ใช้วัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านมะเร็ง melanoma ระยะยาว

Nature Medicine, HealthDay

จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า การให้ผู้ป่วยมะเร็ง melanoma ได้รับวัคซีนเฉพาะบุคคลสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านเนื้องอกอยู่ได้นานหลายปี
    การศึกษาครั้งนี้ครอบคลุมผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง melanoma ระยะแพร่กระจายเพียง 8 คน โรคมะเร็งผิวหนัง melanoma เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดที่ร้ายแรงที่สุด  แต่จากการศึกษาซึ่งเป็นงานขั้นเริ่มแรกแสดงให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ตอบสนองต่อเนื้องอกเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล
    ผู้ป่วยทั้งแปดคนได้รับการผ่าตัดตามมาตรฐานเพื่อรักษาโรคมะเร็ง melanoma แต่ถือว่าเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะกลับมาเป็นโรคมะเร็งอีกครั้ง  ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงให้วัคซีนขั้นทดลองที่เรียกว่า NeoVax
    แตกต่างจากวัคซีนที่ผ่านมา  ไม่ใช่การวัคซีนที่ฉีดได้กับทุกคน  มีการเตรียมวัคซีนของผู้ป่วยให้เหมาะสมกับแต่ละคนโดยพิจารณาจาก “นิโอแอนติเจน” (neoantigens) ที่สำคัญ ได้แก่ โปรตีนที่ผิดปกติ (abnormal proteins) ซึ่งปรากฏอยู่กับเซลล์เนื้องอกของผู้ป่วย
    แม้โปรตีนเหล่านี้จะเป็นสิ่งแปลกปลอม แต่ระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถสร้างการตอบสนองที่สำคัญในการต่อสู้กับโปรตีนนี้ได้ด้วยตัวเอง
    “ปัญหา คือ เนื้องอกเองไม่ได้แสดงให้เห็นสัญญาอันตรายที่มากพอ” Dr.Patrick Ott หนึ่งใน
คณะผู้วิจัยในการศึกษาครั้งใหม่ กล่าว
    นอกเหนือจากนั้น เนื้องอกมีวิธีการต่างๆ ในการหลบเลี่ยงกลไกการป้องกันตัวของร่างกาย Dr.Ott จาก Dana-Farber Cancer Institute ในบอสตัน สหรัฐอเมริกา อธิบาย
    แนวความคิดเบื้องหลัง NeoVax คือ การแสดงให้ระบบภูมิคุ้มกันเห็น neoantigen ของเนื้องอก เพื่อที่ภูมิคุ้มกันจะสามารถสร้างการตอบสนองของ T cell ออกมาจัดการกับเนื่องอก  T cell เป็นทหารป้องกันของระบบภูมิคุ้มกันที่สามารถค้นหาและทำลายเซลล์มะเร็งได้
    ในการศึกษาก่อนหน้านี้ Dr. Ott และคณะผู้ร่วมงานพบว่า วัคซีนได้กระตุ้นการตอบสนองของ T cell ต่อเนื้องอกโดยตรงและปลอดภัยในผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนัง melanoma  ในการศึกษาครั้งใหม่สนใจการตอบสนองในระยะยาวในผู้ป่วยเหล่านี้ พร้อมกับผู้ป่วยอีกสองคนที่ได้รับวัคซีนตั้งแต่ก่อนหน้า
    หลังจากการติดตามเป็นเวลา 4 ปี ผู้ป่วยทั้งแปดคนยังมีชีวิตอยู่และแสดงให้เห็นว่า การตอบสนองของ T cell ต่อโรคมะเร็งยังคงอยู่
