แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท เตือน! คนไทยเร่งปรับพฤติกรรมหลังพบอัตราผู้ป่วยด้วยโรคกระดูกคอเสื่อมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“โรคกระดูกคอเสื่อม” ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม รักษาช้าเสี่ยงพิการ จากสถิติการรักษาของโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ  พบว่า ตั้งแต่ปี 2561 -ปัจจุบัน  มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วยโรคกระดูกคอเสื่อมมากขึ้นถึง 4 เท่า โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงาน สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงมาจากการใช้คอ ใช้กล้ามเนื้อแผ่นหลังที่ผิดลักษณะ เช่น การนั่งเล่นสมาร์ทโฟนนานๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ โดยกลุ่มนี้มักมีปัญหาเรื่องปวดคอ บ่า ไหล่   และจะมีอาการปวดแปล๊บเหมือนไฟช็อตลงไปที่แขน มีอาการชา บางรายอาจอ่อนแรง ทำให้เสียความสามารถในการทำงาน ด้วยพฤติกรรมเหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคกระดูกคอเสื่อมทั้งสิ้น ทำให้แนวโน้มของคนไทยเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคกระดูกคอเสื่อมมากขึ้นจนเป็นอัตราที่น่าเป็นห่วง 


           อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ  เคยจัดกิจกรรมเสวนา โรคอุบัติการณ์ใหม่ TEXT NECK SYNDROME (เท็กซ์เนคซินโดรม) สังคมก้มหน้า ยุคไทยแลนด์ 4.0 ไขข้อข้องใจใครป่วยได้บ้าง ป่วยแล้วรักษาอย่างไร โดยเป็นการเตือนภัยโรคอุบัติการณ์ใหม่ที่มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น  ในขณะนั้นนายแพทย์ดิตถพงษ์ บุญอำพล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท ได้ออกมาย้ำเตือนให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพราะไม่อยากให้คนไทยต้องเผชิญกับความเจ็บปวดจากโรคที่เกิดจากพฤติกรรม จนกระทั่งปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคกระดูกคอเสื่อมเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ทราบว่าอัตราการป่วยของโรคนี้ไม่ลดลงเลย 

สำหรับแนวทางการรักษา นายแพทย์ดิตถพงษ์ บุญอำพล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท เปิดเผยว่า “หากคนไข้อาการไม่รุนแรงแนะนำให้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ไม่ก้มเล่นโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน อย่าลืมที่จะเปลี่ยนอิริยาบถท่าทางบ้าง เพราะร่างกายมนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อก้มหรือทำงานให้หนักขนาดนั้น แต่หากไม่ดีขึ้นแพทย์จะทำการรักษาโดยการให้ยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ท้ายที่สุดหากมีอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน แพทย์จะทำการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอทางด้านหลังด้วยเทคนิค PSCD (Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression) 


          เทคนิค PSCD (Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression) คือ การรักษาด้วยการเจาะรูส่องกล้องด้วยเทคนิค PSCD ซึ่งเป็นเทคนิคที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ นำมาใช้ และถือว่าเป็นเจ้าแรก ซึ่งการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอทางด้านหลัง  เพื่อขยายช่องกระดูกสันหลังส่วนคอ โดยแพทย์จะนำกล้องเอ็นโดสโคปที่มีความละเอียดสูงเข้าไปในช่องว่างภายในกระดูกคอ เพื่อนำหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออกมา  สำหรับทางเลือกการรักษาด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือ แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กมาก เพียง 0.5 เซนติเมตร  สูญเสียเลือดน้อย ฟื้นตัวเร็ว นอนโรงพยาบาลเพียง 1 คืนก็สามารถกลับบ้านได้ ซึ่งต่างจากเทคนิคเดิมที่มีแผลขนาดใหญ่และต้องมีการเชื่อมกระดูก ทำให้คอหันได้ลำบาก

นพ.ดิตถพงษ์  ย้ำว่า โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาทแห่งแรกในประเทศไทย ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ เรามุ่งมั่นเสาะแสวงหาเทคนิคที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดเพื่อตอบโจทย์คนไข้เสมอ ที่ผ่านมาเราได้ติดตามงานวิชาการต่างๆ และเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อต่อยอดเทคนิคการรักษาที่ทันสมัยและดีที่สุด และล่าสุดทางโรงพยาบาล เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางแห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้เข้าร่วมงานเสวนาวิชาการ The 4th ISMISS Asia-Japan combined with The14th MISS Summit Forum   ที่จัดขึ้นโดยประเทศญี่ปุ่น  เพื่อแลกเปลี่ยนงานวิจัยและประสบการณ์การรักษากระดูกสันหลังระดับโลก โดยหนึ่งในสุดยอดศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังชื่อดังที่ได้รับเชิญเข้าร่วมงานครั้งนี้คือ นายแพทย์เมธี ภัคเวช ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังของโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ที่ได้ไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์การรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอทับเส้นประสาทในหัวข้อ Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression / Discectomy (PSCD) พร้อมอธิบายเทคนิคการรักษาด้วยวิธีเจาะรูส่องกล้องเพื่อขยายช่องกระดูกสันหลังส่วนคอที่ตีบ และเทคนิคการนำหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออกโดยไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดแผลขนาดใหญ่อีกต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่แพทย์ไทยได้ร่วมวงเสวนาในระดับสากลดังกล่าว    


อีกทั้งการมีทีมแพทย์ที่แข็งแกร่ง คือ จุดแข็งของโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ซึ่งเราได้รวมแพทย์เฉพาะทางฝีมือดีมากประสบการณ์ของประเทศไทยไว้หลายคน ทำให้การวินิจฉัยถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ประกอบกับการนำนวัตกรรมสมัยใหม่จากทั่วโลกเข้ามาช่วยในการรักษา โดยใช้การรักษาแบบ Minimally Invasive Surgery (MIS) ครบวงจร ทำให้เราสามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ” นายแพทย์ดิตถพงษ์ กล่าว   


นอกจากนี้ นายแพทย์ดิตถพงษ์ ยังได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการรักษาโรคกระดูกคอเสื่อมไว้อีกว่า การรักษาโรคให้รู้สาเหตุ และรักษาที่ต้นเหตุ เพราะยาแก้ปวดจะช่วยได้ชั่วคราว แต่ถ้ารักษาที่ต้นเหตุจะหายโดยไม่ต้องทานยาและแก้ที่สาเหตุแห่งการปวด