Updated guidelines โรคความดันโลหิตสูง ESC แนะนำให้ใช้ more aggressive targets

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยล่าสุดของ European Society of Cardiology (ESC) แนะนำให้ใช้ more intensive treatment targets ด้วย new systolic BP treatment target range 120-129 mmHg สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ที่กำลังอยู่ระหว่างการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต ขณะเดียวกันก็เพิ่ม category ใหม่ของ BP classification system นั่นก็คือ elevated BP (confirmed office 120-139/70-89 mm Hg) ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปี ที่มีความดันโลหิตเพิ่มขึ้นและมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดตามมา ให้ได้รับการรักษาด้วย more intensive treatment targets เสียแต่เนิ่นๆ


ในระหว่างงานประชุมวิชาการประจำปี ค.ศ.2024 ของ European Society of Cardiology (ESC) ซึ่งจัดขึ้นในกรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 30 สิงหาคมถึงวันที่ 2 กันยายน 2567 คณะผู้เชี่ยวชาญนานาชาติในการจัดทำเอกสารทางวิชาการของ ESC ภายใต้การนำของศ.นพ. John William McEvoy (Department of Cardiology, University of Galway School of Medicine, Galway, Ireland) และศ.นพ. Rhian M. Touyz (Department of Medicine, McGill University, Montreal, Canada) ได้นำเสนอแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยล่าสุดของ ESC ซึ่งได้รับการรับรองจากทั้ง European Society of Endocrinology (ESE) และ European Stroke Organisation (ESO) ขณะเดียวกัน 2024 ESC guidelines for the management of elevated blood pressure and hypertension ฉบับนี้ยังได้รับการเผยแพร่ผ่านทางช่องทาง online ของวารสารEuropean Heart Journal เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 อีกด้วยโดยมีสาระสำคัญๆดังต่อไปนี้


ในเรื่อง blood pressure (BP) classification เพื่อช่วยในการป้องกันและการตัดสินใจให้การรักษาได้เปลี่ยนจากการใช้ seven-category classification system ในแนวทางเวชปฏิบัติว่าด้วยการดูแลรักษา arterial hypertension ก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ.2018 ของ ESC ร่วมกับ European Society of Hypertension (ESH) ที่ประกอบด้วย optimal BP (office systolic
โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปและมี elevated BP ในแนวเวชปฏิบัติใหม่ล่าสุดของ ESC มีคำแนะนำว่าก่อนที่จะพิจารณาให้การรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต (BP-lowering medications) ให้เริ่มด้วย lifestyle interventions โดยเฉพาะด้วยการออกกำลังกายแบบ moderate-intensity aerobic exercise เป็นเวลาตั้งแต่ 150 minutes/week ขึ้นไปควบคู่ไปกับการลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดบริโภคน้ำตาลเป็นเวลา 3 เดือนหากหลังจาก 3 เดือนมี office confirmed BP ตั้งแต่ 130/80 mmHg ขึ้นไปและมี high cardiovascular (CVD) risk คือมี CVD risk ตั้งแต่ 10% ขึ้นไปในช่วง 10 ปีแนะนำให้เริ่มการรักษาด้วยการใช้ BP-lowering medications ทันทีเพื่อลด BP และลด CVD risk


 

ขณะที่เรื่อง treatment targets ของการรักษาผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่มีความดันโลหิตสูงและกำลังอยู่ระหว่างการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต เดิมมีคำแนะนำให้ใช้ two-step approach กล่าวคือเริ่มแรกควบคุมความดันโลหิตให้ลงไปอยู่ที่ระดับเป้าหมายคือ office systolic BP < 140 mmHg และ office diastolic BP < 90 mmHg หากบรรลุถึงเป้าหมายนี้แล้วหลังจากนั้นจึงค่อยๆขยับไปสู่การควบคุมความดันโลหิตให้ลดลงไปสู่เป้าหมายที่ระดับ office systolic BP < 130 mmHg และ office diastolic BP < 80 mmHg แต่แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับ elevated BP และ hypertension ฉบับปรับปรุงให้ทันสมัยล่าสุดในปี ค.ศ.2024 ของ ESC มีคำแนะนำให้ใช้ more intensive treatment targets นั่นก็คือโดยทั่วไปแล้วแนะนำว่าให้ลดความดันโลหิตลงไปสู่ระดับเป้าหมายที่ office systolic BP 120-129 mmHg เสียเลยทันทีตั้งแต่แรกสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่กำลังอยู่ระหว่างการรักษาด้วย BP-lowering medications


