ในแผนกฉุกเฉิน การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ช่วยให้การตรวจวินิจฉัยรวดเร็วและจำเพาะเจาะจงมากขึ้น
กระดูกหักที่ตรวจไม่พบเป็นความผิดพลาดทั่วไปในการวินิจฉัยและเป็นสาเหตุให้เกิดการเชื่อมต่อกระดูกผิดตำแหน่ง หัวกระดูกสะโพกตาย (osteonecrosis) และข้ออักเสบ พร้อมกับการทำหน้าที่บกพร่องซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ตามมา
ในการศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบเอกซเรย์กระดูก 135,845 ภาพ (ในจำนวนนี้ เกือบ 35,000 ภาพ จะเป็นเรื่องของข้อมือ) จากโรงพยาบาลเฉพาะทางที่นิวยอร์กแห่งเดียว ศัลยแพทย์กระดูกอาวุโสได้ให้คะแนนแต่ละภาพที่แสดงให้เห็นกระดูกหักและใช้เทคนิคปัญญาประดิษฐ์โครงข่ายประสาทเทียมเพื่อ “ฝึก” คอมพิวเตอร์ให้วินิจฉัยกระดูกข้อมือหัก
จากนั้นคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองแบบมีการควบคุมกับแพทย์แผนกฉุกเฉิน 40 คน มีการแสดงภาพเอกซเรย์ผู้เข้าร่วมการศึกษาแต่ละคนดู และขอให้วินิจฉัยว่ามีหรือไม่มีกระดูกหัก จากนั้นได้แสดงการประเมินกระดูกหักของตัวแบบคอมพิวเตอร์ให้กับกลุ่มที่ได้รับมอบหมายด้วยการสุ่มให้มีคอมพิวเตอร์สนับสนุน และขอให้วินิจฉัยว่ามีกระดูกหักหรือไม่มี
เมื่อเปรียบเทียบผลของกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากคอมพิวเตอร์กับผลของกลุ่มที่ไม่มีการสนับสนุนในชุดของเอกซเรย์ 300 ภาพ พบว่า ความไวในการวินิจฉัยกระดูกหักเท่ากับร้อยละ 92 เทียบกับร้อยละ 81 และความจำเพาะเจาะจงเท่ากับร้อยละ 94 เทียบกับร้อยละ 88
การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า เทคนิคปัญญาประดิษฐ์สามารถเสริมความพยายามในอดีตซึ่งบางครั้งไม่ประสบความสำเร็จกับการวินิจฉัยโรค โดยอาศัยคอมพิวเตอร์สนับสนุนในทางรังสีวิทยา แม้จะใช้เวลาและความพยายามอย่างมากในการสร้างโปแกรมการวินิจฉัยโรคโดยมีคอมพิวเตอร์สนับสนุน แต่ค่าใช้จ่ายต่อครั้งของการเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยโรคนั้นค่อนข้างเล็กน้อย เราจะต้องสนใจเทคโนโลยีนี้ให้มากขึ้นในทางคลินิก และเทคโนโลยีนี้จะช่วยเราวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น
ปัญญาประดิษฐ์ช่วยปรับปรุงการตรวจกระดูกหักที่ข้อมือ
Proc Natl Acad Sci U S A 2018 Oct 22