สสส.และเครือข่ายลดบริโภคเค็มร่วมกับ WHO สร้างยุทธศาสตร์“ลดการบริโภคเกลือโซเดียม”ให้ได้ภายในปี 2568

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ร่วมกับองค์การอนามัยโลก ร่วมหนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “ลดการบริโภคเกลือโซเดียม” ในประเทศไทย สานเสริมพลังความร่วมมือขับเคลื่อนสังคมเพื่อลดการบริโภคเกลือและโซเดียมให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม เร่งปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนให้เหมาะสมและลดการบริโภคเค็ม (โซเดียม) ที่มากเกินพอดี เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดีและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ภายในปี 2568  ให้ได้ 30 เปอร์เซ็นต์ 


ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ประธานกรรมการกำกับทิศทางแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์“ลดการบริโภคเกลือโซเดียม” ในประเทศไทย เป็นภารกิจสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะเมื่อการบริโภคโซเดียมในปริมาณมาก จะทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายหนา (Left ventricular hypertrophy) และเกิดการสะสมของพังผืดในกล้ามเนื้อหัวใจ ไตและหลอดเลือดซึ่งเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต สถานการณ์การบริโภคเกลือของประเทศไทยในขณะนี้ จากผลการสำรวจปริมาณการบริโภคเกลือโซเดียมในประชาชนทั่วประเทศเมื่อปี พ.ศ.2563 พบว่า คนไทยบริโภคโซเดียม เฉลี่ย 3,636 มิลลิกรัม (มาตรฐานปกติ 2,000 มิลลิกรัม) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยได้รับเกลือในปริมาณที่มากกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวันเกินเกือบ 2 เท่า ทั้งนี้หากปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยลดบริโภคโซเดียมลงเพียงเล็กน้อย (ประมาณ 700-800 มิลลิกรัมต่อวัน) ก็จะสามารถลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลงได้ถึง 20% และลดอัตราตายได้ 5-7%


               ทพญ.จันทนากล่าวว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ ได้ร่วมกับเครือข่ายลดการบริโภคเค็ม รณรงค์ขับเคลื่อนสังคมด้วยองค์ความรู้ นวัตกรรม และการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ ลดการบริโภคเค็ม (โซเดียม) พร้อมทั้งส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมด้านอาหารเพื่อสุขภาวะที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพื่อนำไปสู่การลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งเกิดผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การผลักดันให้เกิดมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ.2558 เรื่องนโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) และการจัดทำยุทธศาสตร์การลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย ปี พ.ศ.2559-2568 ,การพัฒนาปรับปรุงสูตรอาหารให้มีความเค็มลดลง โดยใช้สารทดแทนความเค็ม , พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์อาหารลดโซเดียม , ขยายผลนวัตกรรมเครื่องตรวจสอบความเค็มในอาหาร , เกิดฐานข้อมูลโซเดียมในวัตถุดิบอาหาร-เครื่องปรุงรสเค็มที่นิยมใช้ในอาหารตามภาคต่าง ๆ และอาหารแปรรูป  โดยความร่วมมือกับสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งการรณรงค์ “ลดเค็ม ลดโรค”  “ลดเค็ม ครึ่งหนึ่ง” โดยสื่อสารประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ประชาชนผ่านสื่อและช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และเกิดความตระหนักปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


                นอกจากนี้ สสส. และเครือข่ายลดการบริโภคเค็ม ยังได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนมาตรการลดการบริโภคเกลือโซเดียมในประชากรไทย โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนมาตรการภาษีโซเดียม สร้างกติกากลางให้กับภาคอุตสาหกรรมเพื่อนำไปสู่การปรับสูตรลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนอีกด้วย 

       “การใช้นโยบายสาธารณะเพื่อลดการบริโภคเกลือในประชากรนั้น มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุนโดย


