สปสช. หนุนใช้‘เครื่องล้างไตทางช่องท้องแบบอัตโนมัติ’เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังฯ

www.medi.co.th

สปสช. หนุนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายบำบัดทดแทนไตด้วย “เครื่องล้างไตทางช่องท้องอัตโนมัติ” ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลเหตุล้างไตเพียงวันละ1 ครั้งแถมทำในช่วงกลางคืนขณะนอนหลับได้พร้อมเสนอกองทุนรักษาพยาบาลอื่นเพิ่มเป็นสิทธิประโยชน์ทางเลือกเพื่อผู้ป่วย


นพ.ชุติเดชตาบ-องครักษ์ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เขต 4 สระบุรีกล่าวว่าปัจจุบันสถานการณ์ไตวายเรื้อรังในไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากข้อมูลโดยสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังประมาณร้อยละ 17.6 ของคนไทยที่ป่วยเป็นโรคไตทั้งหมดหรือราว8ล้านคนและในจำนวนนี้มี 80,000 คนที่เป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปีล่าสุดปี 2565 พบว่า 1 ใน 25 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงกลายเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรายใหม่ทำให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้พยายามผลักดันบริการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดผู้ป่วยรายใหม่ผ่านนโยบาย ‘ทศวรรษของการชะลอโรคไต’


ในส่วนของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องทำการบำบัดทดแทนไตนั้นปัจจุบันระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง30 บาทมี 4 รูปแบบคือ1. การล้างไตทางการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) 2. การล้างไตทางหน้าท้องแบบผู้ป่วยทำเอง (CAPD) ซึ่งจะมีรอบการล้างเฉลี่ย 3-4 รอบต่อวัน 3. การล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องล้างไตทางช่องท้องแบบอัตโนมัติ (APD) และ 4.การปลูกถ่ายไตซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดแต่สามารถปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยได้เพียง 600 รายต่อปีที่ผ่านมาผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีฟอกเลือดและการล้างไตผ่านทางหน้าท้อง


 

นพ.ชุติเดชกล่าวว่าการล้างไตผ่านช่องท้องด้วยเครื่องAPD เป็นวิธีใหม่ในระบบซึ่งในส่วนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ป่วยใช้เครื่อง APD เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้ชีวิตให้กับผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยซึ่งเครื่อง APD นี้เป็นการใช้ ‘กำลังของเครื่อง’ แทน ‘กำลังของคน’ ในการดันน้ำยาเข้าไปในช่องท้องของผู้ป่วยเพื่อแลกเปลี่ยนน้ำยาล้างไตกับของเสียจากร่างกายได้อย่างอัตโนมัติใช้เวลา8-10 ชั่วโมงต่อครั้งทำให้ระบายของเสียได้มากและยังทำช่วงกลางคืนขณะนอนหลับเพื่อความสะดวก


และถือเป็นข้อดีอย่างยิ่งของ APD คือการล้างไตเพียง 1 ครั้งต่อวันทำให้ผู้ป่วยออกไปใช้ชีวิตในช่วงเวลากลางวันได้อย่างปกติก่อเกิดความสะดวกในการใช้ชีวิตทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลแต่ทั้งนี้ผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครื่อง APD รวมถึงต้องดูความเหมาะสมที่จะใช้ด้วย


“เกณฑ์การวัดความเหมาะสมอายุรแพทย์โรคไตจะเป็นผู้ประเมินหากคนไข้มีกิจกรรมต้องทำช่วงกลางวันเช่นเรียนหนังสือหรือทำงานช่วงกลางวันรวมถึงที่ผู้ป่วยวัยทำงานที่เตรียมปลูกถ่ายไตคนไข้เหล่านี้จะเหมาะต่อการใช้เครื่อง APD แต่สิ่งสำคัญคือผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องเข้ารับการอบรมวิธีการใช้เครื่องก่อนเพื่อใช้เครื่องได้อย่างถูกวิธี”


นพ.ชุติเดชกล่าวว่าส่วนอัตราการรอดชีวิตจากข้อมูลสปสช. อัตราการรอดชีวิตภายใน10 ปีของแต่ละวิธีการบำบัดทดแทนไตพบว่าหากเปรียบเทียบระหว่างวิธีการฟอกเลือดและล้างไตผ่านทางหน้าท้องอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่างกันเล็กน้อยซึ่งไม่มีความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญแต่การใช้เครื่อง APDจะทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีกว่าวิธีอื่นรวมถึงความพอใจในการรักษา APDจะมีมากกว่า CAPD เนื่องจากมีความสะดวกสบายมากกว่าทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองไม่เป็นภาระกับครอบครัวนอกจากนี้ยังช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่อยู่บ้างกรณีที่เปรียบเทียบกับการฟอกเลือดแต่หากเป็นวิธีล้างไตผ่านหน้าท้องแบบ CAPD และ APD จะไม่มีผลต่อภาระงานเจ้าหน้าที่มากนักเพราะต่างเป็นการล้างไตโดยผู้ป่วยหรือผู้ดูแลเอง


“การจะเลือกบำบัดทดแทนไตแบบใดสิ่งที่อยากเห็นคือการตัดสินใจร่วมกันระหว่างแพทย์พยาบาลผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยโดยมีการให้ข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจและเมื่อได้เลือกวิธีบำบัดทดแทนไตแล้วสิ่งที่อยากเห็นคือผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงเช่นการฟอกเลือดที่ไม่ต้องรอคิวนานหากใช้เครื่อง APDก็ต้องเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกและมีเครื่องเพียงพอซึ่งปัจจุบันสามารถมั่นใจได้ว่ามีเครื่อง APD เตรียมพร้อมไว้สำหรับในปีหน้าแล้วสิ่งสำคัญคือผู้ป่วยที่ต้องล้างไตทางช่องท้องจะต้องมีทีมงานที่ไปเยี่ยมบ้านและดูแลอย่างต่อเนื่อง