อย่างไรก็ตามการใช้ more intensive treatment targets ด้วย new systolic BP treatment target range 120-129 mmHg มีเงื่อนไขสำคัญอย่างยิ่งก็คือว่าคนไข้ต้องมี well tolerated กับเป้าหมายนี้นอกจากนี้แพทย์ผู้ให้การรักษายังสามารถใช้เป้าหมายของ BP targets ที่ผ่อนปรนหรือเป้าหมายที่มีความเข้มข้นไม่มากนักกับคนไข้ที่มี symptomatic orthostatic hypotension, คนไข้ที่มีอายุตั้งแต่ 85 ปีขึ้นไป, คนไข้ที่มี moderate to severe frailty และรวมถึงคนไข้ที่มี limited life expectancy ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้คนไข้สามารถบรรลุเป้าหมายในการลดความดันโลหิตได้อย่างไม่ยากเย็น


ส่วนเรื่องการวัดความดันโลหิตในแนวทางเวชปฏิบัติฉบับใหม่ล่าสุดนี้ของ ESC มีคำแนะนำที่หนักแน่นมากกว่าเท่าที่เคยมีมา (class I, level B recommendation) ให้ใช้ out-of-office BP measurement สำหรับการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยที่มี elevated BP หรือมี hypertension โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยเหตุผลที่ว่า out-of-office BP measurement สามารถค้นหาได้ทั้ง white-coat hypertension (office BP สูงแต่ out-of-office BP ปกติ) และ masked hypertension (office BP ปกติแต่ out-of-office BP สูง) แต่หากไม่สามารถวัดความดันโลหิตได้ด้วย out-of-office BP measurement แนะนำให้วินิจฉัยด้วย repeat office BP measurement


นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ ESC มีคำแนะนำให้ใช้วิธีการจี้เส้นประสาทอัตโนมัติบริเวณหลอดเลือดแดงไตด้วยสายสวน (renal denervation) สำหรับผู้ป่วยที่มี resistant hypertension (ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีพอแม้จะได้รับการรักษาด้วย BP-lowering drugs ร่วมกันมาแล้วถึง 3 ตัวซึ่งในจำนวนนี้มียา thiazide หรือยา thiazide-like diuretic รวมอยู่ด้วย และรวมถึงผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีความประสงค์จะได้รับการรักษาด้วย minimally invasive procedure นี้ (มีการให้ข้อเท็จจริงและปรึกษาหารือกันแล้วเป็นอย่างดีระหว่างแพทย์ผู้ให้การรักษาและผู้ป่วยเกี่ยวกับเรื่อง risk-benefit ของ renal denervation รวมถึงมีการประเมินจากทีมสหวิชาชีพที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย)


ส่วนการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต (lifestyle modifications) ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ของการรักษามาตรฐานสำหรับโรคความดันโลหิตสูง (อีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้ยาลดความดันโลหิต) นั้นใน 2024 ESC hypertension guidelines แนะนำให้ออกกำลังกายแบบ vigorous-intensity aerobic exercise เป็นเวลา 75 minutes/week จากเดิมที่แนะนำให้ออกกำลังกายแบบ moderate-intensity aerobic exercise เป็นเวลาอย่างน้อย 2.5 ชั่วโมง/week และเสริมด้วยการออกกำลังกายแบบมีการใช้แรงต้าน (low- or moderate-intensity dynamic หรือ isometric resistance training) สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง


แนวทางเวชปฏิบัติที่ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยล่าสุดของ ESC สำหรับการดูแลรักษา elevated BP และ hypertension มีความใกล้เคียงมากกับแนวทางเวชปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันค้นหาประเมินและรักษาความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปของ American College of Cardiology (ACC) และ American Heart Association (AHA) ฉบับปี ค.ศ.2017 ที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบันซึ่งมี BP classification 3 category ประกอบด้วย normal BP (<120/

แหล่งที่มาของข้อมูล: https://academic.oup.com, www.escardio.org, www.medscape.com, www.tctmd.com, www.healio.com, https://whleague.org, https://ish-world.com, www.who.int, www.news-medical.net, www.acc.org