รายงานฉบับใหม่ของคณะกรรมการดำเนินงาน HIV Care Continuum & Beyond เรียกร้องให้ประเทศและเขตปกครองในเอเชียทบทวนให้เพิ่มความสำคัญด้านการติดเชื้อเอชไอวีและหยุดยั้งการระบาด

www.medi.co.th

  · รายงานปกขาวฉบับใหม่ซึ่งมีชื่อว่า HIV Care Continuum & Beyond: ยุคใหม่ของเอเชีย จัดทำขึ้นจากการศึกษาและทบทวนงานวิจัยอย่างรอบด้านในหลายภาษาจากประเทศและเขตปกครองหกแห่งในเอเชีย รวมถึงการปรึกษาหารืออย่างกว้างขวางกับชุมชนที่สำคัญ และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเป็นเวลา 12 เดือน โดยผลลัพธ์แสดงให้เห็นถึงการหวนกลับมาของจำนวนผู้ป่วยอย่างน่ากังวล และความขาดแคลนด้านการรักษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน


. ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน HIV Care Continuum & Beyond (HIVCCB) ได้เสนอคำแนะนำ 14 ข้อสำหรับประเทศและเขตปกครองต่าง ๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายหลักใน 4 ด้านได้แก่ 1) การประณามหยามเหยียดและการแบ่งแยกทางสังคม 2) การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี 3) การตรวจเชื้อ การวินิจฉัย และการรักษา 4) คุณภาพชีวิตของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี
· ในงานซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 3 ธันวาคมเพื่อเปิดตัวรายงานปกขาวฉบับนี้ คณะกรรมการดำเนินงานเรียกร้องให้ประเทศและเขตปกครองในเอเชีย นำหัวข้อของการติดเชื้อเอชไอวีกลับมาเป็นวาระสำคัญด้านสาธารณสุข และใช้ประโยชน์จากงานสำคัญที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข ชุมชนองค์กรและผู้กำหนดนโยบายกำลังดำเนินการอยู่ทั่วภูมิภาค

โครงการ HIV Care Continuum & Beyond (HIVCCB) ได้เปิดตัวบทวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์เชื้อเอชไอวีในปัจจุบันที่ถูกรอคอยมานาน โดยได้เปิดตัวขึ้นใน 6 ประเทศและเขตการปกครองในเอเชีย และเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ทันสมัยและมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง เพื่อหยุดยั้งการระบาดที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน
รายงานปกขาวซึ่งมีชื่อว่า HIV Care Continuum & Beyond: ยุคใหม่ของเอเชีย ที่ถูกเปิดตัวขึ้นในการประชุมออนไลน์ในวันที่ 3 ธันวาคม 2565 ได้สำรวจความพยายามของประเทศไทย จีน ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ในการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี ปรับปรุงการดูแลผู้ป่วย และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี
จากการทบทวนงานวิจัยอย่างรอบด้านในหลายภาษา และการหารือกับชุมชนและผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อเอชไอวีในหกประเทศและเขตการปกครองรายงานฉบับนี้ เปิดเผยให้เห็นถึงความเพิกเฉยที่มีมากขึ้นต่อสถานการณ์ และการจัดลำดับความสำคัญของการป้องกันเชื้อเอชไอวีที่ลดลง และในบางประเทศมีพัฒนาการด้านการยับยั้งเชื้อเอชไอวีที่ถดถอย
ในปีที่ผ่านมาเอเชียและแปซิฟิกมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ถึง 260,000 คน และข้อมูลจาก UNAIDS แสดงให้เห็นว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นในพื้นที่ที่เคยมีการปรับลดลง เช่น ฟิลิปปินส์และมาเลเซีย1 โดยมีประชากรทั้งสิ้นราว 6 ล้านคนที่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับเชื้อเอชไอวีในภูมิภาคนี้ ซึ่งจำนวน 1 ใน 3 ของทั้งหมดไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้2 ยิ่งไปกว่านั้นในพื้นที่ 7 ของ 20 ประเทศและเขตการปกครองในเอเชียและแปซิฟิกที่ถูกศึกษาในรายงานปกขาวกลับพบผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในกลุ่มเยาวชนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก3 และประชากรราว 1.4 ล้านคนในเอเชียที่ใช้ชีวิตอยู่กับเชื้อเอชไอวีมีอายุ 50 ปีขึ้นไป4
เพื่อรับมือกับความท้าทายนี้ คณะกรรมการดำเนินงาน HIVCCB ซึ่งมีสมาชิกเป็นผู้เชี่ยวชาญ 12 ท่าน จากสาขาคลินิกวิทยา นักวิจัย และผู้ทำงานด้านการรณรงค์ในเอเชีย ได้นำเสนอคำแนะนำหลัก 14 ข้อซึ่งตั้งเป้ารับมือกับความท้าทายหลัก 4 ด้าน ได้แก่ 1) การประณามหยามเหยียดและการแบ่งแยกทางสังคม 2) การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี 3) การตรวจเชื้อ การวินิจฉัย และการรักษา 4) คุณภาพชีวิตของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี
มิดไนท์ พูนเกษตรวัฒนา ผู้อำนวยการมูลนิธิแอ็พคอม ประธานร่วมคณะกรรมการดำเนินงาน HIVCCB กล่าวว่ารายงานปกขาวฉบับนี้เป็นผลพวงของการทำงานที่กินเวลาหลายเดือนโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพื่อคลี่คลายความซับซ้อนและอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ด้านเอชไอวีและการดูแลอย่างต่อเนื่อง และรายงานฉบับนี้ควรที่จะเป็นแรงกระตุ้นผลักดันให้ผู้วางนโยบาย บุคลากรทางการแพทย์ และองค์กรชุมชนให้มีความสนใจที่จะดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในฐานะประธานร่วม และคณะกรรมการ HIVCCB คุณมิดไนท์ กล่าวว่า “ผมมีความตื้นตันที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อเอชไอวีในเอเชีย ซึ่งได้ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับ HIVCCB ในการขับเคลื่อนความพยายามของเราไปสู่เป้าหมาย 95-95-95 และหยุดยั้งการระบาดของเชื้อเอชไอวีในภูมิภาคนี้”
“ที่สำคัญอย่างยิ่ง HIVCCB กำลังให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้านการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อแก้ปัญหาการประณามหยามเหยียดและการแบ่งแยกทางสังคม การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และคุณภาพชีวิตของประชากรที่ต้องมีชีวิตอยู่กับเชื้อเอชไอวีในสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องสำคัญในเอเชีย”
“โครงการนี้มีชุมชนเป็นหัวใจของการแก้ปัญหา ซึ่งรวมถึงบุคคลที่ต้องมีชีวิตอยู่กับเชื้อเอชไอวี และบุคคลทั่วไปที่เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการนี้”
“เราต้องการเจตจำนงทางการเมืองและการลงทุนในสังคม ซึ่งรวมถึง กลยุทธ์ในการต่อสู้กับความท้าทายด้านการประณามหยามเหยียดและการแบ่งแยกในสังคม โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง”