ทบทวนการศึกษาของ พญ. Dongngan T. Truong (ภาควิชา Pediatric Cardiology มหาวิทยาลัยยูทาห์และโรงพยาบาล Primary Children’s Hospital ในเมือง Salt Lake City มลรัฐ Utah สหรัฐอเมริกา) และคณะที่ตีพิมพ์ในวารสาร Circulation เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2564 โดย นพ. George Sakoulas ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อประจำโรงพยาบาล Sharp Memorial Hospital ในนคร San Diego มลรัฐ California สหรัฐอเมริกา
วัยรุ่นและหนุ่มสาวส่วนใหญ่ที่สงสัยว่าจะมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการฉีดวัคซีน COVID-19 มีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม NSAIDs (non-steroidal antiinflammatory drugs)
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) เป็นผลที่ไม่พึงประสงค์ที่พบได้น้อยมากหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับผู้ชายอายุน้อยกว่า 30 ปี แม้ว่าภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการฉีดวัคซีน COVID-19 จะมีรายงานพบได้น้อยกว่าภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อโรค COVID-19 (NEJM JW Cardiol Jul 2021 and JAMA Cardiol 2021 May 27; [e-pub]) แต่จากการนำเสนอข่าวกันอย่างครึกโครมของสื่อมวลชนเกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการฉีดวัคซีน COVID-19 ทำให้สาธารณชนยิ่งเพิ่มความลังเลใจในการฉีดวัคซีน COVID-19 ดังนั้น พญ. Truong และคณะจึงทำการศึกษาแบบ retrospective study ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากวัยรุ่นและหนุ่มสาวจำนวน 139 คน ที่เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบภายใน 30 วันหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 จาก 26 centers ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา (อายุเฉลี่ย 15.8 ปี, 90.6% เป็นผู้ชาย, 66.2% เป็นคนผิวขาว, 20.9% มีเชื้อสาย Hispanic)
ผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นและหนุ่มสาว 136 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 139 คน เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังจากได้รับวัคซีน COVID-19 ชนิด mRNA โดย 131 คน มีรายงานการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังจากได้รับวัคซีน COVID-19 ชนิด mRNA ของบริษัท Pfizer/BioNTech ซึ่ง 128 คน มีรายงานการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังจากได้รับวัคซีน COVID-19 ชนิด mRNA เข็มที่ 2 ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการต่าง ๆ ของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังจากได้รับวัคซีน COVID-19 ไปแล้วโดยเฉลี่ย 2 วัน โดยเจ็บหน้าอก (chest pain) เป็นอาการที่มีรายงานพบได้บ่อยมากที่สุดของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คนไข้เหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม NSAIDs ส่วน treatment options อื่น ๆ ได้แก่ intravenous Immunoglobulin (IVIG), glucocorticoids และ colchicines คนไข้เหล่านี้ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 2 วัน (พิสัย, 0-10 วัน) โดยคนไข้ 26 คน จำเป็นต้องเข้ารักษาตัวในหน่วยผู้ป่วยวิกฤต หรือ Intensive Care Unit (I.C.U.) ขณะที่คนไข้ 2 คน จำเป็นต้องได้รับ inotropic/vasoactive support อย่างไรก็ตาม ไม่มีคนไข้รายใดเสียชีวิตหรือจำเป็นต้องได้รับ extracorporeal membrane oxygenation (ECMO) ขณะเดียวกันพบว่าคนไข้เหล่านี้ทุกคนมีระดับ troponin, คนไข้ 97 คน มี EKG abnormalities และ 7 คน มี non-sustained ventricular tachycardia โดยคนไข้ 26 คน มี ejection fraction น้อยกว่า 55% แต่ทั้งหมดก็มี normalized ejection fraction หลังจากการ follow-up ด้วย echocardiograms พร้อมกันนี้พบว่ามี gadolinium enhancement และ myocardial edema ในคนไข้ส่วนใหญ่ที่ได้รับการทำ cardiac MRI ที่ 5 วัน โดยเฉลี่ยนับตั้งแต่เริ่มมีอาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ความคิดเห็น: ผลลัพธ์ของการศึกษานี้ช่วยให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็กวัยรุ่นและหนุ่มสาวคลายความหวาดกลัวเกี่ยวกับผลไม่พึงประสงค์ของการฉีดวัคซีน COVID-19 เพราะไม่เพียงแค่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่สัมพันธ์กับการฉีดวัคซีน COVID-19 จะพบได้น้อยมาก แต่เมื่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเกิดขึ้นแล้ว ยังสามารถรักษาได้ไม่ยาก
อ้างอิง: Truong DT et al. Clinically suspected myocarditis temporally related to COVID-19 vaccination in adolescents and young adults. Circulation 2021 Dec 6; [e-pub]. (https://doi.org/10.1161/CIRCULATIONAHA.121.056583. opens in new tab)