นายกสภาเภสัชกรรม ประเมินผลสำเร็จ “ร้านยา” ร่วมให้บริการ “30 บาทรักษาทุกที่” ภาพรวมครึ่งปีผลเป็นที่น่าพอใจ เผยมีร้านยาเข้าร่วมกว่า 2 พันแห่งแล้ว ให้การดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อยกว่า 2 ล้านครั้ง ติดตามอาการหลัง 3 วัน ผลร้อยละ 90 หายจากอาการที่เป็นอยู่ ตั้งเป้าปี 2568 มีร้านยาเข้าร่วม 5 พันแห่ง พร้อมชี้ทิศทางอนาคต ต้องพัฒนาระบบส่งต่อที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนมั่นใจได้รับการักษาต่อเนื่อง
รศ.(พิเศษ) ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ นายกสภาเภสัชกรรม กล่าวว่า “นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่” เป็นความก้าวหน้าในการจัดบริการทางการแพทย์ ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสะดวกมากยิ่งขึ้น และหน่วยนวัตกรรมก็เป็นแนวคิดที่ก้าวหน้า ด้วยภาครัฐมีบุคลากรไม่เพียงพอ การดึงภาคเอกชนมาร่วม จึงเป็นการกระจายการบริการไปยังคลินิกต่างๆ ในกรณีมีอาการเจ็บป่วยไม่รุนแรงหรือไม่ซับซ้อน แบ่งเบาภาระโรงพยาบาล โดยในส่วนร้านยา โครงการนี้นับเป็นโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในระบบบริการสุขภาพ จากแต่เดิมบริการของร้านยามักจะถูกมองเป็นธุรกิจการค้ามากกว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของบริการทางวิชาชีพ ซึ่งสภาเภสัชกรรม ใช้เวลาทำความเข้าใจในเรื่องนี้กับทุกภาคส่วนมานานกว่า 10 ปี จนกระทั่งช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ร้านยาได้มีโอกาสเข้ามามีบทบาทในการดูแลประชาชนที่ติดโควิค กลุ่มสีเขียว ทำให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เกิดความมั่นใจ กระทั่งมีโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ ก็เป็นโอกาสให้ร้านยามีส่วนให้บริการผู้ใช้สิทธิบัตรทองมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ซึ่งมีโอกาสเข้าถึงบริการได้น้อย ก็สามารถเข้ามารับบริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการได้ที่ร้านยาที่เป็นการช่วยดูแลในเบื้องต้นได้
ทั้งนี้ สภาเภสัชกรรมมีเป้าหมายให้ร้านยาเข้าร่วมโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ให้มากที่สุด แต่ด้วยเป็นเรื่องใหม่ ร้านยาอาจยังมีภาพ สปสช. จ่ายเงินช้า การเข้าร่วมมีความยุ่งยาก มีภาระในการบันทึกต่าง ๆ จึงลังเลที่จะเข้าร่วมโครงการ ซึ่งสภาเภสัชฯ ได้พยายามชี้แจงทำความเข้าใจกับสมาชิกเพื่อคลายความกังวล โดยใช้กลไกเภสัชกรที่ประจำอยู่ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ให้ช่วยเชิญชวนภายในจังหวัด ชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการเบิกจ่ายที่ สปสช. สามารถจ่ายเงินได้ใน 3 วันแล้ว นอกจากนี้ยังประสานงานกับสมาคมร้านขายยาต่างๆ มีการประชุมชี้แจงเพื่อคลายความกังวลในประเด็นต่างๆ ขณะเดียวกัน ทางสภาเภสัชฯ เองก็วางแผนเดินสายไปชี้แจงทำความเข้าใจในแต่ละจังหวัด
"ในส่วนร้านยา แม้อัตราการจ่ายค่าบริการจะไม่ได้มาก แต่ถือเป็นการช่วยให้ประชาชนให้เข้าถึงบริการได้มากขึ้น เพียงแต่ขอให้เบิกจ่ายมีความรวดเร็ว เพราะถ้าเบิกจ่ายล่าช้า เงินทุนหมุนเวียนของร้านยาก็จะไม่มีเพียงพอ จุดนี้เป็นส่วนทำให้ร้านยาตัดสินใจเข้าร่วมมากขึ้น" นายกสภาเภสัชกรรม กล่าว
รศ.(พิเศษ) ภก.กิตติ กล่าวต่อว่า สภาฯ ยังทำหน้าที่กำกับติดตามคุณภาพการให้บริการ โดยร้านยาที่เข้าร่วมโครงการฯ จะเป็นร้านยาคุณภาพที่ผ่านการประเมินรับรองจากสภาเภสัชกรรม ซึ่งสภาเภสัชฯ ได้มีการประเมินรับรองคุณภาพร้านยามากว่า 20 ปีแล้ว เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในการเข้ารับบริการ และก่อนให้บริการตามโครงการฯ จะมีการจัดอบรมทบทวนความรู้เกี่ยวกับกลุ่มอาการและรายการยาที่ให้บริการ ส่วนบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ในโครงการลดความแออัดของโรงพยาบาล ร้านยาทุกร้านสามารถเข้าร่วมได้ และจะมีการอบรมในเรื่องวิชาการและระบบการให้บริการ การบันทึกข้อมูลต่างๆ ก่อนให้บริการเช่นกัน ถ้าร้านยาทั่วไปต้องการร่วมให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ ก็สามารถลงทะเบียนกับสภาฯ เพื่อรับการอบรมและมีพี่เลี้ยงคอยแนะนำการยกระดับคุณภาพของร้านยาให้เข้าเกณฑ์ที่สภาฯกำหนดอีกด้วย
ทั้งนี้ ผลจากเชิญชวนร้านยาด้วยกลไกต่างๆ ทำให้ปัจจุบันมีร้านยาเข้าร่วมโครงการกว่า 2,000 แห่ง ให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยไปแล้วกว่า 2 ล้านครั้ง และติดตามผลการให้บริการภายหลัง 3 วัน ซึ่งปัจจุบันร้านยาเป็นหน่วยบริการเดียวที่มีการติดตามผลการให้บริการ ในจำนวนนี้ร้อยละ 90 หายจากอาการที่เป็นอยู่ ในภาพใหญ่ถือว่าเริ่มเข้าที่เข้าทางและเป็นความสำเร็จเบื้องต้นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี สภาฯ ตั้งเป้าให้มีร้านยาเข้าร่วมให้ถึง 5,000 แห่ง เพื่อทำให้มีอัตราส่วนร้านยาที่เข้าร่วมให้บริการ ต่อประชากร 1:10,000 และคาดว่าภายในปี 2568 จะสามารถเพิ่มจำนวนได้ตามเป้าได้
รศ.(พิเศษ) ภก.กิตติ กล่าวต่อว่า สำหรับทิศทางอนาคตในแง่ของการบริการ สิ่งที่ต้องทำต่อคือการพัฒนาระบบส่งต่อ เพื่อที่ว่าเมื่อผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยมารับริการที่ร้านยาแล้วไม่หาย หรือยังไม่ดีขึ้น หรือเภสัชกรคิดว่าอาการที่มาหาน่าจะพบแพทย์มากกว่า จะมีการส่งต่อไปที่คลินิกแพทย์ หรือโรงพยาบาลไหนได้บ้าง
