นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Aston พัฒนาเทคนิคการวินิจฉัยโรคแบบใหม่ด้วยการใช้แสงประเภท Orbital Angular Momentum (OAM) ที่จะทำให้แพทย์สามารถติดตามการลุกลามของโรคได้สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัย
วารสาร Nature Journal Light Science & Application เผยแพร่ผลงานวิจัยที่น่าตื่นเต้นที่สุดชิ้นหนึ่งแห่งปีเมื่อศาสตราจารย์ Igor Meglinskiจากมหาวิทยาลัย Aston ในอังกฤษนำทีมวิจัยศึกษาความน่าจะเป็นของการนำแสงประเภท Orbital Angular Momentum (OAM) มาใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคโดยไม่ต้องผ่าตัดและใช้สัญญาณของระบบสื่อสารเส้นใยแก้วนำแสง
ศาสตราจารย์ Meglinski พบว่าแสง OAM มีความแม่นยำและไวมากในการถ่ายทอดข้อมูลภาพ และยังสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงที่เล็กน้อยได้อย่างแม่นยำถึง 0.000001 ในดัชนีการหักเหของแสง ซึ่งเหนือกว่าความสามารถของเทคโนโลยีการวินิจฉัยโรคอื่นๆในปัจจุบันมาก จึงช่วยให้แพทย์สามารถติดตามการลุกลามของโรคและวางแผนทางเลือกการรักษาที่เหมาะสมได้
OAM เป็นประเภทของลำแสงกระแสวน (Vortex Beam) ซึ่งก่อนหน้านี้นำไปใช้ในการทำงานหลายด้าน เช่น ดาราศาสตร์กล้องจุลทรรศน์ เทคนิคการสร้างภาพ เป็นต้น แต่ผลงานวิจัยล่าสุดของศาสตราจารย์ Meglinski ในบทความเรื่อง "การเก็บรักษาเฟสของโมเมนตัมเชิงมุมของวงโคจรแสงในสภาพแวดล้อมที่แสงเกิดการกระเจิงหลายจุด" สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการชีวการแพทย์ขั้นสูงและยิ่งผู้ป่วยโรคเบาหวาน การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอาจจะไม่ต้องมีการเจาะเลือดให้เจ็บปวดอีกต่อไป
แหล่งข้อมูล :