วิศวะมหิดล-เจแอลเค ออโตเมชั่น จับมือ พัฒนาผลิตภัณฑ์การแพทย์ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ มาตรฐานเทียบเคียงสากล มุ่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ

www medi.co.th

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเจแอลเค ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ เพื่อดำเนินงานพัฒนา สนับสนุน ส่งเสริม นวัตกรรมทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์การแพทย์ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ และระบบอัตโนมัติ ให้ได้มาตรฐานเทียบเคียงกับสากล และจัดจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับประเทศไทยทั้งในด้านนวัตกรรม การรักษา การพัฒนาบริการสาธารณสุข การต่อยอดองค์ความรู้เพื่อคิดค้นและวิจัยเทคโนโลยีอุปกรณ์ทางการแพทย์ และความพร้อมของบุคคลากรที่ตรงกับความต้องการของประเทศและภูมิภาค และอีกหลายโครงการที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ นายธีรพงษ์ กงสบุตร ผู้จัดการทั่วไป บริษัทเจแอลเค ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) ณ ห้องประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยมีบุคลากรและองค์กรด้านการแพทย์และสุขภาพของไทยเข้าร่วมงาน

รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ห้องปฏิบัติการวิจัยภาพ ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์” ตั้งอยู่ ณ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์สร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์การแพทย์ โดยการผนึกความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัทเจแอลเค ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) มีขอบข่ายความร่วมมือ ในด้าน R&D Development โดยร่วมกันส่งเสริม วิจัยพัฒนา นําไปสู่การสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ เทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์การแพทย์ ให้ได้มาตรฐานเทียบเคียงกับสากล เพื่อการผลิตและจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรมในประเทศและต่างประเทศต่อไป ทั้งนี้ “ห้องปฏิบัติการวิจัยภาพ ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์” จะนำร่องด้วย ‘หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานเภสัชกรปัญญาประดิษฐ์ เพื่อการสั่งจ่ายยาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย’ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการดูแลและรักษาสุขภาพของผู้ป่วย ในระบบการจัดการด้านยา กระบวนการดำเนินงานบริการจ่ายยาผู้ป่วย เพื่อลดอุบัติการณ์และระดับความรุนแรงที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนทางยาลงได้ ทั้งนี้ ‘มหาวิทยาลัยมหิดลจะเป็นต้นแบบในการนำหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานเภสัชกรปัญญาประดิษฐ์ให้กับประเทศ" โดยเน้นถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย ลดความคลาดเคลื่อนทางยา ลดระยะเวลารอคอยยาของผู้ป่วย ลดการทำงานซํ้าซ้อน อำนวยความสะดวกทั้งแก่บุคลากรผู้ให้บริการและสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ประชาชนที่มารับบริการ

นายธีรพงษ์ กงสบุตร ผู้จัดการทั่วไป บริษัทเจแอลเค ออโตเมชั่น (ประเทศไทย)เปิดเผยว่า “บริษัทเจแอลเค ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) มีความยินดีที่ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภายใต้โครงการความร่วมมือในการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ และร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์การแพทย์ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ มาตรฐานเทียบเคียงสากล ซึ่งเจแอลเค มีประสบการณ์ ความรู้ และความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการด้านการผลิตเพื่อตอบโจทย์ทางอุตสาหกรรมที่หลากหลาย   


เจแอลเค มีเครือกระจายอยู่ในหลายประเทศ (ไทย สิงคโปร์ จีน อินเดีย และเวียดนาม) ทำให้สามารถรวบรวมและขอข้อมูลความต้องการของแต่ละประเทศได้หลากหลาย อีกทั้งเจแอลเค ได้รับความไว้วางใจถึงศักยภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีขายในตลาด ทำให้มีประสบการณ์และความได้เปรียบในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ต่อลูกค้า โดยสามารถแจกแจงจุดเด่น ได้ดังนี้


1. เจแอลเค ได้รับมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพสำหรับเครื่องมือแพทย์ (ISO13485)


2. เจแอลเค มีใบรับรองการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ China Food and Drug Administration (CFDA)


3. เจแอลเค มีประสบการณ์ ความรู้ และความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ Rehabilitation, Patient Monitoring, Compound medicine, Robotics และ TeleHealth

ภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชนอย่างเข้มแข็ง (Public-Private Partnership) ผ่านสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างมหาวิทยาลัยมหิดล จะขับเคลื่อนผู้ให้บริการด้านสุขภาพในทุกภาคส่วนอย่างมีพลังอาทิเช่นส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์การแพทย์ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ ให้ได้มาตรฐานเทียบเคียงกับสากล ซึ่งล้วนถือเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาของระบบสาธารณสุขของประเทศไทยให้อยู่ในระดับสากล ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมเครื่องตรวจสอบความถูกต้องของยา เครื่องประเมินความเสี่ยงจากโรคลมร้อน และอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์อื่น ๆ ในอนาคต