ข้อมูลจากการศึกษาในหลายประเทศให้ผลสอดคล้องกัน ถึงความคุ้มค่าและแสดงให้เห็นถึงผลของการลดบริโภคเกลือต่อสุขภาพ รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายของระบบบริการสุขภาพ ตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา การลดการบริโภคเกลือในประชากรวันละ 3 กรัมจะส่งผลให้เพิ่มชีวิตคุณภาพ 194,000-392,000 QALYs และประหยัดค่ารักษาพยาบาล 10,000-24,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี นั่นหมายถึงการได้รับผลตอบแทน 6-12 ดอลลาร์ต่อทุกดอลลาร์ที่ใช้ในมาตรการควบคุม และการลดการบริโภคเกลือมีความคุ้มค่ามากกว่าการใช้ยาลดความดันโลหิต ส่วนในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง การลดบริโภคเกลือ 15% ในประชากรจะป้องกันการเสียชีวิตได้ 13.8 ล้านคนในเวลา 10 ปี โดยใช้ค่าใช้จ่ายเพียง 0.4 ดอลล่าร์ต่อคนต่อปี ซึ่งการศึกษานี้ ยังไม่ได้รวมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการลดการเจ็บป่วย ความพิการและการเสียชีวิต รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการปรับสูตรอาหารในภาคอุตสาหกรรม” ทพญ.จันทนากล่าว


 ด้านพญ.โอลิเวียร์ ไนเวรัส แพทย์ด้านโรคไม่ติดต่อ องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า WHO กำหนดเป้าหมายการควบคุมโรคไม่ติดต่อในระดับนานาชาติ 9 เป้าหมาย ซึ่งหนึ่งใน 9 เป้าหมายนั้น คือการลดค่าเฉลี่ยการบริโภคโซเดียมของประชากรทั่วโลกลง 30 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2568 โดยต้องการให้ทุกประเทศให้ความสำคัญกับนโยบายของการลดบริโภคโซเดียมเนื่องจากปัจจุบันทั่วโลกมีประชากรกว่า 3 ล้านคนเสียชีวิตจากการบริโภคโซเดียมมากเกินไป ซึ่งการลดการบริโภคโซเดียมช่วยลดความดันโลหิต และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มก. ต่อวัน (เท่ากับเกลือไอโอดีน 5 กรัม) แต่อย่างไรก็ดีพบว่าค่าเฉลี่ยการบริโภคโซเดียมของประชากรทั่วโลกอยู่ที่ 3,600-4,800 มก. ต่อวัน ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่แนะนำอยู่หลายเท่า จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละประเทศจะต้องพิจารณาดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพ และคุ้มทุนเพื่อการลดการบริโภคโซเดียมของประชากร โดย 1.จะต้องมีการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการปรับสูตรอาหาร โดยอาจกำหนดเพดานปริมาณโซเดียม หรือการตั้งเป้าหมายการลดปริมาณโซเดียมแบบบังคับ มีการพัฒนาเมนูลดโซเดียมในร้านอาหาร และมีการใช้มาตรการทางการเงิน (เก็บภาษีหรือให้เงินสนับสนุน)จากภาครัฐ 2.มาตรการองค์กรโดยใช้นโยบายการจัดซื้อและจัดหาอาหารโซเดียมต่ำในโรงเรียน โรงพยาบาล และสถานที่ทำงาน  3.กำหนดให้ฉลากหน้าบรรจุภัณฑ์แสดงข้อมูลที่ชัดเจน เช่น คำเตือนโซเดียมสูง หรือระบุปริมาณโซเดียมโดยสีสัญญานไฟจราจรและ 4.การรณรงค์เพื่อลดการบริโภคโซเดียมผ่านการสื่อสารเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พร้อมกับการรณรงค์ และสื่อสารกับประชาชนในทุกทิศทาง

       “การใช้นโยบายสาธารณะเพื่อลดการบริโภคเกลือในประชากรนั้น มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุนโดย


ข้อมูลจากการศึกษาในหลายประเทศให้ผลสอดคล้องกัน ถึงความคุ้มค่าและแสดงให้เห็นถึงผลของการลดบริโภคเกลือต่อสุขภาพ รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายของระบบบริการสุขภาพ ตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา การลดการบริโภคเกลือในประชากรวันละ 3 กรัมจะส่งผลให้เพิ่มชีวิตคุณภาพ 194,000-392,000 QALYs และประหยัดค่ารักษาพยาบาล 10,000-24,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี นั่นหมายถึงการได้รับผลตอบแทน 6-12 ดอลลาร์ต่อทุกดอลลาร์ที่ใช้ในมาตรการควบคุม และการลดการบริโภคเกลือมีความคุ้มค่ามากกว่าการใช้ยาลดความดันโลหิต ส่วนในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง การลดบริโภคเกลือ 15% ในประชากรจะป้องกันการเสียชีวิตได้ 13.8 ล้านคนในเวลา 10 ปี โดยใช้ค่าใช้จ่ายเพียง 0.4 ดอลล่าร์ต่อคนต่อปี ซึ่งการศึกษานี้ ยังไม่ได้รวมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการลดการเจ็บป่วย ความพิการและการเสียชีวิต รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการปรับสูตรอาหารในภาคอุตสาหกรรม” ทพญ.จันทนากล่าว


 ด้านพญ.โอลิเวียร์ ไนเวรัส แพทย์ด้านโรคไม่ติดต่อ องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า WHO กำหนดเป้าหมายการควบคุมโรคไม่ติดต่อในระดับนานาชาติ 9 เป้าหมาย ซึ่งหนึ่งใน 9 เป้าหมายนั้น คือการลดค่าเฉลี่ยการบริโภคโซเดียมของประชากรทั่วโลกลง 30 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2568 โดยต้องการให้ทุกประเทศให้ความสำคัญกับนโยบายของการลดบริโภคโซเดียมเนื่องจากปัจจุบันทั่วโลกมีประชากรกว่า 3 ล้านคนเสียชีวิตจากการบริโภคโซเดียมมากเกินไป ซึ่งการลดการบริโภคโซเดียมช่วยลดความดันโลหิต และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มก. ต่อวัน (เท่ากับเกลือไอโอดีน 5 กรัม) แต่อย่างไรก็ดีพบว่าค่าเฉลี่ยการบริโภคโซเดียมของประชากรทั่วโลกอยู่ที่ 3,600-4,800 มก. ต่อวัน ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่แนะนำอยู่หลายเท่า จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละประเทศจะต้องพิจารณาดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพ และคุ้มทุนเพื่อการลดการบริโภคโซเดียมของประชากร โดย 1.จะต้องมีการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการปรับสูตรอาหาร โดยอาจกำหนดเพดานปริมาณโซเดียม หรือการตั้งเป้าหมายการลดปริมาณโซเดียมแบบบังคับ มีการพัฒนาเมนูลดโซเดียมในร้านอาหาร และมีการใช้มาตรการทางการเงิน (เก็บภาษีหรือให้เงินสนับสนุน)จากภาครัฐ 2.มาตรการองค์กรโดยใช้นโยบายการจัดซื้อและจัดหาอาหารโซเดียมต่ำในโรงเรียน โรงพยาบาล และสถานที่ทำงาน  3.กำหนดให้ฉลากหน้าบรรจุภัณฑ์แสดงข้อมูลที่ชัดเจน เช่น คำเตือนโซเดียมสูง หรือระบุปริมาณโซเดียมโดยสีสัญญานไฟจราจรและ 4.การรณรงค์เพื่อลดการบริโภคโซเดียมผ่านการสื่อสารเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พร้อมกับการรณรงค์ และสื่อสารกับประชาชนในทุกทิศทาง

