“การประกวดศิลปกรรมช้างเผือก” ครั้งที่ 13 หัวข้อ

นิทรรศการ “ศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 13” ภายใต้หัวข้อ “ความหลากหลายทางชีวภาพที่จัดโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ล่าสุดคณะกรรมการตัดสิน 9 ท่าน ประกอบด้วย  คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร ศาสตราจารย์เกียรติคุณถาวร           โกอุดมวิทย์ ศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง อาจารย์สังคม ทองมี คุณนิติกร กรัยวิเชียร และผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.วิชญ มุกดามณีการประกวดครั้งนี้ มีผู้ร่วมส่งผลงาน 241 ท่าน จำนวนผลงานมากกว่า 270 ผลงาน และผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 50 ชิ้นงาน

โดยผลงานที่ได้รับรางวัลช้างเผือก ได้แก่ “ดินแดนแห่งชีวิต”  โดย คุณธีรพล โพธิ์เปี้ยศรี รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ “ความหลากหลาย ภายใต้สภาวะที่ถูกครอบงำ” โดย คุณไชยันต์ นิลบล รับเงินรางวัล 500,000 บาท รางวัลคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี  ได้แก่ Bond of Friendship (ความผูกพันแห่งมิตรภาพ)” โดย คุณเญอรินดา แก้วสุวรรณ รับเงินรางวัล 400,000 บาท รางวัล CEO AWARD ได้แก่ “เสียงจากป่า 2024” โดย คุณสันติ สีดาราช รับเงินรางวัล 250,000 บาท นอกจากนี้ยังมีรางวัลรองชนะเลิศ 5 รางวัล รางวัลละ 200,000 บาท ประกอบด้วย คุณจักรชัย เพ็ชรปานกัน คุณบุญมี แสงขำ คุณพรสวรรค์ นนทะภา คุณลดากร พวงบุบผา คุณสุวิวัฒณ์ หวานอารมย์ และรางวัลชมเชยอีก 12 รางวัล รางวัลละ 100,000 บาท รวมเงินรางวัลทั้งสิ้น 4,350,000 บาท

คุณนิติกร กรัยวิเชียร ผู้อำนวยการโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และคณะกรรมการตัดสินกล่าวว่าการประกวดศิลปกรรมช้างเผือก เกิดจากความตั้งใจอันดีของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฟ้นหาศิลปินไทยรุ่นใหม่ที่มีทักษะความสามารถทางศิลปะอันโดดเด่น ในการสร้างสรรค์ศิลปะแบบเหมือนจริง (Realistic) และศิลปะรูปลักษณ์ (Figurative Art) โดยยึดถือความเหมือนจริงเป็นแก่นสำคัญเพื่อให้ผลงานศิลปะเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สำคัญ ในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านศิลปะร่วมสมัยให้ขยายไปสู่การรับรู้ของสังคมในวงกว้าง การดำเนินการประกวดศิลปกรรมช้างเผือก เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 และดำเนินงานต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นประจำทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2567 นับเป็นการจัดการประกวดครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’ เพื่อให้ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้แสดงฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ โดยตีความจากโจทย์  ที่กำหนดให้ ซึ่งศิลปินที่เข้าร่วมประกวดแต่ละคน ก็ต่างสร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจในรูปแบบและแนวทางที่แตกต่างได้อย่างน่าประทับใจ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

