เสริมวิตามินดีไม่ช่วยให้สถานการณ์ผู้ป่วยโควิด-19ในรพ.ดีขึ้น

AMA 2021 Feb 17

การเสริมวิตามินดีด้วยขนาดยาสูงไม่ลดอัตราการตายหรือระยะเวลาที่อยู่โรงพยาบาลในผู้ป่วยโควิด-19
    ข้อมูลการทดลองปฏิบัติการแสดงว่า วิตามินดีมีบทบาทต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกันและอาจมีผลในการต้านการอักเสบ แต่ยังไม่ชัดเจนว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 และภาวะพร่องวิตามินดีมีอาการที่แย่ลงหรือไม่ และการเสริมวิตามินวิตามินดีจะสามารถช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรคหรือไม่
    นักวิจัยจากประเทศบราซิลได้สุ่มผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคโควิด-19 ให้รับวิตามิน D3 (200,000 IU) ชนิดรับประทานหรือยาหลอก ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดต้องให้ออกซิเจนเสริม และผู้ป่วยจำนวนน้อยได้รับเครื่องช่วยหายใจผ่านทางหน้ากากครอบ  และประมาณสองในสามของผู้ป่วยได้รับ corticosteroid  โดยผู้ป่วยในห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) ไม่ได้เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้
    แม้ระดับ 25-hydroxyvitamin D เฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา แต่ระยะเวลาที่พักในโรงพยาบาล การส่งต่อห้อง ICU และอัตราการตายเหมือนกันระหว่างทั้งสองกลุ่ม  เมื่อจำกัดการวิเคราะห์เฉพาะผู้ป่วยซึ่งมีภาวะพร่อง 25-hydroxyvitamin D (<20 ng/mL) ตอนเริ่มต้นการศึกษา  ผลลัพธ์ยังคงเหมือนกัน การศึกษานี้ไม่ปรากฏเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
    ตลอดเวลาที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เราพบว่าความเป็นไปได้ทางชีวภาพและข้อมูลจากการสังเกตการณ์ไม่แสดงถึงผลลัพธ์ที่ดีขึ้นแต่อย่างไรในผู้ป่วยจากการทดลองแบบสุ่มที่มีการควบคุม  รวมถึงกรณีการเสริมวิตามินดีด้วย  การใช้วิตามินดีเป็นประจำเพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จึงไม่ส่งผลให้ผู้ป่วยดีขึ้น