ภาวะ “ซึมเศร้า” ที่พบเจอมากขึ้นในปัจจุบันและวิธีการบำบัดด้วยธรรมชาติ

ในปัจจุบันหลายคนพบเจอกับคำว่า ‘ภาวะซึมเศร้า’ และมักมีการตีความและเข้าใจผิดว่า ภาวะซึมเศร้านี้เกิดขึ้นจากความรู้สึกสูญเสีย เสียใจ และผิดหวัง แทนที่จะมองว่ามันคือโรคโรคหนึ่งที่ไม่มีใครอยากที่จะต้องพบเจอ ไม่ว่าเป็นใครในช่วงอายุใดก็ตาม อารมณ์ของเราต่างได้รับผลกระทบจากการใช้ชีวิตประจำวันและจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เราพบเจอในทุก ๆ วัน นอกจากนี้ ภาวะซึมเศร้า ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและไม่ได้หมายความว่าอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณของความอ่อนแอ


บางครั้ง เราก็มีความรู้สึกแง่ลบเรื่อย ๆ โดยไม่มีท่าทีที่จะดีขึ้นหรือแย่ลง และรวมถึงยังมีอาการของร่างกายที่เกิดขึ้นพร้อมกับอาการทางจิตใจ เช่น น้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว นอนหลับยาก ขาดความยากอาหาร และสูญเสียความสนใจสิ่งรอบตัว อาการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงการเริ่มเข้าข่ายกับความหมายของคำว่า “ภาวะซึมเศร้า” โดยอาการเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นอย่างน้อย 2 สัปดาห์และต้องเห็นความเปลื่ยนแปลงอย่างชัดเจนจากเดิม


บางคนก็ไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนว่า ทำไมตัวเองถึงรู้สึกแย่กันนะ? แต่การสำรวจตัวเองว่าเข้าข่ายภาวะซึมเศร้าหรือไม่ก่อนที่ทุกอย่างจะแย่ลงไป จะสามารถช่วยให้ลดอาการเหล่านี้ได้ อีกทั้ง หากรีบรักษาแต่เนิ่น ๆ อย่างถูกวิธีจะช่วยให้หลาย ๆ คนที่ประสบปัญหากับภาวะซึมเศร้าสามารถกลับมารู้สึกดีได้เร็วขึ้น และสำหรับใครที่กำลังต้องเผชิญอยู่กับภาวะซึมเศร้าในตอนนี้ การรักษาอาจจะนานสักหน่อยแต่ไม่เป็นไร เมื่อได้รับการรักษา ภาวะซึมเศร้าจะหายดีแน่นอนในเวลาต่อมา


ความสำคัญอย่างหนึ่งที่ความแตกต่างกันระหว่าง ”ภาวะซึมเศร้า” และ ”โรคทางจิตเวช” คือ หากรักษาอาการภาวะซึมเศร้าอย่างถูกต้อง ผู้คนหลายคนที่มีอาการซึมเศร้าสามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติได้ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีอาการของโรคทางจิตเวช มีแนวโน้มที่จะมีอาการทางจิตหลงเหลืออยู่หลังการรักษาแล้วแต่สามารถควบคุมอาการตนเองได้


การรักษาที่ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพจิต เป็นอีกหนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้ผู้ที่ประสบกับภาวะซึมเศร้ากลับมามีสภาวะจิตใจมั่นคง การรักษาภาวะซึมเศร้า ยังสามารถรักษาได้ด้วยวิธีแบบธรรมชาติ เช่น การใช้จิตบำบัด โยคะ  และการนั่งสมาธิ โดยการฝึกจิตใจและฝึกฝนสมาธิของร่างกายเป็นวิธีสำคัญที่ช่วยทำให้เกิดความมั่นคงทางอารมณ์และสามารถรับมือกับภาวะซึมเศร้าจากทั้งทางกายและใจได้


คุณโรเบิร์ต คอมมอน หุ้นส่วนผู้จัดการ เดอะบีคีพเปอร์เฮ้าส์ประเทศไทย ผู้มีประสบการณ์ในด้านดังกล่าว ได้พูดถึงความสำคัญของการช่วยให้ผู้อื่นสามารถรับมือและพัฒนาจิตใจ ไว้ว่า ‘กุญแจหลักในการเข้าถึงความต้องการของผู้ป่วย คือ การช่วยบรรเทารอยแผลในจิตใจของผู้ป่วยที่ประสบกับปัญหาสุขภาพจิตให้พวกเขาได้สามารถเปิดเผยความรู้สึกของตัวเองต่อเพื่อนและคนที่รักเมื่อต้องการความช่วยเหลือ ผ่านการช่วยเปิดโอกาสให้พวกเขาได้พูดออกมา และยิ่งไปกว่านั้น การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนและให้กำลังใจคนที่ต้องการความช่วยเหลือก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน’


คุณโรเบิร์ต คอมมอน ยังมองว่าการฝึกสมาธิและการฝึกจิตใจเป็นอีกเทคนิคที่จะช่วยบำบัดจิตใจ โดยกล่าวว่า เราไม่ได้เพียงแค่นำวิทยาการรักษาทางคลินิกมาใช้ในการรักษาเท่านั้น แต่ได้เลือกใช้วิธีการบำบัดอื่น ๆ ในการรักษาร่วมด้วย เช่น โยคะและการนั่งสมาธิ เป็นต้น นอกจากนี้ การบำบัดที่เราได้นำเข้ามาใช้ควบคู่นี้ยังน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย


และสำหรับใครที่กำลังเผชิญกับภาวะซึมเศร้าในตอนนี้ คุณโรเบิร์ต ยังเสริมเพิ่มเติมด้วยว่า ‘ผู้ที่ประสบปัญหาภาวะซึมเศร้าสามารถขอความช่วยเหลือได้ ไม่ว่าจะจากการหาข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์หรือขอความช่วยเหลือจากคนรอบตัว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำเพื่อที่จะเข้าถึงผู้ที่ประสบปัญหาภาวะซึมเศร้าที่ไม่สามารถหาทางช่วยเหลือได้ผ่านเพียงช่องทางข้อมูลออนไลน์หรือบอกกับคนรอบข้าง ดังนั้นการเข้าบริการรักษาจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยเหลือ’