โรคมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงทั่วโลก จากสถิติขององค์การอนามัยโลก มีผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมกว่า 2 ล้านคนต่อปี และเสียชีวิตกว่า 685,000 รายทั่วโลก ขณะที่ ข้อมูลจากกรมการแพทย์ สถานบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า มีผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านม 18,000 คนต่อปี หรือคิดเป็น 49 คนต่อวัน และเสียชีวิต 4,800 คนต่อปี หรือ 13 รายต่อวัน โดยจำนวนของผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี
“มะเร็งเต้านม” จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งมีโอกาสหาย ศูนย์เต้านม บำรุงราษฎร์ แนะผู้ป่วยรับการวินิจฉัยเร็ว-รักษาเร็ว-ผลลัพธ์ปลอดภัย ปลอดภัย พร้อมดูแล
ถ้าพูดถึงโรคมะเร็งเต้านม หลายๆ คนคงทราบแล้วว่า มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงทั่วโลก และไม่ใช่พบแค่ผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังพบได้ในผู้ชายประมาณ 0.5-1% อีกด้วย จะเห็นได้ว่ามะเร็งเต้านมไม่เลือกเพศ ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้
ปัจจุบัน ปัญหาเกี่ยวกับเต้านมเป็นปัญหาของผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นก้อนเนื้อที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรงหรือถุงน้ำที่เต้านม ไปจนถึงก้อนเนื้อที่เป็นมะเร็ง โดย รศ. นพ. วิชัย วาสนสิริ หัวหน้าศูนย์เต้านม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า มะเร็งเต้านมเกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมจนไม่สามารถควบคุมได้ จนทำให้เกิดก้อนในเต้านมหรือมะเร็งเต้านม และอันตรายจากมะเร็งเต้านมหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มะเร็งจะแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลือง เช่น ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ หรือลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูกจนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด
นอกจากนี้ยังพบว่า มะเร็งเต้านมจะพบได้มากขึ้นในผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เพราะฉะนั้นผู้หญิงทุกคนควรหมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ หรือคอยสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการคลำพบก้อนที่เต้านม มีก้อนหนาๆ ในเต้านมหรือใต้แขน ผิวหนังบริเวณเต้านมมีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีรอยบุ๋ม ย่น หดตัวหรือหนาขึ้นผิดปกติ มีผื่นแดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม หัวนมมีการหดตัว บุ๋ม คัน มีผื่นแดงผิดปกติ มีแผล หรือมีน้ำเหลือง เลือด หรือของเหลวไหลออกมา รวมถึงอาการปวดบริเวณเต้านม ซึ่งหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณของอาการมะเร็งเต้านม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที แต่หลายๆ ครั้งก็พบว่า ผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติอะไร กว่าจะตรวจพบก็เข้าสู่ระยะ 2-3 แล้ว ฉะนั้น แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยผู้หญิงที่อายุไม่เกิน 35 ปี แนะนำให้ตรวจเต้านมด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ และผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปี แนะนำให้ตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปี เพราะหากตรวจได้เร็วก็จะรักษาได้ง่ายและมีโอกาสหายได้มากยิ่งขึ้น
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เผยว่า หัวใจหลักที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นหรือไม่เป็นมะเร็ง คือการตรวจคัดกรอง ส่งชิ้นเนื้อ และพบศัลยแพทย์เต้านม ซึ่งผู้ป่วยสามารถทราบผลตรวจวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วภายใน 72 ชั่วโมง โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์นั้นมี 3 วิธี ได้แก่
1.การตรวจคลำเต้านมโดยแพทย์ซึ่งเป็นการตรวจเบื้องต้น
2.การตรวจด้วยดิจิทัลแมมโมแกรม
3.การตรวจอัลตราซาวนด์
อธิบายเพิ่มเติมว่า การตรวจดิจิทัลแมมโมแกรมก็คือ กระบวนการตรวจโดยใช้เอกซเรย์พลังงานต่ำถ่ายภาพของเต้านม ซึ่งภาพที่ได้จะมีความละเอียดสูงและคมชัดมาก ทำให้สามารถตรวจพบหินปูนหรือเนื้อเยื่อที่ผิดปกติหรือรอยโรคขนาดเล็กได้ และระบุตำแหน่งและค้นหาความผิดปกติได้อย่างแม่นยำ สามารถตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งเป็นวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุดในปัจจุบัน เพราะจะทำให้มีโอกาสรักษาหายขาดสูง
นอกจากนี้ยังมีการตรวจด้วยอัลตราซาวนด์โดยเป็นการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านเข้าไปในเนื้อเตานม เมื่อคลื่นเสียงไปตกกระทบตามเนื้อเยื่อต่างๆจะสะท้อนกลับขึ้นมาที่เครื่องตรวจทำให้สามารถแยกองค์ประกอบของเนื้อเยื่อได้ว่าส่วนใดเป็นเนื้อเยื่อปกติ ส่วนใดผิดปกติ
ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ตระหนักถึงปัญหามะเร็งเต้านมและมุ่งมั่นที่จะรักษาผู้ที่มีอาการหรือมีความผิดปกติของเต้านมอย่างครบวงจร ตั้งแต่ให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และดูแลรักษาทุกปัญหาที่เกี่ยวกับเต้านม ไม่ว่าจะเป็นอาการเล็กน้อย อาการเจ็บเต้านม ภาวะเต้านมอักเสบ พังผืดและถุงน้ำที่เต้านม ไปจนถึงก้อนที่เต้านมและมะเร็งเต้านม โดยยึดมั่น 3 หัวใจสำคัญในการรักษา ได้แก่
1.Fast Diagnosis วินิจฉัยเร็ว ทราบผลตรวจวินิจฉัยภายใน 72 ว่าเป็นหรือไม่เป็นมะเร็ง นับตั้งแต่การตรวจคัดกรอง ส่งเจาะชิ้นเนื้อ และพบศัลยศาสตร์แพทย์เต้านม
2.Fast Treatment รักษาเร็ว วางแผนการรักษาให้ทันท่วงที รวมถึงเข้ารับการผ่าตัดได้ภายใน 1 สัปดาห์ การตรวจเจอมะเร็งในระยะเริ่มต้นและรักษาได้เร็ว จะทำให้การรักษาได้ผลดี และเพิ่มโอกาสรอดชีวิต
3.Excellent Outcome ผลลัพธ์การรักษา และความปลอดภัย อัตราการรอดชีวิตสูง อัตราการกลับมาเป็นซ้ำต่ำ ซึ่งทางรพ.เผยว่า ใน2566 ที่ผ่านมา ทางรพ.มีสถิติตัวชี้วัดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่รพ.บำรุงราษฎร์
-โอกาสติดเชื้อหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านมต่ำ
-อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ต้องผ่าตัดซ้ำภายใน 72 ชั่วโมง น้อยกว่า 1%
-สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ หัวไหล่หลังผ่าตัดได้มากกว่า 90 องศา จึงสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ผ่านโปรแกรมการทำกายภาพบำบัด ก่อน หลัง และติดตามผลการรักษาหลังผ่าตัด
-ทีมแพทย์ และทีมสหสาขาวิชาชีพทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อผ่านการประชุม Multidisciplinary Team Breast Conference เพื่อการรักษาที่ตรงจุด แม่นยำ เกิดผลข้างเคียงน้อย ให้ผลการรักษาที่ดีขึ้น
มะเร็งเต้านม เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งมีโอกาสหายขาด รีบดูแลก่อนสาย รับคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เต้านม รพ.บำรุงราษฎร์ โทร 02 011 3680 หรือ คลิก https://bhx.one/GnLTTL
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชนติดต่อ
เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์ – JC&CO COMMUNICATIONS –
ปณิดา รัตนวิมล/080-673-6339/panidar@jcco.co.th
** MEDIA HOTLINE: 02-634-4557 / 063 – 641-9549** (ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์)