BDMS Wellness Clinic จับมือ GWI ศึกษาวิจัยเวลเนสของประเทศไทยและโอกาสในเศรษฐกิจเวลเนสที่มีมูลค่า 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯและคาดการณ์ว่าจะเติบโตสู่ 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2568
สถาบันโกลบอลเวลเนส(Global Wellness Institute; GWI) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งเน้นงานวิจัยและข้อมูลทางการศึกษาด้านสุขภาพเชิงป้องกันและอุตสาหกรรมเวลเนสทั่วโลกได้ประกาศให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ที่ได้รับการปักหมุดลงใน “ภูมิศาสตร์เวลเนส” (Geography of Wellness) แพลตฟอร์มใหม่ของ GWI โดย 2 ประเทศแรก คือ สิงคโปร์และบราซิลที่ถูกปักหมุดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ครั้งนี้ BDMS Wellness Clinic ศูนย์สุขภาพเชิงป้องกันในเครือบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ Bangkok Dusit Medical Services (BDMS) เครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้เป็นผู้สนับสนุนการเจาะลึกข้อมูลเศรษฐกิจเวลเนสในประเทศไทยซึ่ง BDMS Wellness Clinic ดำเนินงานโดยยึดหลักปรัชญาที่ว่า‘สุขภาพที่ดีเริ่มที่การป้องกัน’ (Prevention is the pathway to wellness) โดยการรวบรวมแพทย์ผู้มีความรู้ความชำนาญ และเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาใช้ในการตรวจประเมินสุขภาพนำไปสู่การวางแผนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) อย่างมีคุณภาพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ (Physical and mental wellness)
“ความร่วมมือระหว่างเรากับ GWI ทำให้สามารถมองเห็นภาพใหญ่ของตลาดเวลเนสในประเทศไทยและยังสามารถเป็นแหล่งความรู้เชิงลึกในด้านสินทรัพย์เวลเนสของประเทศไทยนำไปใช้ในการวางแผนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของประเทศในเศรษฐกิจเวลเนสโลกที่มีมูลค่า 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2563และมีแนวโน้มที่จะเติบโตไปจนถึง 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2568” นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานคณะผู้บริหาร BDMS Wellness Clinicและ BDMS Wellness Resort กล่าวถึงการร่วมมือกันครั้งนี้
Susie Ellis ประธานและซีอีโอของ GWI กล่าวว่า “ภูมิศาสตร์เวลเนสของ GWI เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นเพื่อให้ประเทศต่างๆ เข้าใจอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นว่า ประเทศของตนอยู่ในตำแหน่งใดในเศรษฐกิจเวลเนสที่มีมูลค่า 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักวิชาการ และหน่วยงานภาครัฐมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนว่า โอกาสในระยะสั้นและระยะยาวอยู่ตรงไหน เราขอขอบคุณพันธมิตรระดับประเทศอย่าง BDMS Wellness Clinic ที่เล็งเห็นคุณค่าของข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้”
GWI ประเมินมูลค่าเศรษฐกิจเวลเนสทั่วโลกพบว่ามีการเติบโตขึ้นอย่างมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา มูลค่าการตลาดทางด้านเวลเนสทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2560 อยู่ที่ 4.2ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ขยับสูงขึ้นมาอยู่ที่ 4.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เฉลี่ยเติบโต ประมาณ 6.6 % ติดต่อกันมาตลอดหลายปี สูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่มีการเติบโต 4% แต่ในปี พ.ศ. 2563 เศรษฐกิจเวลเนสหดตัวลง 11% เหลือ 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และได้รับผลกระทบหนักกว่า GDP ของโลกที่ลดลงเพียง 2.8% อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์ว่าจะกลับมาเติบโตไปจนถึง 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2568 (เฉลี่ยเติบโต 9.9% ต่อปี)
จากข้อมูลของ GWI เศรษฐกิจเวลเนสของประเทศไทยมีอัตราเติบโตอยู่ที่29% ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2562 แต่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 การเติบโตนี้ชะลอตัวลงภายใต้ข้อจำกัดการของเดินทางที่เข้มงวดเนื่องจากเศรษฐกิจเวลเนสของประเทศไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพและธุรกิจสปา ซึ่งเป็น 2 ธุรกิจหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
