การฉีดวัคซีนป้องกันติดเชื้อHPVลดความเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกได้จริง

N Engl J Med 2020 Oct 1

ในการศึกษาจากประชากรที่สวีเดนพบว่า ความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกลดลงร้อยละ 88 ในผู้หญิงที่ได้รับการฉีดวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันก่อนอายุ 17 ปี
    วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ Human papillomavirus (HPV) ได้รับอนุญาตให้ใช้เนื่องจากมีประสิทธิผลในการลดอุบัติการณ์ของเซลล์เยื่อบุปากมดลูกมีการแบ่งตัวผิดปกติ ที่เป็น high-grade intraepithelial neoplasiaอันเป็นเซลล์ตั้งต้น (precursor)ของมะเร็งปากมดลูก อย่างไรก็ตาม เป้าหมายทางสาธารณสุขในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้หญิงนั้นเพื่อจะป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกลุกลาม
    ในการศึกษาจากประชากรในประเทศสวีเดน คณะผู้วิจัยได้ประเมินอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปากมดลูกในเด็กผู้หญิงและผู้ใหญ่มากกว่า 1.6 ล้านคน (ช่วงอายุ 10-30 ปี) ซึ่งมีการติดตามตั้งแต่ปี 2006 จนถึงปี 2017  มีการใช้วัคซีนQuadrivalent HPV (ชนิดไวรัส4 สายพันธุ์ คือ 6, 11, 16 และ 18)ในสวีเดนในปี 2007กับเด็กผู้หญิงอายุ 13-17 ปี โดยมีโครงการขยายการเข้าถึงวัคซีนในเวลาต่อมา(สำหรับเด็กผู้หญิงจนถึงอายุ 18 ปี) และมีการเริ่มให้ภูมิคุ้มกันกับเด็กผู้หญิงเมื่ออายุ 10 ปี
    ในการศึกษานี้ซึ่งมีเด็กผู้หญิงร้อยละ 32 ได้รับวัคซีน HPV อย่างน้อย 1 ครั้ง ปรากฏว่ามีผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก 19 คนในผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีน และ 538 คนในผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับวัคซีน  หลังจากปรับตัวแปรร่วมแล้ว อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปากมดลูกลดลงร้อยละ 88 ในผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนก่อนอายุ 17 ปี และร้อยละ 53 ในผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนตอนอายุ 17 –30 ปี
    การขาดหลักฐานว่าด้วยประโยชน์ในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นเหตุผลที่ว่า ไม่ควรนำโครงการเสริมภูมิคุ้มกัน HPV ออกไปสู่ประชาชนทั่วไป  ข้อดีที่ชัดเจนของการให้วัคซีนที่แสดงให้เห็นการศึกษาครั้งนี้ (แม้ในกลุ่มผู้หญิงในวัย 20 กว่าปี ซึ่งพบโรคมะเร็งปากมดลูกน้อยมาก) ทำให้เราควรใส่ใจกับประชากรกลุ่มที่เหลือ  ประโยชน์ดังกล่าวนี้จะพบในประเทศที่มีการรักษาพยาบาลที่จัดระเบียบอย่างดีและให้บริการฟรี รวมไปถึงการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 23 ปี ซึ่งแสดงว่า เมื่อพิจารณาครอบคลุมทั่วโลกแล้ว ประโยชน์จะมียิ่งมากขึ้น