เฮลีออน ในประเทศไทย (Haleon in Thailand) ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพระดับโลก เดินหน้าตอกย้ำพันธกิจในการส่งมอบสุขภาพที่ดีขึ้นในทุก ๆ วันสำหรับทุกคน สานต่อแนวคิด #EveryMouthMatters ผ่านแคมเปญ “เพราะรอยยิ้มไม่ควรต้องรอ ความสุขก็เช่นกัน” (Smiles Can’t Wait) ในประเทศไทย ผสานความร่วมมืออย่างแข็งแกร่งจากทั้งภาครัฐและเอกชนดันเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูญเสียฟันที่ไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายจากการทำฟันเทียม ให้มีโอกาสเข้าถึงบริการฟันเทียมได้มากขึ้น พร้อมลดผลกระทบทางสุขภาพกายใจ รวมทั้งด้านอารมณ์จากการสูญเสียฟัน เพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจแบบองค์รวม
นางสาว สุวรรณา ร่วมสนิทวงศ์ ผู้จัดการการตลาดอาวุโส กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ เฮลีออน ในประเทศไทยกล่าวถึงแคมเปญ Smiles Can’t Wait ว่า “หลังการประกาศเจตนารมย์ของเฮลีออน ในประเทศไทย ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยการยกระดับการดูแลสุขภาพของผู้คนในทุก ๆ วัน โดยเฉพาะสุขภาพของช่องปากและฟันให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น วันนี้เฮลีออน ใน ประเทศไทย ได้ส่งมอบฟันเทียมจำนวน 1,000 ชุดให้แก่ผู้สูงวัยภายใต้ความร่วมมือกับ โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กองทันตกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมร้านขายยาแห่งประเทศไทย โดยแคมเปญนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากประชาชน ซึ่งทำให้เราได้รับเงินบริจาครวมกว่า 1 ล้านบาทหลังการเริ่มเปิดรับบริจาคในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ เดือนเมษายนที่ผ่านมาเพียงเดือนเดียว ซึ่งผลตอบรับที่ล้นหลามจากโครงการเฟสแรกนี้ ทำให้เรามั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการต่อยอดโครงการเฟส 2 ได้ต่อไป ด้วยน้ำใจของคนไทยที่ต้องการส่งมอบรอยยิ้ม ความสุขแก่ผู้สูงวัยซึ่งเป็นที่เคารพรักในสังคมไทย และ เฮลีออน ในประเทศไทย ในฐานะตัวแทนผู้ยึดมั่นในเจตนารมย์ ร่วมกับน้ำใจของคนไทยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยอย่างต่อเนื่องตลอดปี”
ในนามของบริษัทฯ พันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน และตัวแทนผู้สูงอายุ ขอขอบคุณทุกท่านที่เล็งเห็นถึงปัญหาและพร้อมร่วมมือ ให้กำลังใจเป็นแรงผลักดันหลักในการดูแลผู้สูงวัยอย่างเข้าใจ ด้วยการช่วยเหลือให้คนไทยสามารถเข้าถึงฟันเทียมได้เร็วขึ้น มากขึ้น เพื่อสร้างสรรค์ ‘สังคมที่ผู้คนทุกเพศทุกวัยมีสุขภาพพลานามัยที่ดีอย่างเท่าเทียม’ ได้อย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับพันธกิจของเฮลีออน ในการยกระดับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้คนทั่วโลกภายใต้แนวคิด #EveryMouthMatters
สำหรับเป้าหมายและความท้าทายในปี 2566 นี้ เฮลีออน ในประเทศไทยจะเดินหน้าร่วมกับโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่งข้างต้น สมาคมร้านขายยาแห่งประเทศไทย ร้านค้า และพันธมิตรสื่อสารมวลชน เพื่อสื่อสารความสำคัญทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพราะการสูญเสียฟันไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องพลาดการได้ใช้ชีวิตที่ดี ฟันเทียมจากโครงการความร่วมมือจากทุกฝ่าย จะทำให้ผู้สูงวัยได้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขและรอยยิ้มที่สดใสอีกครั้งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพของคนไทยให้ดีขึ้นในทุก ๆ วัน
