กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมวิจัยมหาวิทยาลัยโอซาก้า และ BIKEN foundation เน้นพัฒนาบุคลากรให้พร้อมรับโรคติดเชื้ออันตรายร้ายแรง ใช้เทคโนโลยีจีโนม เพื่อพัฒนาวัคซีน

www.medi.co.th

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  พร้อมด้วย นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์สุรัคเมธ มหาศิริมงคล ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะ เข้าเยี่ยมและปรึกษาหารือความร่วมมือทางวิชาการ ณ Research Institute for Microbial Diseasesมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โดยพบศาสตราจารย์นายแพทย์ โนบุยูคิ ทาคาคุระ ผู้อำนวยการ Research Institute for Microbial Diseases และศาสตราจารย์นายแพทย์โคจิ ยามานิชิ ผู้อำนวยการ BIKEN foundation
ระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน 2566


นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ได้มีความร่วมมือ                          ทางวิชาการ ตั้งแต่ปี 2548 เป็นระยะเวลา 18 ปี ซึ่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า ได้มาตั้งหน่วย Research Collaboration Center           on Emerging and Re-emerging Infections ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อการทำวิจัย การแลกเปลี่ยนนักวิจัย                  พัฒนาบุคลากร และสร้างผลงานวิชาการด้านโรคติดเชื้อร่วมกัน


ระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ได้เข้าพบกับนักวิชาการ 8 ทีม เพื่อปรึกษาประเด็นวิจัย ด้าน ลาสสาไวรัส (Lassa virus)  โรทาไวรัส (Rota virus)  ไวรัสเดงกี (Dengue fever) โรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxsplasmosis) โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) และการดำเนินการให้บริการศูนย์ทรัพยากรชีวภาพ (Bio resource center) เพื่อกระจายเชื้อโรคสำหรับการวิจัยและพัฒนายาและวัคซีน หรือภาคอุตสาหกรรม ปรึกษาหารือกับ BIKEN foundation สามารถร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรสำหรับการวิจัยพื้นฐานสำหรับการพัฒนาวัคซีน โดยประเทศไทยสามารถส่งนักวิจัยมาฝึกอบรมโดย Tanigushi scholarships ของ BIKEN foundation

“ในการเยี่ยมและปรึกษาหารือครั้งนี้ เพื่อขยายขอบข่ายของความร่วมมือทางด้านงานวิจัยทางด้านโรคติดเชื้อ                 การแพทย์จีโนมิกส์ และด้านวัคซีนเพิ่มขึ้น ซึ่งขอบข่ายงานด้านดังกล่าวสามารถเพิ่มและขยายศักยภาพในการทำวิจัยร่วมกันระหว่างสองหน่วยงานได้ ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าว ผ่านโครงสร้างและหน่วยงานต่างๆ ที่มี เช่น ศูนย์ทรัพยากรชีวภาพ และศูนย์อบรมเพื่อความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (DMSc TEMS) นอกจากนี้ทั้งสองหน่วยงานมีแผนขยายความร่วมมือภายใต้การดำเนินการด้าน ASEAN campus ของมหาวิทยาลัยโอซาก้า เพื่อต่อยอดแผนงานด้านการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของหน่วยงานในการศึกษาต่อ และฝึกอบรมองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ทันสมัย” นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวทิ้งท้าย