รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลฉบับใหม่ล่าสุดโดยผู้เชี่ยวชาญจากการใช้จริงทั่วโลก เปิดเผยว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ต่างให้ประสิทธิผลในระดับสูงไม่แตกต่างกันทั้งการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการป้องกันการเสียชีวิตจากโควิด-19 หลังการให้วัคซีนสองเข็ม1
รายงานดังกล่าวตีพิมพ์โดย Expert Review of Vaccines ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์รายเดือนที่มีคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองผลงานก่อนตีพิมพ์ (Peer Review) โดยประเมินประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลกจากข้อมูลการใช้จริงทั่วโลกกว่า 79 การศึกษา
โดยรายงานฉบับดังกล่าวแสดงข้อมูลอย่างชัดเจนว่าทั้งวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดไวรัล เวคเตอร์ (Viral Vector) และวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ต่างให้ประสิทธิผลที่ดีในการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (อยู่ที่ระหว่าง 91.3-92.5%) และการเสียชีวิต (อยู่ที่ระหว่าง 91.4-93.3%) ในระดับเดียวกัน และไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยครอบคลุมผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ1 แม้ว่าข้อมูลในขณะที่ทำรายงานการวิเคราะห์ฉบับนี้จะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่ข้อมูลดังกล่าวที่มีได้บ่งชี้ให้เห็นถึงผลที่คล้ายกันในประสิทธิผลของวัคซีนต่อการป้องกันอาการรุนแรงจากโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน2
ศาสตราจารย์ กาย ทเวทส์ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยทางคลินิกของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในเวียดนามและหนึ่งในทีมผู้เขียนรายงานการวิจัยดังกล่าว เปิดเผยว่า “ข้อมูลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวัคซีนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลกสามารถปกป้องผู้คนจากผลลัพธ์ที่เลวร้ายที่สุดของโควิด-19 ได้อย่างไร และจากการคาดการณ์ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบร้ายแรงไปทั่วโลก ผลการวิจัยใหม่นี้จึงเป็นแหล่งข้อมูลสําคัญสําหรับการกําหนดนโยบายในภูมิภาค เพื่อพิจารณาวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการปกป้องประชากรของตนอย่างต่อเนื่อง”
นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “วัคซีนป้องกันโควิด-19 มีความสำคัญต่อการปกป้องชีวิตและช่วยให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถรอดพ้นจากสถานการณ์การระบาดในช่วงที่รุนแรงที่สุดมาสู่สภาวะการปรับตัวใช้ชีวิตร่วมกับโควิด-19 ได้ โดยในขณะที่รัฐบาลกำลังพิจารณาปรับโควิด-19 ให้เป็นโรคประจําถิ่น ข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่นี้สามารถใช้เป็นหลักฐานที่ช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนชนิด mRNA ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันต่างให้ประสิทธิผลในการป้องกันไม่ให้ผู้คนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตได้ในระดับสูงไม่แตกต่างกัน”
ข้อมูลที่ถูกวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจากทั่วเอเชียนั้นมาจาก VIEW-hub ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแบบอินเตอร์แอคทีฟที่แสดงข้อมูลระดับโลกพร้อมภาพประกอบเกี่ยวกับการใช้วัคซีนและผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยถูกพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของวิทยาลัยสาธารณสุขจอห์น ฮอปกินส์ บลูมเบิร์ก (Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health) และศูนย์การเข้าถึงวัคซีนนานาชาติ (International Vaccine Access Center) ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ได้รับการอัปเดตข้อมูลทุกสัปดาห์ เพื่อเป็นแหล่งรวมข้อมูลการใช้จริงจากทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของวัคซีน โดยการศึกษา 79 ฉบับที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูลนี้ เป็นงานวิจัยที่รวมเอาข้อมูลด้านประสิทธิผลเชิงเปรียบเทียบระหว่างวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนชนิด mRNA โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัคซีน mRNA BNT162b2 และ mRNA-1273 ทั้งนี้ แพลตฟอร์ม VIEW-hub ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อบันทึกผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยของการศึกษาเหล่านี้ ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบข้อมูลที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในลักษณะเดียวกันได้
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนชนิด ‘ไวรัลเวคเตอร์’ หรือ ‘ไวรัสพาหะ’ ซึ่งหมายถึงการนำเชื้อไวรัสที่ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวัคซีน ซึ่งจะทำให้ร่างกายเรียนรู้ว่าจะต่อสู้กับเชื้ออย่างไรหากสัมผัสกับไวรัสจริงในภายหลัง โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนวิธีนี้ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เพื่อต่อสู้กับโรคติดเชื้ออื่นๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ซิกา อีโบลา และเอชไอวี3 เป็นต้น
แอสตร้าเซนเนก้าและพันธมิตรทั่วโลกได้ส่งมอบวัคซีนมากกว่า 3 พันล้านโดส ให้แก่กว่า 180 ประเทศทั่วโลก โดยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนวัคซีนดังกล่าวได้ถูกส่งมอบให้กับกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำ วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าได้ช่วยปกป้องชีวิตผู้คนกว่า 6 ล้านชีวิตจากโรคโควิด-19 จากข้อมูลตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2563 - 8 ธันวาคม 25644
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant] ชื่อเดิม AZD1222 )
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant]) คิดค้นโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนชนิด ‘ไวรัลเวคเตอร์’ หรือ ‘ไวรัสพาหะ’ ซึ่งหมายถึงการนำเชื้อไวรัสที่ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวัคซีน ซึ่งจะทำให้ร่างกายเรียนรู้ว่าจะต่อสู้กับเชื้ออย่างไรหากสัมผัสกับไวรัสจริงในภายหลัง โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนวิธีนี้ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เพื่อต่อสู้กับโรคติดเชื้ออื่นๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ซิกา อีโบลา และเอชไอวี5 เป็นต้น
