
จะเป็นอย่างไรหากในวันหนึ่ง “ข้าว” เนื่องจากไม่มีใครคอยปลูกข้าวให้เรากินอีกต่อไป เนื่องด้วยต้องพ่ายเหตุภัยจากธรรมชาติ
3 กลยุทธ์พลิกฟื้นนาข้าวยั่งยืน ริเริ่มโดย โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยเครือข่ายความร่วมมือจากชุมชน ภายใต้การสนับสนุนหลักจาก มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) นอกจากจะช่วยต่ออนาคตการทำนาข้าวในประเทศไทยให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนแล้ว ยังช่วยส่งเสริมสุขภาวะ และเศรษฐกิจไทย จากกลวิธีลดการใช้ทรัพยากร รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อยกระดับชีวิตให้กับชุมชนได้ต่อไปอีกด้วย

นายธนากร จันหมะกษิต นักวิชาการเกษตรประจำศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งในนามของศูนย์ฯ เคยได้ฝากผลงานอันเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับชาวชุมชนนครสวรรค์ จัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่บึงบอระเพ็ด จนสามารถสร้างแรงกระเพื่อมสู่ “วาระของชาติ” ให้เกิดความตระหนักร่วมกันในระดับชาติมาแล้ว
หนึ่งในกลยุทธ์ช่วยลดวิกฤติปลูกข้าวท่ามกลางภัยจากธรรมชาติ ได้แก่ “การปลูกข้าวตอซัง” ซึ่งเป็นการ “เพิ่มประสิทธิภาพ” และ “ลดต้นทุน” จากการปลูกข้าวแบบเดิม แต่เพิ่มขั้นตอน โดยการปลูกข้าวแบบ “นาปรัง” ที่มีอายุข้าวประมาณ 120 วัน เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะเหลือตอซังในนาข้าว ดูแลรักษาด้วยการรักษาระดับน้ำที่เหมาะสม ต้นข้าวก็จะงอกออกมาจากตอซัง เรียกว่า “ข้าวตอซัง” โดยเมื่อออกรวงจะสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้อีก 1 รอบ ทำนาครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้ 2 ครั้ง
ซึ่ง “การปลูกข้าวตอซัง” จะช่วยลดระยะเวลาในการปลูกได้มากถึง 30 วัน นอกจากนี้ยังสามารถเก็บเกี่ยวได้ 2 รอบ นับเป็นการลดใช้ทรัพยากรที่ต้องหมดเปลืองไปกับการลงทุน ทั้งทางด้านแรงงาน ตลอดจนการใช้ยาเคมีปราบศัตรูพืช เนื่องจากสามารถปลูกด้วยระยะเวลาที่สั้นลง ซึ่งดีต่อสุขภาวะของผู้บริโภคที่จะได้รับจากการลดใช้ยาเคมีปราบศัตรูพืชอีกด้วย
สำหรับในพื้นที่บึงบอระเพ็ดจะเป็นกรณีที่แตกต่างกันไป เนื่องจากเป็น “พื้นที่น้ำท่วมเร็ว” แต่ก็สามารถนำวิธี “การปลูกข้าวตอซัง” มาประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกับพื้นที่แล้ง โดยไม่ต้องลงทุนใหม่ และให้ผลผลิตได้เร็วก่อนน้ำจะเข้าท่วมพื้นที่เสียหายในช่วงฤดูน้ำหลาก
นักวิชาการเกษตร “ธนากร” กล่าวต่อไปอีกว่า ในการทำนาโดยปกติต้องใช้น้ำถึง 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่หากมีการจัดการน้ำในนาข้าวได้อย่างเหมาะสม จะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำได้ถึงร้อยละ 40 ซึ่งนับเป็น “วาระเร่งด่วน” สำหรับพื้นที่บึงบอระเพ็ด เนื่องจากทรัพยากรน้ำในพื้นที่ดังกล่าวในปัจจุบันไม่ได้มีการบริหารจัดการเพื่อประโยชน์ในการทำนาแต่เพียงเท่านั้น และที่สำคัญไม่มีผู้ใดรู้ว่าต่อไปบึงบอระเพ็ดในอนาคตจะมีทรัพยากรน้ำเพื่อบริโภคและอุปโภคอย่างเพียงพอต่อไปอีกนานเพียงใด
