กรมสุขภาพจิตเข้าร่วมเสวนางาน “เรียนออนไลน์อย่างไร ให้สุขภาพจิตดี” ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการนำเสนอผลการติดตามนักเรียนผ่านระบบ School Health HERO เบื้องต้นพบสัญญาณเสี่ยงด้านพฤติกรรม อารมณ์ ทักษะสังคม กว่าร้อยละ 11.32 ของนักเรียน กรมสุขภาพจิตและ สพฐ จึงเดินหน้าผลักดันให้ครูทั่วประเทศเกิดความร่วมมือในการเฝ้าระวังปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และทักษะสังคมของนักเรียนหากพบสัญญาณเสี่ยง สามารถขอคำปรึกษาและส่งต่อเพื่อรับการช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ที่มากขึ้น ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละครอบครัวเป็นอย่างมาก หลายครอบครัวต้องประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจมีรายได้ที่ลดลง มีการต้องเว้นระยะห่างทางสังคมหรือแยกกันอยู่ในครอบครัวจากความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือมีปัญหาในการปรับตัวต่อการทำงานหรือการเรียนที่เปลี่ยนแปลงไป ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนซึ่งอาจยังไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอต่อความไม่แน่นอนของชีวิตเท่ากับผู้ใหญ่ เด็กและเยาวชนจำนวนมากยังขาดทักษะที่จำเป็นหลายอย่างในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤติเช่นนี้ยิ่งไปกว่านั้นการเรียนออนไลน์ที่สถานศึกษาจัดให้นักเรียนในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นสิ่งที่แปลกใหม่และมีข้อจำกัดมากมาย สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของทั้งผู้สอนและผู้เรียนได้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิตอยู่เดิม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ใหญ่ในครอบครัวสามารถเป็นแหล่งที่พึ่งทางใจให้เด็กที่กำลังประสบปัญหาได้ โดยช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและปลอบประโลมใจให้พวกเขาในสถานการณ์เช่นนี้
กรมสุขภาพจิตได้ติดตามผลการนำ“ระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่บนระบบดิจิทัล” หรือ “School Health HERO” มาใช้ในสถานศึกษา พบว่า ในปีการศึกษา 2563 นักเรียนที่ผ่านการเฝ้าระวังด้วยเครื่องมือสังเกตอาการ 9S (ประกอบด้วยข้อคำถามเพื่อสำรวจอาการ ซนเกินไป ใจลอย รอคอยไม่ได้ เศร้า เครียด/หงุดหงิดง่าย ท้อแท้เบื่อหน่าย ไม่อยากไปโรงเรียน ถูกเพื่อนแกล้ง แกล้งเพื่อนและไม่มีเพื่อน) บน School Health HERO ในเด็กจำนวน 62,213
กรมสุขภาพจิตจับมือ สพฐ เฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตในนักเรียน ผ่านระบบ School Health HERO ชี้หากเรียนออนไลน์ด้วยความไม่พร้อมอาจเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น
กรมสุขภาพจิต