำงานตลาดของวัคซีนไข้เลือดออกตัวใหม่ TAK-003 หรือQdengaในสหภาพยุโรป (European Union หรือ EU) สำหรับป้องกันโรคไข้เลือดออกในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไปโดยข้อมูลที่ EC ใช้ประกอบการพิจารณาให้การรับรอง TAK-003 เป็นข้อมูลเดียวกันกับข้อมูลที่ SAGE ของ WHO ใช้ประกอบการพิจารณาให้คำแนะนำในการใช้วัคซีนไข้เลือดออกตัวใหม่นี้ นอกจากนี้บริษัท Takeda ซึ่งเป็นผู้ค้นคว้าพัฒนาและผลิตวัคซีนไข้เลือดออกตัวใหม่ TAK-003 หรือQdengaยังได้แจ้งเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2566 ว่าวัคซีนไข้เลือดออก TAK-003 หรือQdengaได้รับการรับรองเป็นที่เรียบร้อยแล้วในยุโรปสหราชอาณาจักรบราซิลอาร์เจนตินาอินโดนีเซียและไทยโดย Takeda กำลังอยู่ระหว่างการยื่นขอรับการรับรองใช้ TAK-003 หรือQdengaในอีกหลายประเทศทั่วโลก
                    สำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในทั่วโลกในเดือนกรกฎาคมปี 2566 WHO ได้ออกมาเตือนว่า จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วโลกอาจจะทำสถิติสูงมากเป็นประวัติการณ์ในปี 2566 โดยมีภาวะโลกร้อน (global warming) เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่เกื้อหนุนการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก โดยนับตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 2000 เป็นต้นมาจนถึงปีคริสต์ศักราช 2022 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 8 เท่าคือมีผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนถึง 4.2 ล้านคนในปีคริสต์ศักราช 2022 และก่อนหน้านี้ในเดือนมกราคมปีเดียวกัน WHO ได้ออกมาเตือนว่า ไข้เลือดออกเป็นโรคเขตร้อนที่มียุงเป็นแมลงนำที่มีการระบาดรวดเร็วที่สุดของโลก


                 ในส่วนของสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 นพ. ธงชัยกีรติหัตถยากรรักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรคเปิดเผยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 มีผู้ป่วยสะสม 123,081 คนเสียชีวิต 139 คนซึ่งผู้ป่วยในปี 2566 พบว่าสูงกว่าปี 2565 ในช่วงเวลาเดียวกันถึง 3.4 เท่าโดยมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ล่าสุด 3,613 คนและอัตราป่วยตายสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 25-34 ปีโรคไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มีอยู่ 4 สายพันธุ์ดังนั้นคน ๆ หนึ่งจะเป็นโรคไข้เลือดออกได้ 4 ครั้ง และหากได้รับเชื้อซ้ำในต่างสายพันธุ์กันก็จะเสี่ยงทำให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น หากพบผู้สงสัยป่วยไข้เลือดออกเช่นมีไข้สูงรับประทานยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลดลงนานเกิน 2 วันหน้าแดงตาแดงปวดท้องถ่ายดำมีเลือดออกตามไรฟันหรือเลือดกำเดาให้สงสัยว่าอาจป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกอย่าปล่อยไว้ให้รีบรับการรักษาจะช่วยลดโอกาสเสียชีวิตลงได้


แหล่งที่มาของข้อมูล : www.nejm.org, www.thaitravelclinic.com, www.takeda.com, https://academic.oup.com, www.news-medical.net, https://ddc.moph.go.th, www.who.int