นอกจากนั้นยังมีการทำแบบ “นาเปียกสลับแห้ง” ที่ช่วยลดการใช้น้ำแก้ปัญหาภัยแล้ง “ปุ๋ยสั่งตัด” หรือใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมตามศักยภาพของดินในแต่ละแปลง ก็นับเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะทำให้ชาวนามีแนวโน้มที่จะมีรายได้เหลือเก็บได้ต่อไปในอนาคต
นายธนากร จันหมะกษิต นักวิชาการเกษตรประจำศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งในนามของศูนย์ฯ เคยได้ฝากผลงานอันเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับชาวชุมชนนครสวรรค์ จัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่บึงบอระเพ็ด จนสามารถสร้างแรงกระเพื่อมสู่ “วาระของชาติ” ให้เกิดความตระหนักร่วมกันในระดับชาติมาแล้ว
หนึ่งในกลยุทธ์ช่วยลดวิกฤติปลูกข้าวท่ามกลางภัยจากธรรมชาติ ได้แก่ “การปลูกข้าวตอซัง” ซึ่งเป็นการ “เพิ่มประสิทธิภาพ” และ “ลดต้นทุน” จากการปลูกข้าวแบบเดิม แต่เพิ่มขั้นตอน โดยการปลูกข้าวแบบ “นาปรัง” ที่มีอายุข้าวประมาณ 120 วัน เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะเหลือตอซังในนาข้าว ดูแลรักษาด้วยการรักษาระดับน้ำที่เหมาะสม ต้นข้าวก็จะงอกออกมาจากตอซัง เรียกว่า “ข้าวตอซัง” โดยเมื่อออกรวงจะสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้อีก 1 รอบ ทำนาครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้ 2 ครั้ง
ซึ่ง “การปลูกข้าวตอซัง” จะช่วยลดระยะเวลาในการปลูกได้มากถึง 30 วัน นอกจากนี้ยังสามารถเก็บเกี่ยวได้ 2 รอบ นับเป็นการลดใช้ทรัพยากรที่ต้องหมดเปลืองไปกับการลงทุน ทั้งทางด้านแรงงาน ตลอดจนการใช้ยาเคมีปราบศัตรูพืช เนื่องจากสามารถปลูกด้วยระยะเวลาที่สั้นลง ซึ่งดีต่อสุขภาวะของผู้บริโภคที่จะได้รับจากการลดใช้ยาเคมีปราบศัตรูพืชอีกด้วย
สำหรับในพื้นที่บึงบอระเพ็ดจะเป็นกรณีที่แตกต่างกันไป เนื่องจากเป็น “พื้นที่น้ำท่วมเร็ว” แต่ก็สามารถนำวิธี “การปลูกข้าวตอซัง” มาประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกับพื้นที่แล้ง โดยไม่ต้องลงทุนใหม่ และให้ผลผลิตได้เร็วก่อนน้ำจะเข้าท่วมพื้นที่เสียหายในช่วงฤดูน้ำหลาก
นักวิชาการเกษตร “ธนากร” กล่าวต่อไปอีกว่า ในการทำนาโดยปกติต้องใช้น้ำถึง 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่หากมีการจัดการน้ำในนาข้าวได้อย่างเหมาะสม จะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำได้ถึงร้อยละ 40 ซึ่งนับเป็น “วาระเร่งด่วน” สำหรับพื้นที่บึงบอระเพ็ด เนื่องจากทรัพยากรน้ำในพื้นที่ดังกล่าวในปัจจุบันไม่ได้มีการบริหารจัดการเพื่อประโยชน์ในการทำนาแต่เพียงเท่านั้น และที่สำคัญไม่มีผู้ใดรู้ว่าต่อไปบึงบอระเพ็ดในอนาคตจะมีทรัพยากรน้ำเพื่อบริโภคและอุปโภคอย่างเพียงพอต่อไปอีกนานเพียงใด
นอกจากนั้นยังมีการทำแบบ “นาเปียกสลับแห้ง” ที่ช่วยลดการใช้น้ำแก้ปัญหาภัยแล้ง “ปุ๋ยสั่งตัด” หรือใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมตามศักยภาพของดินในแต่ละแปลง ก็นับเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะทำให้ชาวนามีแนวโน้มที่จะมีรายได้เหลือเก็บได้ต่อไปในอนาคต