เมืองพัทยาเตรียมดึงการแพทย์ทางไกลขยายบริการหมอถึงบ้านพยาบาลถึงเรือน

www.medi.co.th

สปสช. ลงพื้นที่เทศบาลเมืองพัทยา จ.ชลบุรี เยี่ยมชมการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.) เทศบาลเมืองพัทยา เตรียมตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุผ่านงบกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นรุ่นแรก ต.ค.นี้  พร้อมเตรียมดำเนินงานบรรจุการให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยี Telemedicine ลงแพลตฟอร์ม Pattaya Connect-ขยายบริการหมอถึงบ้านพยาบาลถึงเรือนให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่


 คณะผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นำโดย ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. พร้อมคณะ ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานการใช้งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กปท.) สำหรับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และการพัฒนานำเทคโนโลยีเพื่อเข้ามาใช้ในการดูแลประชาชนในพื้นที่ ของเทศบาลเมืองพัทยา ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โดยมี นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเทศมนตรีเมืองพัทยา พร้อมคณะให้การต้อนรับ

 


นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเทศมนตรีเมืองพัทยา เปิดเผยว่า ภายหลังจากการประชุมร่วมกับ ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. ทำให้เห็นช่องทางอื่นที่จะนำเงินจากงบ กปท. เข้ามาใช้เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในปี 2565 ที่ผ่านมา ทาง กปท.เมืองพัทยา มีโครงการส่งเสริมสุขภาพที่ได้รับอนุมัติงบประมาณจากกองทุนประมาณ 72 โครงการ ซึ่งส่วนมากจะเป็นการดูแลเรื่องสุขภาพในเชิงการออกกำลังกาย โดยจะเป็นโครงการที่ประชาชนขอเข้ามา แต่ในปี 2565 นี้จะมีการทำโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ มีการทำอาคารศูนย์กิจกรรมที่ครบถ้วน ที่จะเปิดหลักสูตรสำหรับรุ่นแรกในช่วงสิ้นเดือน ต.ค. นี้


อย่างไรก็ดี เมืองพัทยาก็มีอีกหนึ่งกิจกรรมที่กำลังดำเนินการเรียกว่า “หมอถึงบ้านพยาบาลถึงเรือน” ที่จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพได้ง่ายขึ้น โดยตั้งเป้าจะขยายให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านในพื้นที่พัทยา จากเดิมที่ครอบคลุมเพียงแค่ 2 หมู่เท่านั้น


นายปรเมศวร์ กล่าวว่า สำหรับการขยายบริการหมอถึงบ้านฯ ให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่นั้นจะต้องนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อทำให้ทรัพยากรบุคลากรที่มีสามารถดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้น ซึ่งก็จะคิดว่าเป็นส่วนที่ดีที่จะนำระบบ Telemedicine หรือระบบบริการการแพทย์ทางไกลเข้ามาเชื่อมโยงกับ “Pattaya Connect” ที่เชื่อมต่อกับไลน์แอปพลิเคชัน


“Pattaya connect ในตอนนี้จะมุ่งเรื่องของการรับเรื่องร้องเรียน การท่องเที่ยว การจราจร การจองคิวโรงพยาบาลที่ตอบโจทย์ทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว โดยในขณะนี้คนแอดเข้ามาแล้วประมาณ 1.2 ล้านคน ซึ่งอนาคตระบบ Telemedicine ก็อาจจะเข้าไปอยู่ตรงนี้ได้ ถ้าอีกหน่อยเราจะใส่ข้อมูลของผู้ป่วยติดเตียงที่ในตอนนี้มีอยู่ประมาณ 60 กว่าราย และใส่เรื่องการสั่งยาผ่านระบบ คิดว่าเราน่าจะทำได้ผ่านการเชื่อมโยงกับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นที่เทศบาลเมืองพัทยาทำร่วมกับ สปสช.” นายปรเมศวร์ ระบุ


ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ด้วยบริบทของพัทยาเป็นสังคมเมือง ทำให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ต้องมีการออกแบบอย่างพิถีพิถันและมีกลวิธีที่แตกต่างออกไป ซึ่งทาง นายปรเมศวร์ นายกเมืองพัทยาก็ได้มีการพยายามนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดูแลประชาชนผ่านเครื่องมือสื่อสาร เช่น Pattaya Connect รวมไปถึงการทำเรื่อง Telemedicine ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิสัยทัศน์ที่พยายามทำให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงบริการ โดยทั้งหมดสอดคลอดกับที่ สปสช. พยายามจะทำนั่นคือการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการมากที่สุด ซึ่งระบบการเบิก หรือการจ่ายเงินค่าชดเชยบริการนั้น สปสช. ก็ได้มีการออกแบบไว้แล้ว


อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากการเน้นเรื่องการรักษาพยาบาลแล้ว สิ่งที่เหนือไปกว่านั้นคือการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่มีหมุดหมายอยากจะให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ป่วย เมื่อมีสุขภาพที่ดีแล้วก็จะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นด้วย ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ก็ได้เห็นว่าที่พัทยามีการดำเนินการอย่างไร ซึ่งก็จะมีการนำไปต่อยอดกับนโยบายของ สปสช. เพื่อให้การดำเนินการสอดคล้องกัน


“สำหรับการนำเทคโนโลยีมาใช้นั้นสำหรับงบประมาณที่สนับสนุนร่วมกันเท่าเดิม แต่สิ่งที่ได้มากขึ้นคือการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนใช้เงินเท่าเดิมแต่ดูแลประชาชนได้เพิ่มมากขึ้น และการใช้เทคโนโลยีจะทำให้ค่าใช้จ่ายทางอ้อมไม่ว่าจะเป็นค่ารถ ค่าอาหารการกินในระหว่างที่เดินทางไปรับการรักษาพยาบาลไม่ต้องเสียถ้าเราใช้เทคโนโลยี ส่วนค่าใช้จ่ายทางตรงคือการรักษาพยาบาลของประชาชนไม่ต้องเสียเพราะรัฐบาลดูแลให้” ทพ.อรรถพร ระบุ


พร้อมกันนั้นในช่วงบ่าย คณะฯ ได้เดินทางไปเยี่ยม นายมณี ศิริเวช อายุ 64 ปี ณ ชุมชนกอไผ่ ที่ป่วยด้วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และหลอดเลือดสมองตีบ (Stroke) ผ่านการดูแลของกองทุน Long Term Care (LTC) สำหรับดูแลผู้อายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งนายมณีป่วยด้วยโรคดังกล่าวมาได้ประมาณ 5 ปี และเข้ามาอยู่ในการดูแลของกองทุนฯ หลายปีแล้ว พบว่าอาการดีขึ้นตามลำดับ สามารถรับประทานอาหารได้ปกติ และมีค่าการประเมินกิจวัตรประจําวัน (ADL) สูงขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา


 

 


ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ด้วยบริบทของพัทยาเป็นสังคมเมือง ทำให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ต้องมีการออกแบบอย่างพิถีพิถันและมีกลวิธีที่แตกต่างออกไป ซึ่งทาง นายปรเมศวร์ นายกเมืองพัทยาก็ได้มีการพยายามนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดูแลประชาชนผ่านเครื่องมือสื่อสาร เช่น Pattaya Connect รวมไปถึงการทำเรื่อง Telemedicine ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิสัยทัศน์ที่พยายามทำให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงบริการ โดยทั้งหมดสอดคลอดกับที่ สปสช. พยายามจะทำนั่นคือการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการมากที่สุด ซึ่งระบบการเบิก หรือการจ่ายเงินค่าชดเชยบริการนั้น สปสช. ก็ได้มีการออกแบบไว้แล้ว


อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากการเน้นเรื่องการรักษาพยาบาลแล้ว สิ่งที่เหนือไปกว่านั้นคือการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่มีหมุดหมายอยากจะให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ป่วย เมื่อมีสุขภาพที่ดีแล้วก็จะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นด้วย ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ก็ได้เห็นว่าที่พัทยามีการดำเนินการอย่างไร ซึ่งก็จะมีการนำไปต่อยอดกับนโยบายของ สปสช. เพื่อให้การดำเนินการสอดคล้องกัน


“สำหรับการนำเทคโนโลยีมาใช้นั้นสำหรับงบประมาณที่สนับสนุนร่วมกันเท่าเดิม แต่สิ่งที่ได้มากขึ้นคือการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนใช้เงินเท่าเดิมแต่ดูแลประชาชนได้เพิ่มมากขึ้น และการใช้เทคโนโลยีจะทำให้ค่าใช้จ่ายทางอ้อมไม่ว่าจะเป็นค่ารถ ค่าอาหารการกินในระหว่างที่เดินทางไปรับการรักษาพยาบาลไม่ต้องเสียถ้าเราใช้เทคโนโลยี ส่วนค่าใช้จ่ายทางตรงคือการรักษาพยาบาลของประชาชนไม่ต้องเสียเพราะรัฐบาลดูแลให้” ทพ.อรรถพร ระบุ


พร้อมกันนั้นในช่วงบ่าย คณะฯ ได้เดินทางไปเยี่ยม นายมณี ศิริเวช อายุ 64 ปี ณ ชุมชนกอไผ่ ที่ป่วยด้วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และหลอดเลือดสมองตีบ (Stroke) ผ่านการดูแลของกองทุน Long Term Care (LTC) สำหรับดูแลผู้อายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งนายมณีป่วยด้วยโรคดังกล่าวมาได้ประมาณ 5 ปี และเข้ามาอยู่ในการดูแลของกองทุนฯ หลายปีแล้ว พบว่าอาการดีขึ้นตามลำดับ สามารถรับประทานอาหารได้ปกติ และมีค่าการประเมินกิจวัตรประจําวัน (ADL) สูงขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา