อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย เป็นสิว ไมเกรน ติดเชื้อง่าย หรือบางคนเหนื่อยง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ ปัญหาเหล่านี้อาจส่งสัญญาณอันตรายต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย จนรบกวนคุณภาพชีวิต จากการรับประทานอาหาร รู้เท่าทันและป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) จากการตรวจปฏิกิริยาของร่างกายด้วย Immunoglobulin G4 ต่ออาหาร 232 ชนิด เพื่อสร้างความมั่นใจต่อการรับประทานอาหารที่คุณเลือก
แพทย์หญิงสร้อยเพชร ประเทืองเศรษฐ์ ผู้อำนวยการคลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก (BDMS Wellness Clinic) กล่าวว่า โรคภูมิแพ้อาหารเป็นกลุ่มโรคระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ต่อต้านอาหารบางชนิดมากผิดปกติ ส่งผลต่อกระเพาะอาหาร ลำไส้ตั้งแต่ในระดับเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง และจะมีอาการแพ้หลายแบบเช่น การแพ้แบบเฉียบพลัน (Food Allergy) ที่จะแสดงอาการให้เห็นทันทีหลังรับประทานอาหารในบางกรณีอาจแพ้ขั้นรุนแรงเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่สิ่งที่เจอได้บ่อยกว่านั้นคือ การแพ้อาหารแบบแฝง (Food Intolerance) จะเกิดขึ้นหลังจากการรับประทานอาหารชนิดเดิมอย่างซ้ำๆ จนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าใจว่า อาหารนั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม ซึ่งอาการจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล และไม่แสดงอาการในทันที จะเกิดหลังรับประทานอาหารที่แพ้แล้วหลายวัน ทำให้สังเกตได้ยากและไม่สามารถระบุชนิดอาหารที่แพ้ได้
อาการที่เกิดขึ้นนั้นจะมีความหลากหลาย เรื้อรัง ไม่รุนแรง แต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เนื่องจากสภาพร่างกายของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน ทำให้มีอาการแพ้สิ่งต่างๆ มีความแตกต่างกันไป อาการที่บ่งบอกว่าแพ้อาหารแบบแอบแฝง (IgG4)และทำให้ไม่สามารถระบุชนิดอาหารที่แพ้ได้ เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง คัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง ผื่นลมพิษเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ ท้องเสีย ลำไส้ระคายเคือง ลำไส้อักเสบ ท้องผูก ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง น้ำหนักขึ้นง่าย หรือ ผู้ที่มีปัญหาลดน้ำหนักยาก ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้หากเรายังรับประทานอาหารตัวที่ก่อให้เกิดปฎิกริยานี้สะสมต่อเนื่องก็อาจก่อให้เกิดปัญหา ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือแม้แต่เกิดการรบกวนระบบประสาทและความจำ เช่น ภาวะสมาธิสั้น ไมเกรน เป็นต้น
สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจหาสาเหตุภูมิแพ้อาหารแบบแฝงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างตรงจุดนั้น การตรวจภูมิแพ้อาหารแบบแฝงกว่า 232 ชนิด จะเป็นการช่วยวินิจฉัยของแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของอาการแพ้ นอกเหนือจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายเพียงอย่างเดียว ทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยงอาการแพ้อาหารแบบแอบแฝง ซึ่งการตรวจนั้นจะตรวจจากเลือดเพื่อดูภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า IgG4
การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงควรเตรียมตัวอย่างไร ?
- ก่อนวันตรวจสุขภาพควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ควรสวมเสื้อที่ถอดง่าย สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
- ควรงดยาสเตียรอยด์ก่อนการตรวจ 1 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน ขึ้นอยู่กับตัวยา แต่ไม่ควรหยุดรับประทานยาสเตียรอยด์ทันที ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อความปลอดภัย
- ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร
- ไม่จำเป็นต้องงดยาแก้แพ้จำพวกแอนตี้ฮิสทามีน (Antihistamine) ก่อนการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง