รักษาโรคเท้าช้างด้วยยาสามชนิดดีกว่าสองชนิด

N Engl J Med 2018 Nov 8

3 ปีหลังจากการรักษาด้วยการใช้ยาขนานเดียวที่รวมยา 3 ชนิด พบว่า ผู้เข้าร่วมการศึกษาที่เป็นโรคเท้าช้างร้อยละ 96 ยังคงปลอดจากพยาธิระยะตัวอ่อน
          องค์การอนามัยโลก (The World Health Organization: WHO) ได้ตั้งเป้ากำจัดโรคเท้าช้าง (lymphatic filariasis) ให้หมดสิ้นภายในปี 2020 แม้จะมีความคืบหน้าด้วยการรักษาแบบปูพรม (mass drug administration: MDA) แต่ประชากรประมาณ 852 ล้านคน ใน 52 ประเทศ ยังคงต้องรับเคมีบำบัดเพื่อการป้องกัน  แล้วผลการรักษาด้วย MDA program จะดีขึ้นหรือไม่
          คณะผู้วิจัยได้สุ่มผู้ใหญ่ 182 คน (1:1:1) ปาปัวนิวกีนีซึ่งมีพยาธิระยะตัวอ่อนของ Wuchereria bancrofti เพื่อให้รับยาครั้งเดียวที่ประกอบด้วยยา 3 ชนิด ยาครั้งเดียวที่ประกอบด้วยยา 2 ชนิด หรือใช้ยา 2ชนิด ทุกปีเป็นเวลา 3 ปี  กำหนดการใช้ยา 2 ชนิด ประกอบด้วยยา diethylcarbamazine (6 mg/kg) กับยา albendazole (400 mg) สำหรับกำหนดการใช้ยา 3 ชนิด ได้เพิ่มยา ivermectin (200 μg/kg) มีการให้ยาทั้งหมดด้วยการรับประทานภายใต้การสังเกตการณ์โดยตรง
          หลังจากการใช้ยารวม3 ชนิด พบว่า ผู้เข้าร่วมการศึกษาร้อยละ 96 ไม่ปรากฏว่ามีพยาธิระยะตัวอ่อน ณ เวลา 12 เดือน  และพบอัตราส่วนเดียวกัน ณ เวลา 24 และ 36 เดือนด้วย
          การกำจัดพยาธินี้ดีกว่าการใช้ยาเดี่ยวและการใช้ยา 2 ชนิด อย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 32, ร้อยละ 56 และร้อยละ 83 ณ เวลา 12, 24 และ 36 เดือน)
          การกำจัดพยาธิ ณ เวลา 36 เดือน ด้วยการรักษาที่ใช้ยา 3 ชนิด ไม่ได้ให้ผลด้อยกว่าการรักษาด้วยยา 2 ชนิด ปีละครั้ง เป็นเวลา 3 ปี (ร้อยละ 98 ณ เวลา 36 เดือน)
          คณะผู้วิจัยไม่พบผลที่ไม่ดีในขั้นรุนแรง  แต่พบผลไม่ดีระดับปานกลางในกลุ่มที่รับการรักษาด้วยยา 3 ชนิดมากกว่ากลุ่มที่รับการรักษาด้วยยา 2 ชนิด (ร้อยละ 27 เทียบกับร้อยละ 5)  ผู้เข้าร่วมการศึกษาที่มีจำนวนพยาธิระยะตัวอ่อนมากกว่า ณ เวลาเริ่มต้นการศึกษาปรากฏผลไม่ดีที่รุนแรงกว่าและบ่อยครั้งกว่า
          ความรวดเร็วในการกำจัดพยาธิระยะตัวอ่อนทำได้ เพราะพยาธิระยะตัวอ่อนในเลือดเป็นแหล่งแพร่ระบาดผ่านยุง แม้การรักษาด้วยยา 2 ชนิด  3 ครั้ง จะไม่อ่อนฤทธิ์ลง ณ เวลา 3 ปี แต่การให้ยาซ้ำเป็นอุปสรรคต่อการนำไปใช้ให้ประสบกับความสำเร็จ  ความได้เปรียบของการรักษาด้วยยา 3 ชนิด คือ การให้ยาครั้งเดียวสามารถกำจัดพยาธิระยะตัวอ่อนได้มากที่สุด ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกแนะนำการรักษาด้วยยารวม 3 ชนิด ในบางภูมิภาค
          สังเกตพบว่า ไม่ได้มีการแนะนำให้ใช้การรักษาด้วยยารวม 3 ชนิด ในบางพื้นที่ของแอฟริกา เนื่องจากอาจเกิดผลลัพธ์ที่ไม่ดีในพื้นที่ที่มีการระบาดร่วมของโรค loiasis หรือ onchocerciasis  แต่ประโยชน์เพิ่มเติมจากการรวมยา ivermectin ที่เป็นไปได้ คือ การแพร่ของหิดและพยาธิ intestinal helminths ลดลง