นายแพทย์ตนุพล กล่าวว่า “GWI ประเมินว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจะกลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดด เฉลี่ยสูงถึงปีละ 20.9% และจะมีมูลค่าทะลุ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2567 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ของภูมิภาคเอเชียซึ่งก่อนการระบาดของโควิด-19 ประเทศไทยมีรายได้หลักจากการเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำของโลก มีศักยภาพในการส่งเสริมให้เป็นศูนย์รวมของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลกซึ่งจากรายงานของ GWI ในปีพ.ศ. 2563ประเทศไทยติดอันดับ 9 ในเศรษฐกิจเวลเนสในแถบเอเชียแปซิฟิก และติดอันดับ 24 ของโลก”ประเทศไทยยังได้รับการโหวตให้เป็นประเทศเป้าหมายที่คนอยากมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอันดับที่ 2 ของโลก รองจากออสเตรเลีย จากการจัดอันดับของ Wellness Tourism Initiative 2020 สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทย
นายแพทย์ตนุพล กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “จาก 11 สาขาเศรษฐกิจเวลเนสทั่วโลกหนึ่งในสาขาที่เติบโตสวนกระแส ในยุคการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 คือ 'การแพทย์ด้านเวชศาสตร์ป้องกัน สาธารณสุขและการแพทย์เฉพาะบุคคล' ซึ่งเติบโต 4.5% ในช่วงปีพ.ศ. 2562-2563 BDMSWellness Clinicรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมมีบทบาทในการเติบโตดังกล่าว”
ข้อมูลตลาดเศรษฐกิจเวลเนสระดับมหภาคของ GWI พร้อมกับการเจาะลึกตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศไทย สามารถค้นหาได้ในรายงานฉบับใหม่ “The Global Wellness Economy: Thailand” ซึ่งมีให้ดาวน์โหลดฟรีด้วยการสนับสนุนของ BDMS Wellness Clinic
เวลเนสในประเทศไทย
ประเทศไทยติดอันดับจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวไม่เพียงแต่เป็นที่รู้จักด้วยสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงามรสชาติของอาหาร ความมั่งคั่งทางวัฒนธรรม และตลาดที่คึกคักเท่านั้น แต่การดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและการพักผ่อนเพื่อสุขภาพก็มีชื่อเสียงในระดับโลกเช่นเดียวกันด้วยบริการที่เป็นที่ยอมรับทั้งด้านการท่องเที่ยวการแพทย์และเวลเนสประเทศไทยจึงเหมาะสำหรับทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่กำลังมองหาการดูแลสุขภาพจากชื่อเสียงของการแพทย์แผนไทยและตำรับยาสมุนไพรทำให้ “การนวดแผนไทย” และ “การแพทย์แผนไทย”เป็นการรักษาที่มีชื่อเสียงและทั่วโลกให้ความสนใจ
ประเทศไทยยังเป็นผู้นำด้านการแพทย์เชิงสุขภาพและเป็นที่ยอมรับในด้านการตรวจสุขภาพเชิงป้องกันที่ครบวงจรและการพักผ่อนเพื่อสุขภาพส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางในฝันสำหรับผู้ที่กำลังมองหาบริการด้านสุขภาพและเวลเนสระดับโลกในราคาที่คุ้มค่า
[หมายเหตุ: ขณะนี้ GWI กำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายประเทศเพื่อเน้นสินทรัพย์เวลเนสที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ และจะเดินหน้าออกรายงานฉบับใหม่เมื่อมีการเพิ่มรายชื่อประเทศนั้นลงในแพลตฟอร์ม]
เกี่ยวกับ Global Wellness Institute: Global Wellness Institute (GWI) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ถือเป็นแหล่งข้อมูลการวิจัยและการศึกษาชั้นนำระดับโลกสำหรับอุตสาหกรรมเวลเนสทั่วโลก และเป็นที่รู้จักในการนำเสนอแนวคิดใหม่ในด้านอุตสาหกรรมและกิจกรรมระดับภูมิภาคที่ผู้นำต่างมารวมตัวกันเพื่อสร้างอนาคต GWI ส่งผลในเชิงบวกต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของโลกโดยการให้ความรู้แก่สถาบันภาครัฐภาคธุรกิจ และภาคประชาชนเกี่ยวกับวิธีการป้องกันโรค ลดความเครียด และยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวม ภารกิจของ GWI คือการส่งเสริมสุขภาพทั่วโลก
สามารถดาวน์โหลดข้อมูลเกี่ยวกับ Geography of Wellness Thailand ได้ที่ https://globalwellnessinstitute.org/geography-ofwellness/wellness-in-thailand/