รศ.ทพ.ดร.นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมแบ่งปันมุมมองในการรักษาคนไข้ว่า “ในแต่ละปีผู้สูงอายุระหว่าง 60-74 ปี และ 80-85 ปี ในประเทศไทยเข้าถึงชุดฟันเทียมเพียงร้อยละ 28 เท่านั้น โดยหนึ่งในข้อจำกัดหลักคือค่าใช้จ่ายในการทำฟันเทียม จากการที่ได้ใกล้ชิดกับคนไข้ พบว่านอกจากปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิต และความมั่นใจแล้ว ปัญหาส่วนมากที่คนไข้ประสบคือ ภาวะกลืนอาหารลำบาก อันเนื่องมาจากกลไกของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืนลดลง เพราะเมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อ ระบบอวัยวะต่างๆ ก็จะเสื่อมลง ทั้งการทำหน้าที่การทำงานของช่องปาก คอหอย กล่องเสียง หลอดอาหาร และกลไกของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่ไม่มีฟัน ทำให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ยิ่งกลืนยาก โดยที่อาหารเหลือค้างในปากจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อก่อโรคอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงสำลักอาหารเข้าสู่ทางเดินหายใจได้จึงเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุ ทั้งยังเสี่ยงติดคอ และส่งผลต่อระบบการย่อยอาหาร ทำให้อาหารไม่ย่อย เกิดกรดไหลย้อนได้อีกด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีปัญหาอื่นตามมาเมื่อไม่มีฟันมากกว่าที่คิด”
ทพ.วิศรุตม์ ประวัติวัชรา คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุมีความสำคัญ เพราะนอกจากภายในช่องปากจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในทางกายภาพของผู้สูงวัยโดยตรงแล้ว ยังส่งผลกระทบด้านจิตใจ โดยจะลดทอนความมั่นใจและความสุขในการใช้ชีวิตลงอย่างมาก ลูกหลานหรือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ จึงควรหมั่นสังเกต และพาผู้สูงวัยไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพในช่องปากและดูแลรักษาฟันอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนดูแลเรื่องการเลือกชนิดของฟันปลอม การสวมใส่และการดูแลรักษาชุดฟันปลอมของผู้สูงอายุในบ้าน
เนื่องจากผู้สูงอายุที่ใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ที่ไม่พอดี จะทำให้เกิดความเจ็บปวดและความรู้สึกไม่สบายในช่องปากได้ ฟันเทียมที่ไม่พอดี จะก่อให้เกิดการเสียดสีกับเหงือก ทำให้เกิดอาการเจ็บเวลาใช้งานและอาจพบแผลบริเวณที่ใส่ฟันปลอมได้ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา ปัญหาจะรุนแรงขึ้นและอาจส่งผลต่อการรับประทานอาหาร ขณะเดียวกันสำหรับผู้สูงอายุที่มีการใช้งานฟันปลอมชนิดถอดได้มานานหลายปี อาจพบว่าฟันปลอมที่เคยพอดีกลับหลวม ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสรีระตามธรรมชาติของเหงือกและขากรรไกร ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการไม่พอดีของฟันปลอม ดังนั้น การใส่ฟันปลอมของผู้สูงวัยจึงต้องมีการสังเกตและดูแลอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้มีการแก้ไข และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในช่องปากตามมา นอกจากนี้ฟันปลอมที่เก่าและมีสภาพไม่ดี อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปากได้อีกด้วย"
กล่าวได้ว่าปัญหาต่างๆ ในช่องปากของผู้สูงอายุ อาจส่งผลกระทบหลายอย่างต่อตัวผู้สูงอายุเองทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงหากมีการสูญเสียฟันเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลให้ความสูงของใบหน้าลดลงเนื่องจากไม่มีฟันมารองรับ ทำให้ใบหน้าเหี่ยวย่น เกิดการพูดไม่ชัด และอาจทำให้เกิดความกังวลในการเข้าสังคม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สูงอายุและลูกหลาน หรือผู้ดูแลควรหมั่นคอยสังเกตอาการในช่องปาก และไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจช่องปากและดูแลรักษาฟันอย่างสม่ำเสมอ หากเกิดความผิดปกติในช่องปาก เช่น ฟันเทียมไม่พอดี มีแผล ก้อนบวมในช่องปาก มีความลำบากในการเคี้ยวหรือกลืน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่ทันท่วงที
