วิตามินบีสำหรับรักษาช็อกเหตุพิษติดเชื้อ

Crit Care Med 2018 Jul 18

การศึกษาขนาดเล็กแสดงให้เห็นว่า thiamine เป็นประโยชน์ที่สำคัญต่อการเสียชีวิตจากภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ
          ความต้องการทางเมตาบอลิซึมในภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ (septic shock) โดยทั่วไปจะนำไปสู่ภาวะพร่องหรือขาด thiamine หรือวิตามีนบี  ดังนั้น จึงมองกันว่า thiamine จะเป็นวิธีรักษาเสริมสำหรับภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ  ในการศึกษากลุ่มศูนย์เดียวแบบมองไปข้างหลัง นักวิจัยได้ประเมินอาการในผู้ป่วยภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อที่ได้รับ thiamine เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับ
          มีการระบุตัวผู้ป่วยโดยใช้ ICD codes และการทบทวนแผนภูมิเพื่อให้แน่ใจว่ามีอาการตามคำนิยาม Sepsis-3 (lactate >2.0 mmol/L บวกกับ vasopressor therapy) ในตอนเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล
          ในบรรดาผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด 1,049 คน มีอยู่ 123 คน ได้รับ thiamine และจับคู่ผู้ป่วยกลุ่มนี้กับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับ thiamine 246 คน โดยใช้เกณฑ์ประชากรศาสตร์และมาตรวัดความรุนแรงของโรค  ผลลัพธ์ที่เป็นหลัก คือ  time to first documentation of ระดับแลกเตท lactate clearance และหนึ่งในผลลัพธ์ระดับรองลงมา ได้แก่ การเสียชีวิต 28 วัน
           แผนการทั่วไปที่สุดสำหรับการให้ thiamine ที่ศูนย์นี้ คือ การให้ในขนาดยาที่สูง (500 mg) ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 72 ชั่วโมง
           ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษามีอาการป่วยหนัก กล่าวคือ คะแนน Sequential Organ Failure Assessment (SOFA) day-1 มีค่ามัธยฐานเท่ากับ 10 และ lactate สูงสุดมีค่ามัธยฐานเท่ากับ  6 mmol/L  ผู้ป่วยเกือบ 2 ใน 3 เป็นโรคตับ
           การลดลงของ lactate ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยที่ได้รับ thiamine เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับ (hazard ratio = 1.3) และในตัวแบบพหุปัจจัยซึ่งปรับด้วยปัจจัยทางคลินิก พบว่า อัตราการเสียชีวิต ณ 28 วัน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (HR = 0.67)  ผลลัพธ์ดังกล่าวในผู้หญิงปรากฏเด่นชัดกว่า และไม่ปรากฏว่า อาการรองอื่น ๆ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม
           แม้การที่ไม่มีตัวแบบในการวัด lactate ซ้ำจะทำให้การตีความผลลัพธ์หลักของการศึกษานี้ไม่ชัดเจน แต่การลดลงของอัตราการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ ถือว่ามีความสำคัญ หากวัดหาความตรงได้  เนื่องจากการขาดการสุ่มตัวอย่างทำให้มีโอกาสที่จะเกิดข้อสงสัยที่วัดไม่ได้  การศึกษาขนาดเล็กแบบมองไปข้างหลังครั้งนี้จึงไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนวิธีปฏิบัติในการรักษา  อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้มากที่การศึกษานี้จะกระตุ้นให้เกิดการวิจัยเพิ่มเติมต่อไป