ศาสตราจารย์เกียรติคุณถาวร โกอุดมวิทย์ คณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า “ศิลปกรรมช้างเผือกจัดขึ้นเป็นปีที่ 13 ซึ่งเป็นนิทรรศการที่ประสบผลสำเร็จมาก ในแง่ของตัวศิลปินเองก็จะค่อนข้างให้ความสำคัญเพราะเป็นการประกวดในรูปลักษณะที่เป็นศิลปะรูปลักษณ์ ซึ่งแยกออกมาจากการประกวดศิลปกรรมอื่นๆ คือการเน้นภาพที่ดูรู้เรื่องและมีความเข้าใจซึ่งมันก็จะสอดคล้องกับสังคมโดยทั่วไป และที่สำคัญที่สุดคือทางบริษัท ไทยเบฟฯ ได้มอบรางวัลสำหรับชนะเลิศถึง 1,000,000 บาท ซึ่งน่าจะเป็นรางวัลที่สูงที่สุดในการประกวดศิลปกรรมในประเทศไทย ในการจัดงานที่ต่อเนื่องกันมาถึง 13 ปี ผมคิดว่าในแง่ของความสัมฤทธิ์ผล คือศิลปินที่ทำงานในเชิงศิลปะรูปลักษณ์หรือ          ในด้านทักษะฝีมือและเทคนิค เราถือว่าเป็นการดูแลศิลปินทางอ้อม เพราะบางทีศิลปินอาจจะขายงานไม่ได้แต่ยังพอมีรายได้จากการประกวดที่จะทำให้ศิลปะของเค้าสร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความยั่งยืน ก็ถือว่าเป็นนิทรรศการที่มีความสำคัญในระดับประเทศ ในส่วนของหัวข้อความหลากหลายทางชีวภาพ เราให้ศิลปินโฟกัสไปที่ธรรมชาติและให้เห็นคุณค่าของสิ่งมีชีวิตรวมถึงการดูแลโลกซึ่งอาจจะเป็นหัวข้อที่กว้างๆ แต่ไม่ยากลำบากนัก”

         อาจารย์สังคม ทองมี คณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า “ปีนี้หัวข้อความหลากหลายทางชีวภาพเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิ่งมีชีวิตในโลกที่มีความหลากหลาย และเป็นเรื่องของสายพันธุ์ เรื่องของระบบนิเวศที่มีความหลากหลายเช่นเดียวกัน หลากหลายทั้งตัวเนื้อหาเรื่องราวของศิลปินที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิดออกมาในเรื่องของชีวภาพทั้งหลายบนโลก รูปแบบของตัวงานจะเป็นรูปแบบลักษณะของการแสดงออกเรื่องภาพพิมพ์ งานจิตรกรรม งานเทคนิคสื่อผสม มีการผสมผสานความหลากหลาย เห็นแล้วก็รู้สึกว่าตัดสินยากเหมือนกัน เพราะเป็นงานที่มีคุณภาพมาก ทางคณะกรรมการชุดหนึ่งท่านเลือกจากหลายร้อยรูปจากสไลด์ ความหลากหลายในเทคนิควิธีการ       50 ภาพมีคุณภาพทั้งหมด ทุกงานมีการกรั่นกรอง และการแสดงทัศนะของคณะกรรมการอาจจะเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับมุมมอง เราใช้กรรมการหลายท่านขั้นตอนจะมีความละเอียดจนกว่าจะถึงรอบชนะเลิศ”

ข้าพเจ้านำเรื่องราวความประทับใจในกิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าวของสังคมชนบทอีสานของตนเอง มาเป็นแรงบันดาลใจ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์วิถี สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ร่วมสมัยผ่านเทคนิคกระบวนการเย็บปักเส้นด้าย ร้องเรียงเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ ผสานพลังความสามัคคี ก่อเกิดความสุขของการร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ภายใต้การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย สามารถปรับประยุกต์วิถีชีวิตให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างกลมกลืน โดยยึดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ตรัสถึง “ความพอเพียงสร้างได้ก็ต่อเมื่อคนในชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน” เป็นประโยคที่จุดประกายความคิดให้ข้าพเจ้าเล็งเห็นถึงการมีส่วนร่วมจากส่วนรวม เพื่อสร้างสรรค์และสานสัมพันธ์ชุมชนไทยให้ยั่งยืนสืบไปนิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 13 จัดแสดงผลงาน “ความหลากหลายทางชีวภาพ” ณ ชั้น 9         หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 16 กรกฎาคม – 11 กันยายน 2567 โดยสมเด็จพระกนิษฐา        ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานเปิดงานแสดง และพระราชทานรางวัล ในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 นอกจากนี้ผลงานบางส่วนนำไปจัดแสดงให้ชมอีกครั้งในงาน SX2024 ระหว่างวันที่ 27 กันยายน - 6 ตุลาคม 2567