แอสตร้าเซนเนก้าส่งมอบยาLAABภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปจำนวน41,575ยูนิตให้กับประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์

แอสตร้าเซนเนก้าส่งมอบยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสมAZD7442 (ปริมาณตัวยา tixagevimabและ cilgavimabอย่างละ 150 มก. ต่อ 1 ยูนิต) หรือLAAB ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปรอบที่สอง จำนวน 41,575ยูนิต ให้กับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในเดือนกันยายน
          ยา LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้าที่ส่งมอบในรอบนี้ จะนำไปจัดสรรและใช้สำหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19ในกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่น (อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปและมีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40 กิโลกรัม) ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไม่เพียงพอ หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับประเทศไทยในการต่อสู้กับโควิด-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
          การส่งมอบในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่มีการจัดสรรยา LAAB จำนวนกว่า 7,000 ยูนิต ในเดือนกรกฎาคมให้กับกลุ่มผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายเป็นกลุ่มแรกทั้งนี้แอสตร้าเซนเนก้าจะทำการจัดหาและส่งมอบยา LAABเพิ่มอีกจำนวน209,000ยูนิตให้แก่ประเทศไทยภายในสิ้นปีนี้ตามสัญญาการจัดซื้อซึ่งแอสตร้าเซนเนก้าและ กรมควบคุมโรค ได้ร่วมลงนามเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
          นายเจมส์ ทีกประธานบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม หรือ LAABเป็นภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปที่จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยป้องกันโรคโควิด-19ให้กับประชากรกลุ่มเปราะบางในประเทศไทย เช่น ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนไม่เพียงพอแอสตร้าเซนเนก้าให้ความร่วมมือและสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขในการดำเนินตามแผนการสร้างภูมิคุ้มกันให้ครอบคลุมประชาชนทั่วประเทศเราจึงนำเสนอทางเลือกให้กับกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงจากโควิด-19 ซึ่งเกิดจากสายพันธุ์โอมิครอนตอกย้ำความมุ่งมั่นของแอสตร้าเซนเนก้าที่จะดูแลปกป้องทุกคนให้ปลอดภัยจากการโรคระบาดนี้”
          ยา LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้าได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาแบบมีเงื่อนไขในประเทศไทย เมื่อเดือนมิถุนายน 25651โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำหรับใช้เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ในกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปและมีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40 กิโลกรัมทั้งผู้ที่เคยได้รับวัคซีนและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนทั้งนี้ กรมควบคุมโรคได้กำหนดแนวทางการใช้ยานี้กับ“กลุ่ม 607” ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงต่อโควิด-19 หรือ หรือไม่สามารถรับวัคซีนได้
          ปัจจุบันมีการใช้ LAAB เพื่อใช้สำหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ในกว่า30 ประเทศทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน อียิปต์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ และ เวียดนาม ทั้งนี้ LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้าเพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาเพื่อใช้สำหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 และการรักษาโควิด-19 แบบมีอาการในประเทศญี่ปุ่นโดยมีการยื่นเรื่องขออนุมัติใช้ยาเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันและการรักษามากขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศทั่วโลก


AZD7442 หรือ LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า
          AZD7442 (LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า) มาจากบีเซลล์ที่ได้รับการบริจาคจากผู้ที่เคยป่วยจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งถูกค้นพบโดยศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิวท์ และได้อนุญาตให้แอสตร้าเซนเนก้านำมาพัฒนาต่อเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2563 โมโนโคลนอลแอนติบอดีของมนุษย์ 2 ตัวนี้จะมีความจำเพาะที่ต่างกัน เพื่อจับกับโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือ SARS-CoV-2 ในคนละจุด2และถูกพัฒนาต่อโดยแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อขยายระยะเวลาครึ่งชีวิต(half-life) เพื่อเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี และปรับให้มีการจับกันของ Fc Receptor และ Complement ชนิด C1q ที่ลดลง3โดยการขยาย half-life นั้น สามารถเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี้ได้มากกว่าสามเท่าเมื่อเทียบกับแอนติบอดี้ทั่วไป4-6จากข้อมูลของการทดลองในระยะที่ 3 แสดงให้เห็นว่าระดับของแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจํานวนของไวรัส (neutralizing antibody) คงอยู่ได้เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน5และการปรับให้มีการจับของ Fc Receptor ที่ลดลงนั้นสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะ antibody-dependent enhancement (ADE) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่แอนติบอดี้ของเชื้อไวรัสเข้าไปกระตุ้นแทนที่จะยับยั้งการติดเชื้อ7

เกี่ยวกับแอสตร้าเซนเนก้า
          แอสตร้าเซนเนก้า (ชื่อย่อหลักทรัพย์ AZN ในตลาดหลักทรัพย์ LSE/ STO/ Nasdaq) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มุ่งเน้นทางด้านการคิดค้น พัฒนา และจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มยาโรคมะเร็ง กลุ่มยาโรคหัวใจ ไต และระบบเผาผลาญ และกลุ่มยาโรคทางเดินหายใจ แอสตร้าเซนเนก้า มีฐานอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ และมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมยาต่างๆ จากแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปยังเว็บไซต์ astrazeneca.coและช่องทางทวิตเตอร์ @AstraZeneca


อ้างอิง
1.Thailand Food and Drug Administration, Ministry of Health http://pertento.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_DRUG/SEARCH_DRUG/pop-up_drug_ex.aspx?Newcode=U1DR2C1072650000511C. (Last accessed September 2022).
2.Dong J, et al. Genetic and Structural Basis for SARS-CoV-2 Variant Neutralization by a Two-Antibody Cocktail. Nat Microbiol. 2021;6(10):1233-1244. doi:10.1038/s41564-021-00972-2.
3.Loo YM, et al. AZD7442 Demonstrates Prophylactic and Therapeutic Efficacy in Non-Human Primates and Extended Half-Life in Humans. Sci Transl Med. 2022;14(635):eabl8124.
4.Robbie GJ, et al. A Novel Investigational Fc-Modified Humanized Monoclonal Antibody, Motavizumab-YTE, Has an Extended Half-Life in Healthy Adults. Antimicrobial Agents and Chemotherapy. 2013;57(12):6147. doi:10.1128/AAC.01285-13.
5.Griffin MP, et al. Safety, Tolerability, and Pharmacokinetics of MEDI8897, the Respiratory Syncytial Virus Prefusion F-Targeting Monoclonal Antibody with an Extended Half-Life, in Healthy Adults. Antimicrob Agents Chemother. 2017;61(3).
6.Domachowske JB, et al. Safety, Tolerability and Pharmacokinetics of MEDI8897, an Extended Half-Life Single-Dose Respiratory Syncytial Virus Prefusion F-Targeting Monoclonal Antibody Administered as a Single Dose to Healthy Preterm Infants. Pediatr Infect Dis J. 2018;37(9):886-892.
7.van Erp EA, et al. Fc-Mediated Antibody Effector Functions During Respiratory Syncytial Virus Infection and Disease. Front Immunol. 2019;10 (MAR).