ม.มหิดลคลายปมสุขภาวะ‘สังคมดี สู่การมีชีวิตยืนยาว’

คณาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) (Doctor of Philosophy Program in Health Social Sciences (International Program) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.มาร์ก สเตฟาน เฟลิกซ์ (Associate Professor Dr.Mark Stephan Felix)


ร่วมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ฟรังซัวส์ เรเน ลามี (Associate Professor Dr.Francois Rene Lamy)  รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐณีย์ มีมนต์ และ ดร.ตุน ซายาร์ มิน (Dr.Tun Zayar Min) นักศึกษาชาวเมียนมา ได้ศึกษา วิธีการทำอย่างไรให้ผู้ป่วยสูงวัยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้สามารถควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)”


โดยเป็นงานวิจัยคุณภาพ ผลงานของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่แล้วในวารสารวิชาการนานาชาติ “Asia - Pacific Social Science Review” จากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มประชากรสูงวัยในประเทศเมียนมาที่ป่วยด้วยโรค NCDs อาทิ โรคความดันโลหิตสูง พบว่ามีปัจจัยขึ้นอยู่กับ วัฒนธรรมและ ความเชื่อเป็นสำคัญ


อุปสรรคหลักที่พบ มาจากการรับประทานอาหารแบบเดิมที่เป็น อาหารท้องถิ่นส่วนใหญ่มีรสเค็ม และมัน ซึ่งการจะทำให้ผู้ป่วยสูงวัยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้สามารถควบคุมโรค NCDs ได้โดยเข้าถึงการรับประทาน อาหารมังสวิรัติเพื่อสุขภาพซึ่งได้แก่ ผัก ผลไม้ และพืชตระกูลถั่ว ฯลฯ จะต้องทำแบบ ค่อยเป็นค่อยไปภายใต้คำแนะนำของแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ จะได้ผลดีกว่า การเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง


ตามรายงานการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความคล้ายคลึงกันระหว่างวัฒนธรรมและความเชื่อเมียนมา - ไทย ที่ให้ความสำคัญต่อผู้สูงวัย และเชื่อในการหลีกเลี่ยงเบียดเบียนชีวิตสัตว์ ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ผู้ป่วยสูงวัยรับประทาน


อาหารมังสวิรัติเพื่อสุขภาพ หากเป็นสมาชิก ครอบครัวมังสวิรัติ เดียวกัน จะทำได้ง่ายกว่าครอบครัวที่สมาชิกมีพฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างกัน


โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มาร์ก สเตฟาน เฟลิกซ์ ให้ทรรศนะเพิ่มเติมว่า การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพภายใต้คำแนะนำของแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ จะให้ผลดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิต หากสามารถทำควบคู่กับ การออกกำลังกาย ที่เหมาะสม


ซึ่งถือเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยมหิดล โดย ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในการทำหน้าที่ ปัญญาของแผ่นดิน เพื่อคลี่คลายปมสุขภาวะ จากสังคมที่ดี สู่การมีชีวิตที่ยืนยาว


ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th


ภาพจาก คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิตินวตาร ดิถีการุณ นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)


งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210