การประเมินความเป็นไปได้ก่อนทดสอบพร้อมด้วยการวัดระดับ serum d-dimer พบว่า ปลอดภัยและได้ผล แม้ในผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์
โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism: PE) พบได้มากในการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยตั้งครรภ์หลายคนไม่ได้ผ่านการทดสอบตามขั้นตอนในการจัดระดับความเสี่ยงต่อ PE และโดยปกติระดับ serum d-dimer จะเพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ ดังนั้น จึงขาดหลักฐานว่าด้วยการประเมินที่เหมาะสมกับผู้ป่วยตั้งครรภ์ซึ่งสงสัยว่าจะเป็น PE
คณะผู้วิจัยได้พัฒนาต้นแบบซึ่งเกี่ยวข้องกับการตัดสินความน่าจะเป็นก่อนการทดสอบ (โดยใช้คะแนน Geneva ที่ผ่านการปรับปรุงมาแล้ว) การวัด d-dimer ด้วยความไวสูง (cutoff, 500 µg/L) การทำอัลตราซาวนด์ขาทั้ง 2 ข้าง (bilateral lower extremity ultrasound) และการฉีดสีดูหลอดเลือดปอดด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography (CT) pulmonary angiography)
คณะทำงานได้ทดสอบต้นแบบในแบบมองไปข้างหน้าในผู้ตั้งครรภ์ซึ่งในทางคลินิกสงสัยว่าจะเป็น PE และไปพบแพทย์ในโรงพยาบาล 11 แห่ง ในประเทศฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ เป็นระยะเวลา 8 ปี ผลเบื้องต้น คือ PE ที่ตรวจไม่พบในระยะที่มีการติดตาม 3 เดือน
จากผู้ตั้งครรภ์ 395 คน (อายุเฉลี่ยมัธยฐาน 31 ปี) ที่เข้าร่วมการศึกษา พบว่า มี 28 คน (ร้อยละ 7.1) ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น PE ในการติดตามผู้ป่วยระยะเวลา 3 เดือน ปรากฏว่าไม่มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น PE หรือเสียชีวิตเพิ่มเติมหรือหายไปในระหว่างการติดตาม ผู้ป่วยทั้ง 53 คน (ร้อยละ 13.4) คน หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพทรวงอก มีผู้ป่วย 46 คน ที่ไม่ได้เป็น PE จากผล d-dimer เป็นลบ และมี 7 คน ได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด จากผลการทำอัลตราซาวนด์ส่วนขาเป็นบวก
จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อดูว่า d-dimer cutoffs ระดับไหนที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์ เนื่องจากการใช้ cutoffs <500 µg/L ที่ใช้ในการศึกษานี้อาจต่ำเกินไป อย่างไรก็ตาม สำหรับเวลานี้ การประเมินผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์โดยใช้วิธีนี้มีความสมเหตุสมผล
การตั้งครรภ์ไม่เป็นอุปสรรคต่อการประเมินความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
Ann Intern Med 2018 Oct 23