“วิโนน่า” ผนึก “มศว” ลงนาม MOU ใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ใหม่ต่อยอดผลิตภัณฑ์กลุ่ม Health Care มุ่งเสริมสมดุลสุขภาพคนไทยห่างไกลการใช้ยา

www.medi.co.th

บริษัท วิโนน่า เฟมินิน จำกัด ย้ำจุดยืนผู้นำตลาดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของไทย ผนึกกำลังร่วมกับ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ลงนามสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีและอนุญาตให้ใช้สิทธิ ผลงานเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ Bifidobacterium animalis TA-1 ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนาสายพันธุ์ของ รองศาสตราจาร์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ และคณะนักวิจัย เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ กระตุ้นการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกไทย ลดการนำเข้าโพรไบโอติกจากต่างประเทศ และเพิ่ม GDP ให้ประเทศไทยได้ดุลการค้าจากโพรไบโอติกสู่การต่อยอดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยสร้างสมดุลสุขภาพของคนไทย และลดภาระค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลในอนาคต


นางนพรัตน์ สุขสราญฤดี ผู้ก่อตั้ง บริษัท วิโนน่า เฟมินิน จำกัด กล่าวว่า “จากความร่วมมือในการลงนามสัญญากับทาง มศว เพื่อใช้สิทธิข้อมูลเทคโนโลยี จุลินทรีย์โพรไบโอติก (probiotics) สายพันธุ์ Lactobacillus paracasei MSMC 39-1  ซึ่งเป็นผลงานจากคณะนักวิจัยของ มศว ในปีที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์วิโนน่า และได้มีการเปิดตัวพร้อมวางจำหน่ายไปเมื่อเดือน พ.ค. 2565 นับว่าประสบความสำเร็จและได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยมจากผู้บริโภคเนื่องจากผลลัพธ์จากการบริโภคที่เห็นผลในแง่ของสุขภาพที่ดีขึ้นในหลายระบบโดยไม่ต้องใช้ยา อาทิเช่น ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ต้านอักเสบ ปรับภูมิคุ้มกัน ลดสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น ทำให้เราเชื่อมั่นต่อความสามารถของนักวิจัยไทย และเชื่อมั่นในคุณภาพของจุลินทรีย์ โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทย ในโอกาสนี้ วิโนน่า ในฐานะผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ยังคงมีเจตนารมณ์ร่วมกับคณะนักวิจัยของ มศว ที่อยากเห็นคนไทย มีสุขภาพร่างกายที่สมดุล สมบูรณ์แข็งแรง ด้วยการบริโภคจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงเกิดความร่วมมือครั้งใหม่ในการลงนามเพื่อรับไลเซนส์ เพื่อใช้ผลงานจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ Bifidobacterium animalis TA-1 สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะช่วยสร้างสมดุลแก่สุขภาพในระยะยาวแก่ผู้บริโภค ตามเจตนารมณ์ของแบรนด์วิโนน่า ที่อยากช่วยให้คนไทยหลีกเลี่ยงการพึ่งพายา และสารเคมีเข้าในร่างกาย และลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโรคในบั้นปลาย ซึ่งการดูแลสุขภาพองค์รวมด้วยสารอาหารตามธรรมชาติเช่นนี้ จะเป็นการรักษาสุขภาพอย่างยั่งยืนและทำให้ผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยไม่ต้องพึ่งพายาและสารเคมีเกินความจำเป็น”   

 รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดเผยว่า “ความร่วมมือครั้งนี้ บริษัท วิโนน่า เฟมินิน จำกัด ในฐานะพันธมิตรจากภาคเอกชน ได้เข้ามาร่วมมือกับ มศว ในการลงนามสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีและอนุญาตให้ใช้สิทธิ ผลงานเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ Bifidobacterium animalis TA-1 โดย มศว มีนโยบายการส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม อันเกิดจากองค์ความรู้ที่มีประโยชน์โดยการพัฒนาและทดลองของคณะนักวิจัย ซึ่งการเข้ามามีบทบาทของภาคเอกชน จะเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญที่ทำให้องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนั้น ไม่สิ้นสุดเพียงแค่เป็นผลงานวิจัย เพราะด้วยศักยภาพด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม และกลยุทธ์ทางการตลาดของภาคเอกชนนั้น จะช่วยผลักดันให้งานวิจัยขยายสู่ความเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้และมีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ จากผลงานวิจัยจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถไปถึงมือผู้บริโภค ยิ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และเป็นการขยายขีดความสามารถในแข่งขันแก่สถาบันระดับอุดมศึกษาและในภาคอุตสาหกรรมของประเทศอีกด้วย”

 


ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย                ศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะเจ้าของผลงานวิจัยเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติก กล่าวว่า “เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ Bifidobacterium animalis TA-1 เป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทยที่มีการพิสูจน์คุณสมบัติแล้วว่าเป็นโพรไบโอติกที่ดี และอยู่ในการอนุญาตขององค์การอาหารและยา (อย. ) ซึ่งผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาที่ได้มาตรฐานเพื่อหาข้อพิสูจน์ว่ามีคุณสมบัติจำเพาะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย แม้จะพบว่ามีคุณสมบัติเด่นในการลดไขมันและคอเลสเตอรอล แต่สามารถกล่าวได้ว่าเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์นี้ เป็นสายพันธุ์ที่ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยนั้น สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องกังวลถึงผลข้างเคียง เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์               โพรไบโอติก ไม่ใช่ยาหรือสารเคมี หากแต่เป็นสารอาหารตามธรรมชาติที่มีอยู่ในร่างกายของคนเรา หากบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อเติมสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพองค์รวม”



นางนพรัตน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ด้วยเทรนด์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน ทำให้ในภาคอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของไทย มีผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ ที่สนใจในการนำจุลินทรีย์โพรไบโอติกมาพัฒนาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การสนับสนุนผลงานของนักวิจัยไทย ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเชื้อจุลินทรีย์         โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทย นอกจากจะช่วยเพิ่มดุลการค้าและลดความสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการนำเข้าสายพันธุ์หรือผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกจากต่างประเทศ ในขณะที่จุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทย มีการคัดแยก พัฒนา และทดสอบกับกลุ่มประชาการไทย จึงมีความคุ้นเคยกับคนไทยมากกว่า ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่า ผลงานวิจัยเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทย มีศักยภาพและขีดความสามารถเพียงพอที่จะแข่งขันกับผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศ และยังสามารถนำสายพันธุ์ของเราขยายตลาดไปยังกลุ่มเอเซียแปซิฟิก ได้อย่างแน่นอน”