ผ่าทอนซิลกับอะดีนอยด์ในวัยเด็กเพิ่มอาการเจ็บป่วยภายหลัง

JAMA Otolaryngol Head Neck Surg 2018 Jun 7

ความเสี่ยงสัมบูรณ์ต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในภายหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 หลังจากผ่าตัดต่อมทอนซิลหรือ ต่อมอะดีนอยด์ ออกในกลุ่มประชากรเด็กชาวเดนนีชจำนวนมาก
          การผ่าตัดต่อมทอนซิล หรือ ต่อมอะดีนอยด์ หรือทั้ง 2 ต่อม ออกมักจะให้ความหวังต่อการลดโรคติดเชื้อเรื้อรังหรือปัญหาการหายใจในวัยเด็ก  จากการศึกษาทะเบียนประชากรเด็กของเดนมาร์ก 1.2 คน ที่เกิดระหว่างปี 1979 และ 1999 คณะผู้วิจัยได้ประเมินความเสี่ยงต่อโรคในระยะยาวหลังจากการผ่าตัดต่อมทอนซิล หรือทั้งต่อมอะดีนอยด์กับทอนซิล หรือการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ก่อนอายุ 9 ปี  โดยมีการติดตามประชากรกลุ่มมีนานถึงอายุ 30 ปี
          ในกลุ่มเด็กเกือบ 12,000 คน ที่ได้รับการผ่าต่อมทอนซิลออก ความเสี่ยงสัมบูรณ์ต่อโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน Upper Respiratory Infection: URI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมขนาดใหญ่ ความเสี่ยงสัมพัทธ์ต่อ URI ที่เกิดในเวลาต่อมาเท่ากับ 2.7  ในกลุ่มเด็กเกือบ 18,000 คน ที่รับการผ่าต่อมอะดินอยด์ออก ความเสี่ยงสัมบูรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11% (ความเสี่ยงสัมพัทธ์เท่ากับ 2)
          ความเสี่ยงสัมบูรณ์ต่อโรคติดต่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 หลังจากรับการผ่าทั้งต่อมอะดินอยด์กับต่อมทอนซิลออก  ความเสี่ยงสัมบูรณ์และความเสี่ยงสัมพัทธ์ต่อหูชั้นกลางอักเสบ (otitis media) และไซนัสอักเสบ (sinusitis) เพิ่มสูงขึ้นหลังการผ่าตัด  พบว่า ความเสี่ยงระยะยาวลดลงสำหรับความผิดปกติด้านการนอน (sleep disorders) หลังการผ่าตัดต่อมอะดินอยด์กับต่อมทอนซิล และสำหรับต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังกับต่อมทอนซิลอักเสบหลังการผ่าตัดใด ๆ