"ต้องจัดทำระบบให้ชัดเจน ยิ่งถ้ามีช่องทางด่วน (fast track) ก็ยิ่งดี ประชาชนจะได้รู้สึกว่ามาที่ร้านยาก่อน ถ้าไม่หายก็ไปรับบริการที่โรงพยาบาลได้รวดเร็ว จะทำให้ระบบปฐมภูมิของเราเข้มแข็ง มารับบริการที่ปฐมภูมิก่อน จะได้ไม่แออัดที่โรงพยาบาลมากเกินความจำเป็น " นายกสภาเภสัชกรรม กล่าว
รศ.(พิเศษ) ภก.กิตติ กล่าวต่อว่า สภาฯ ยังทำหน้าที่กำกับติดตามคุณภาพการให้บริการ โดยร้านยาที่เข้าร่วมโครงการฯ จะเป็นร้านยาคุณภาพที่ผ่านการประเมินรับรองจากสภาเภสัชกรรม ซึ่งสภาเภสัชฯ ได้มีการประเมินรับรองคุณภาพร้านยามากว่า 20 ปีแล้ว เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในการเข้ารับบริการ และก่อนให้บริการตามโครงการฯ จะมีการจัดอบรมทบทวนความรู้เกี่ยวกับกลุ่มอาการและรายการยาที่ให้บริการ ส่วนบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ในโครงการลดความแออัดของโรงพยาบาล ร้านยาทุกร้านสามารถเข้าร่วมได้ และจะมีการอบรมในเรื่องวิชาการและระบบการให้บริการ การบันทึกข้อมูลต่างๆ ก่อนให้บริการเช่นกัน ถ้าร้านยาทั่วไปต้องการร่วมให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ ก็สามารถลงทะเบียนกับสภาฯ เพื่อรับการอบรมและมีพี่เลี้ยงคอยแนะนำการยกระดับคุณภาพของร้านยาให้เข้าเกณฑ์ที่สภาฯกำหนดอีกด้วย
ทั้งนี้ ผลจากเชิญชวนร้านยาด้วยกลไกต่างๆ ทำให้ปัจจุบันมีร้านยาเข้าร่วมโครงการกว่า 2,000 แห่ง ให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยไปแล้วกว่า 2 ล้านครั้ง และติดตามผลการให้บริการภายหลัง 3 วัน ซึ่งปัจจุบันร้านยาเป็นหน่วยบริการเดียวที่มีการติดตามผลการให้บริการ ในจำนวนนี้ร้อยละ 90 หายจากอาการที่เป็นอยู่ ในภาพใหญ่ถือว่าเริ่มเข้าที่เข้าทางและเป็นความสำเร็จเบื้องต้นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี สภาฯ ตั้งเป้าให้มีร้านยาเข้าร่วมให้ถึง 5,000 แห่ง เพื่อทำให้มีอัตราส่วนร้านยาที่เข้าร่วมให้บริการ ต่อประชากร 1:10,000 และคาดว่าภายในปี 2568 จะสามารถเพิ่มจำนวนได้ตามเป้าได้
รศ.(พิเศษ) ภก.กิตติ กล่าวต่อว่า สำหรับทิศทางอนาคตในแง่ของการบริการ สิ่งที่ต้องทำต่อคือการพัฒนาระบบส่งต่อ เพื่อที่ว่าเมื่อผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยมารับริการที่ร้านยาแล้วไม่หาย หรือยังไม่ดีขึ้น หรือเภสัชกรคิดว่าอาการที่มาหาน่าจะพบแพทย์มากกว่า จะมีการส่งต่อไปที่คลินิกแพทย์ หรือโรงพยาบาลไหนได้บ้าง
"ต้องจัดทำระบบให้ชัดเจน ยิ่งถ้ามีช่องทางด่วน (fast track) ก็ยิ่งดี ประชาชนจะได้รู้สึกว่ามาที่ร้านยาก่อน ถ้าไม่หายก็ไปรับบริการที่โรงพยาบาลได้รวดเร็ว จะทำให้ระบบปฐมภูมิของเราเข้มแข็ง มารับบริการที่ปฐมภูมิก่อน จะได้ไม่แออัดที่โรงพยาบาลมากเกินความจำเป็น " นายกสภาเภสัชกรรม กล่าว