ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะความเครียดผิดปกติหลังเหตุสะเทือนใจในวัยเด็ก

Sci Rep 2017 Dec 8

ผลจากการศึกษาติดตามเป็นเวลา 1 ปี ในเด็กที่รอดชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหว แสดงให้ทราบถึงวิธีในการคัดแยกผู้ป่วยเพื่อการรักษา
          เราทราบถึงปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะความเครียดผิดปกติหลังเหตุสะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder: PTSD) ในเด็กน้อยกว่าในผู้ใหญ่  แต่การประเมินปฏิกิริยาของเด็กต่อเหตุการณ์สะเทือนใจมีโอกาสทำได้ หลังจากเกิดแผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายในชนบทของประเทศจีน ซึ่งฆ่าประชาชนไปมากกว่า 69,000 คน และบาดเจ็บมากกว่า 370,00 คน
          เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ พลเมืองที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จึงไม่ได้รับการเยียวยาก่อนที่จะดำเนินการประเมินผลเมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี การประเมินนี้ประกอบด้วยการวัดอาการ PTSD จากการสัมภาษณ์ที่จัดทำเป็นมาตรฐานและอาการซึมเศร้าโดยการแจ้งเองและมาตรวัดบุคลิกภาพ ซึ่งนักเรียน 20,749 คน (อายุระหว่าง 7–15 ปี อายุเฉลี่ย 12 ปี) ทำเสร็จที่โรงเรียน
         จากเด็กที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด พบว่า ร้อยละ 19 มีอาการ PTSD และร้อยละ 31 มีอาการโรคซึมเศร้า ร้อยละ 12 มีทั้ง 2 อาการ
         บุคลิกภาพที่มีอารมณ์หวั่นไหวและความรู้สึกว่าติดกับดักและไม่สามารถหนีพ้นไปได้ เป็นความเสี่ยงต่ออาการ PTSD และอาการโรคซึมเศร้า  ความเสี่ยงนอกจากนั้นยังมี อาการตื่นตกใจสุด ๆ และความหวาดกลัวต่อ PTSD กับการเก็บตัวและภาวะวิตกจริตต่อโรคซึมเศร้า
         ตามที่ผู้เขียนรายงานกล่าวไว้ เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบตามขวาง (cross-sectional) และดำเนินการหลังจากเหตุการณ์ 1 ปี ไม่สามารถตัดความเป็นเหตุผลกลับกันออกไปได้ (ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวทำให้เกิดบุคลิกภาพที่มีอารมณ์หวั่นไหว) นอกจากนั้น การวิเคราะห์ไม่ได้ควบคุมเกี่ยวกับการสูญเสียครอบครัวหรือเพื่อน  อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ส่วนใหญ่เหมือนกับในผู้ใหญ่
          ความรู้เกี่ยวกับลักษณะเฉพาะตัวที่เป็นความเสี่ยงมีความสำคัญยิ่งต่อการเลือกเหยื่อของเหตุการณ์ซึ่งจำเป็นต้องรับการรักษาเข้มมากหรือเพียงเล็กน้อย  ผลการค้นพบของการศึกษาครั้งนี้สนับสนุนการใช้โปรแกรมการรักษาที่เป็นขั้น ๆ ซึ่งจะให้การบำบัดในขั้นที่สูงขึ้นกับเด็ก โดยพิจารณาจากคุณลักษณะเมื่อตอนเริ่มต้นการศึกษาและการตอบสนองต่อกลยุทธ์ในขั้นที่ต่ำกว่า