ทพ.วิศรุตม์ ประวัติวัชรา คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุมีความสำคัญ เพราะนอกจากภายในช่องปากจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในทางกายภาพของผู้สูงวัยโดยตรงแล้ว ยังส่งผลกระทบด้านจิตใจ โดยจะลดทอนความมั่นใจและความสุขในการใช้ชีวิตลงอย่างมาก ลูกหลานหรือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ จึงควรหมั่นสังเกต และพาผู้สูงวัยไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพในช่องปากและดูแลรักษาฟันอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนดูแลเรื่องการเลือกชนิดของฟันปลอม การสวมใส่และการดูแลรักษาชุดฟันปลอมของผู้สูงอายุในบ้าน
เนื่องจากผู้สูงอายุที่ใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ที่ไม่พอดี จะทำให้เกิดความเจ็บปวดและความรู้สึกไม่สบายในช่องปากได้ ฟันเทียมที่ไม่พอดี จะก่อให้เกิดการเสียดสีกับเหงือก ทำให้เกิดอาการเจ็บเวลาใช้งานและอาจพบแผลบริเวณที่ใส่ฟันปลอมได้ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา ปัญหาจะรุนแรงขึ้นและอาจส่งผลต่อการรับประทานอาหาร ขณะเดียวกันสำหรับผู้สูงอายุที่มีการใช้งานฟันปลอมชนิดถอดได้มานานหลายปี อาจพบว่าฟันปลอมที่เคยพอดีกลับหลวม ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสรีระตามธรรมชาติของเหงือกและขากรรไกร ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการไม่พอดีของฟันปลอม ดังนั้น การใส่ฟันปลอมของผู้สูงวัยจึงต้องมีการสังเกตและดูแลอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้มีการแก้ไข และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในช่องปากตามมา นอกจากนี้ฟันปลอมที่เก่าและมีสภาพไม่ดี อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปากได้อีกด้วย"
กล่าวได้ว่าปัญหาต่างๆ ในช่องปากของผู้สูงอายุ อาจส่งผลกระทบหลายอย่างต่อตัวผู้สูงอายุเองทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงหากมีการสูญเสียฟันเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลให้ความสูงของใบหน้าลดลงเนื่องจากไม่มีฟันมารองรับ ทำให้ใบหน้าเหี่ยวย่น เกิดการพูดไม่ชัด และอาจทำให้เกิดความกังวลในการเข้าสังคม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สูงอายุและลูกหลาน หรือผู้ดูแลควรหมั่นคอยสังเกตอาการในช่องปาก และไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจช่องปากและดูแลรักษาฟันอย่างสม่ำเสมอ หากเกิดความผิดปกติในช่องปาก เช่น ฟันเทียมไม่พอดี มีแผล ก้อนบวมในช่องปาก มีความลำบากในการเคี้ยวหรือกลืน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่ทันท่วงที
ด้าน นาง ปัญจมาพร รุจิสนธิ อายุ 55 ปี หนึ่งในคนไข้จำนวน 1,000 คนที่ได้รับชุดฟันเทียมจากเฮลีออน ในประเทศไทย กล่าวว่า “ ประสบปัญหาการสูญเสียฟันจากโรคปริทันต์อักเสบหรือโรครำมะนาดมากว่า 8 ปีแล้ว อาการเริ่มแรกคือมีเลือดออกขณะแปรงฟัน เหงือกบวมและร่น ฟันโยกและเคลื่อนห่างออกจากกัน จนต้องสูญเสียฟันทั้งปาก การเสียฟัน ทำให้เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด อาหารไม่ย่อย เกิดภาวะท้องอืดอยู่ตลอดเวลา และยังส่งผลทำให้เราไม่มั่นใจเวลาพูดคุยกับผู้อื่นด้วย หนักเข้าเลยรู้สึกท้อและไม่อยากพูดคุยกับใคร การที่มีโครงการ ‘เพราะรอยยิ้ม ไม่ควรต้องรอ’ ครั้งนี้ ทำให้กลับมามีความสุขอีกครั้ง มีความสุขกับการได้เคี้ยวอาหารจานโปรดหลังจากไม่ได้กินอย่างมีความสุขมานานแล้ว เมื่อได้รับชุดฟันเทียมมา รู้สึกดีใจมาก คิดว่าจะสามารถกลับไปมีช่วงเวลาที่ดีได้แบบเดิม สำหรับตอนที่ได้ลองใส่ชุดฟันเทียมยอมรับว่าไม่ค่อยถนัดเวลาใส่เข้าและถอดออก เพราะยังไม่ชิน ส่วนตัวใช้เวลาในการปรับตัวราว 10 วันก็รู้สึกใส่สบายและคุ้นชินมากขึ้นโดยได้คุณหมอมาช่วยปรับให้พอดีกับช่องปาก และใช้ครีมติดฟันเทียมช่วยในการปรับตัวเข้ากับฟันเทียม จนทุกวันนี้สามารถใช้งานฟันเทียมได้ไม่แพ้ฟันจริง เลยทำให้ทุกวันนี้ยิ้มบ่อยขึ้นเพราะมีความสุขและความมั่นใจที่จะยิ้มทักทายกับผู้คน รู้สึกดีใจกับโอกาสที่ได้รับและอยากจะเชิญชวนคนที่ประสบปัญหาเดียวกันให้ได้ใส่ชุดฟันเทียม เพราะจะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นมาก ส่วนตัวอยากพาคุณแม่มาทำด้วย เพราะคุณแม่ก็ไม่มีฟันเช่นกัน และอยากบอกต่อในกลุ่มเพื่อนๆ ที่ประสบปัญหาแบบเดียวกันค่ะ”