    สิ่งที่น่าสนใจมาก คือ การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันไม่เพียงแค่ยังคงอยู่ แต่มีการขยายกว้างออกไป  T cell ของผู้ป่วยจดจำโปรตีนที่วัคซีนแสดงให้เห็น  และได้ขยายไปรู้จักกับโปรตีน melanoma อื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในวัคซีนด้วย
คำถามที่สำคัญ คือ วัคซีนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ต่อของผลการรักษาผู้ป่วย
    พบว่า ผู้ป่วย 5 ใน 8 คนเกิดโรคมะเร็ง melanoma ซ้ำอีก  ในผู้ป่วย 2 คน Dr.Ott บอกว่า เกิดโรคซ้ำขึ้นก่อน และผู้ป่วยได้รับยาที่เรียกว่า checkpoint inhibitors
checkpoint inhibitors เป็นวัคซีนโรคมะเร็ง อยู่ในกลุ่ม “ภูมิคุ้มกันบำบัด”  ซึ่งเป็นการรักษาที่นำระบบภูมิคุ้มกันมาช่วยทำลายเซลล์เนื้องอก
    ยาดังกล่าวทำงานด้วยการปลด “เบรค” ของ T cell ในการตอบสนองต่อเนื้องอก และได้กลายเป็นมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง melanoma เหมือนกับผู้ป่วยในการศึกษาครั้งนี้
    เมื่อผู้ป่วยสองรายซึ่งเกิดโรคมะเร็งซ้ำก่อนคนอื่นในการศึกษาครั้งนี้ได้เริ่มใช้ยา checkpoint inhibitor ผู้ป่วยมีการตอบสนองที่รวดเร็ว แสดงให้เห็นการแก้ไขปัญหาเนื้องอกอย่างเบ็ดเสร็จ  ตามความเห็นของ Dr.Ott แสดงว่าวัคซีนอาจทำงานร่วมกับ checkpoint inhibitor สร้างการตอบสนองของ T cell
    อย่างไรก็ตาม วิธีเดียวที่จะรู้ได้ว่า วัคซีนช่วยให้อาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นหรือไม่ คือ โดยผ่านการทดลองทางคลินิก  Dr. Ahmad Tarhini ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งผิวหนัง melanoma และเป็นนักวิจัยที่ไม่ได้มีส่วนร่วมการศึกษาครั้งนี้กล่าว
    เขาอธิบายว่า การสุ่มให้ผู้ป่วยมะเร็ง melanoma ได้รับวัคซีนร่วมกับการรักษาแบบมาตรฐานที่ใช้ยา checkpoint inhibitor หรือให้ได้รับการรักษาแบบมาตรฐานอย่างเดียว  เมื่อพิจารณาจากผู้ป่วยเหล่านี้ วัคซีนอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะป้องกันการเกิดซ้ำของโรคมะเร็งผิวหนัง melanoma  Dr.Tarhini ซึ่งเป็นสมาชิกอาวุโสที่ฝ่ายมะเร็งวิทยาผิวหนังและภูมิคุ้มกันวิทยาที่ Moffitt Cancer Center ใน in Tampa ฟลอริดา กล่าว
    Dr. Tarhini กล่าวว่าการค้นพบในปัจจุบันเป็นก้าวสำคัญในการสร้างวัคซีนโรคมะเร็งเฉพาะบุคคล
    “วัคซีนสามารถชักนำการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่อยู่ได้นานซึ่งผู้ป่วยทนรับได้ดี”
    ในทางทฤษฎี Dr.Ott กล่าวว่า วัคซีนเฉพาะบุคคลสามารถใช้กับโรคมะเร็งได้กว้างขวาง  มีการศึกษา NeoVax ในฐานะที่วิธีบำบัดรักษาเพิ่มเติมสำหรับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ รวมทั้งโรคมะเร็งรังไข่และไตระยะท้ายๆ
    ในที่สุดถ้าวิธีการนี้พิสูจน์ว่าควบคุมการเกิดโรคมะเร็งซ้ำได้แล้ว จะนำมาใช้ในทางปฏิบัติจริงได้ นั่นคือ การลงทุนเวลาและเงินในการสร้างวัคซีนเฉพาะบุคคลขึ้นมา
    การศึกษานี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Nature Medicine