       “การใช้นโยบายสาธารณะเพื่อลดการบริโภคเกลือในประชากรนั้น มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุนโดย


ข้อมูลจากการศึกษาในหลายประเทศให้ผลสอดคล้องกัน ถึงความคุ้มค่าและแสดงให้เห็นถึงผลของการลดบริโภคเกลือต่อสุขภาพ รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายของระบบบริการสุขภาพ ตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา การลดการบริโภคเกลือในประชากรวันละ 3 กรัมจะส่งผลให้เพิ่มชีวิตคุณภาพ 194,000-392,000 QALYs และประหยัดค่ารักษาพยาบาล 10,000-24,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี นั่นหมายถึงการได้รับผลตอบแทน 6-12 ดอลลาร์ต่อทุกดอลลาร์ที่ใช้ในมาตรการควบคุม และการลดการบริโภคเกลือมีความคุ้มค่ามากกว่าการใช้ยาลดความดันโลหิต ส่วนในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง การลดบริโภคเกลือ 15% ในประชากรจะป้องกันการเสียชีวิตได้ 13.8 ล้านคนในเวลา 10 ปี โดยใช้ค่าใช้จ่ายเพียง 0.4 ดอลล่าร์ต่อคนต่อปี ซึ่งการศึกษานี้ ยังไม่ได้รวมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการลดการเจ็บป่วย ความพิการและการเสียชีวิต รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการปรับสูตรอาหารในภาคอุตสาหกรรม” ทพญ.จันทนากล่าว


 ด้านพญ.โอลิเวียร์ ไนเวรัส แพทย์ด้านโรคไม่ติดต่อ องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า WHO กำหนดเป้าหมายการควบคุมโรคไม่ติดต่อในระดับนานาชาติ 9 เป้าหมาย ซึ่งหนึ่งใน 9 เป้าหมายนั้น คือการลดค่าเฉลี่ยการบริโภคโซเดียมของประชากรทั่วโลกลง 30 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2568 โดยต้องการให้ทุกประเทศให้ความสำคัญกับนโยบายของการลดบริโภคโซเดียมเนื่องจากปัจจุบันทั่วโลกมีประชากรกว่า 3 ล้านคนเสียชีวิตจากการบริโภคโซเดียมมากเกินไป ซึ่งการลดการบริโภคโซเดียมช่วยลดความดันโลหิต และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มก. ต่อวัน (เท่ากับเกลือไอโอดีน 5 กรัม) แต่อย่างไรก็ดีพบว่าค่าเฉลี่ยการบริโภคโซเดียมของประชากรทั่วโลกอยู่ที่ 3,600-4,800 มก. ต่อวัน ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่แนะนำอยู่หลายเท่า จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละประเทศจะต้องพิจารณาดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพ และคุ้มทุนเพื่อการลดการบริโภคโซเดียมของประชากร โดย 1.จะต้องมีการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการปรับสูตรอาหาร โดยอาจกำหนดเพดานปริมาณโซเดียม หรือการตั้งเป้าหมายการลดปริมาณโซเดียมแบบบังคับ มีการพัฒนาเมนูลดโซเดียมในร้านอาหาร และมีการใช้มาตรการทางการเงิน (เก็บภาษีหรือให้เงินสนับสนุน)จากภาครัฐ 2.มาตรการองค์กรโดยใช้นโยบายการจัดซื้อและจัดหาอาหารโซเดียมต่ำในโรงเรียน โรงพยาบาล และสถานที่ทำงาน  3.กำหนดให้ฉลากหน้าบรรจุภัณฑ์แสดงข้อมูลที่ชัดเจน เช่น คำเตือนโซเดียมสูง หรือระบุปริมาณโซเดียมโดยสีสัญญานไฟจราจรและ 4.การรณรงค์เพื่อลดการบริโภคโซเดียมผ่านการสื่อสารเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พร้อมกับการรณรงค์ และสื่อสารกับประชาชนในทุกทิศทาง