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า มีผลข้างเคียงที่ยอมรับได้ดีต่อผู้ที่ได้รับวัคซีน ตามการศึกษาทดลองทางคลินิกและการใช้งานจริงจากผู้คนหลายสิบล้านชีวิตทั่วโลก6-12 ผลอ้างอิงจากประชากรหลายล้านคนที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ปวดหัว คลื่นไส้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ กดเจ็บ ปวด ร้อน คัน หรือฟกช้ำบริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบาย มีไข้ และหนาวสั่น13 ซึ่งอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวนี้มีความรุนแรงเพียงเล็กน้อยถึงปานกลางและหายได้เองในระยะเวลาไม่กี่วันหลังจากได้รับวัคซีน13
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ในกว่า 120 ประเทศ และจากการขึ้นทะเบียนสำหรับการใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลกในครั้งนี้จะช่วยเร่งให้มีการเข้าถึงวัคซีนใน 144 ประเทศผ่านกลไกการจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนของโครงการโคแวกซ์ (COVAX)
ภายใต้ข้อสัญญาการอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วง (sub-license agreement) กับแอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้า เซนเนก้า ถูกผลิตและส่งมอบโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย โดยใช้ชื่อวัคซีนว่า COVISHIELD
เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า
แอสตร้าเซนเนก้า (ชื่อย่อหลักทรัพย์ AZN ในตลาดหลักทรัพย์ LSE/ STO/ Nasdaq) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มุ่งเน้นทางด้านการคิดค้น พัฒนา และจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มยาโรคมะเร็ง กลุ่มยาโรคหัวใจ ไต และระบบเผาผลาญ และกลุ่มยาโรคทางเดินหายใจ แอสตร้าเซนเนก้า มีฐานอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ และมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมยาต่างๆ จากแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปยังเว็บไซต์ astrazeneca.com และช่องทางทวิตเตอร์ @AstraZeneca
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อบุคลากรทางการแพทย์ และ ผู้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.azcovid-19.com/asia/th/th.html
เอกสารอ้างอิง
1.Chuenkitmongkol S et al. Expert review on global real-world vaccine effectiveness against SARS-CoV-2. Available at: https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/14760584.2022.2092472. Last accessed July 2022.
2.UK Health Security Agency: Research and analysis. COVID-19 vaccine weekly surveillance reports (weeks 39 to 12, 2021 to 2022). Data on the real-world effectiveness and impact of the COVID-19 vaccines. Available at https://www.gov.uk/government/publications/covid-19-vaccine-weekly-surveillance-reports?utm_medium=email&utm_campaign=govuk-notifications-topic&utm_source=9ed25929-064b-4b0e-8cbb-cae7639135d7&utm_content=daily. Accessed April 2022.
3.Sai V Vemula & Suresh K Mittal (2010). Production of adenovirus vectors and their use as a delivery system for influenza vaccines. Expert Opinion on Biological Therapy, 10:10, 1469-1487, DOI: 10.1517/14712598.2010.519332.
4.Data estimates based on model outcomes from separate analyses conducted by Airfinity and Imperial College, United Kingdom. AstraZeneca Data on File. DoF Ref – 156573, 11 July 2022
5.Centers For Disease Control and Prevention. Understanding Viral Vector COVID-19 Vaccines. Available at: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/different-vaccines/viralvector.html?CDC_AA_refVal=https%3A%2F%2Fwww.cdc.gov%2Fvaccines%2Fcovid-19%2Fhcp%2Fviral-vector-vaccine-basics.html. Last accessed July 2022.
6.Burn, E et al, Thrombosis and thrombocytopenia after vaccination against and infection with SARS-CoV-2: a population-based cohort analysis. Available at: https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2021.07.29.21261348v1.full. Accessed March 2022. Last accessed July 2022.
7.Burn, E et al, Thromboembolic Events and Thrombosis With Thrombocytopenia After COVID-19 Infection and Vaccination in Catalonia, Spain. Available at SSRN: https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3886421. Last accessed July 2022.
8.P. Bhuyan et al. Very rare thrombosis with thrombocytopenia after second AZD1222 dose: a global safety database analysis. Lancet. Available at: https://www.thelancet.com/pdfs/journals/lancet/PIIS0140-6736(21)01693-7.pdf. Last accessed July 2022.
9.Laporte JR et al. Vaccines against Covid-19, venous thromboembolism, and thrombocytopenia. A population-based retrospective cohort study. Available at https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2021.07.23.21261036v1. Last accessed July 2022.
10.Voysey M, et al. Single-dose administration and the influence of the timing of the booster dose on immunogenicity and efficacy of ChAdOx1 nCoV-19 (AZD1222) vaccine: a pooled analysis of four randomised trials. The Lancet 2021; 397: 881-91. Last accessed July 2022.
11.Falsey A, et al. Phase 3 safety and efficacy of AZD1222 (ChAdOx1nCoV-19 Vaccine. NEJM. Available at: https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2105290?query=featured_coronavirus. Last accessed July 2022.
12.Flaxman A, et al. Reactogenicity and immunogenicity after a late second dose or a third dose of ChAdOx1 nCoV-19 (AZ2021D1222) in the UK: a substudy of two randomized controlled trials (COV001 and COV002). The Lancet 2021; 398: 981-90. Last accessed July 2022.
13.WHO Summary of Product Characteristics. COVID-19 Vaccine AstraZeneca. December, 2021; https://www.covax.azcovid-19.com/content/dam/azcovid/pdf/covax/who-clean-smpc-azd1222-en.pdf. Last accessed July 2022.