“วิสัยทัศน์” (Vision) ไม่อาจเกิดขึ้นจริงได้ หากไม่มีขับเคลื่อนสู่ “การปฏิบัติ” (Action) วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อการขับเคลื่อนสู่การบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยืน (SDGs) ในปี พ.ศ. 2567 จึงรอช้าไม่ได้ที่จะทำให้ “SDGs เป็นเรื่องของทุกคน”
ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ผ่านมา ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถใช้เป็นศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยได้ปีละเกือบ 8 ล้านราย และเชื่อมั่นว่าด้วยผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลปีละกว่า 4,000 เรื่อง ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ปีละ 2,500 เรื่องที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม ไปในทิศทางของการมุ่งประโยชน์สู่ส่วนรวม พร้อมเป็นส่วนหนึ่งขับเคลื่อนประเทศไทยบรรลุเป้าหมายระดับโลก
ด้วยผลงานการดำเนินงานที่ผ่านมา ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับความยั่งยืนเป็นที่ 43 ของโลก อันดับที่ 3 ของเอเชีย และอันดับที่ 1 ของอาเซียน โดย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดอันดับที่ 38 โลก ใน Impact Ranking 2023
โดยยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนใน 4 ปีข้างหน้า จะยังคงเน้นที่การวิจัยและนวัตกรรม การศึกษา การมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคม และด้านการบริหารจัดการ และฝากความหวังไว้ที่คนรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงสังคม (Change Agent) ให้เกิดความยั่งยืน โดยปลูกฝังให้เกิดความเข้าใจ ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้เพื่อการทำประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาติ และสังคมโลก โดยทำให้ SDGs กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
เพียงมหาวิทยาลัยมหิดลสถาบันเดียวไม่อาจทำให้ SDGs โลกบรรลุเป้าหมายได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย มหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมเป็นผู้นำวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ ให้เป็นพลังแห่งความรับผิดชอบต่ออนาคตโลก
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th
ภาพจาก กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานอธิการยดี มหาวิทยาลัยมหิดล
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิตินวตาร ดิถีการุณ นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210