“ปวดหลังเรื้อรัง” รักษาช้าเสี่ยงเป็นโรคกระดูกสันหลัง!

www medi.co.th

แพทย์เตือนหากมีอาการปวดหลังเรื้อรังไม่ควรนิ่งนอนใจ แนะรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เพื่อหาสาเหตุและรักษา เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้ายได้ 


นพ.ฐปนัตว์ จันทราภาส แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ เผยว่าอาการปวดหลังเรื้อรัง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่จะพบได้บ่อยมากขึ้นจากกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมการยืน นั่ง ซ้ำๆนานๆ ซึ่งลักษณะการปวดหลังเรื้อรังนั้นสามารถเป็นได้ตั้งแต่การปวดแบบธรรมดา ไปจนถึงอาการปวดแบบเฉียบพลัน ในขณะที่หลายคนที่อาการปวดหลังเรื้อรังมีความรุนแรง กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือมีอาการปวดหลังร้าวลงขา อาการชาตามมา อาจนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหากปล่อยไว้นานอาจถึงขั้นชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก และระบบการขับถ่ายผิดปกติ

ขณะที่ สาเหตุการปวดหลัง นพ.ฐปนัตว์ เผยว่า  พบได้ตั้งแต่ตรงส่วนกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นถ้าเกิดใช้หลังผิดท่านานๆนั่งนานๆ โดยไม่เปลี่ยนท่าแล้วอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ กล้ามเนื้อก็จะมีอักเสบ จะมีพวกพังผืดขึ้นมาทำให้กล้ามเนื้อมันตึงเกิดเป็นโรคของพวกกล้ามเนื้ออักเสบหรือเรียกว่า  Trigger Point ทำให้ปวดหลังเรื้อรังเป็นพวกออฟฟิศซินโดรมจากกล้ามเนื้อ  ต่อมาก็คือกลุ่มโรคปวดจากข้อต่อ ข้อต่อที่เชื่อมของกระดูกสันหลังที่เรียกว่า Facet Joints ถ้าเกิดว่ามันมีการอักเสบ หรือว่าอยู่ผิดท่านานๆก็ทำให้ข้อต่อเสื่อมตามอายุตามการใช้งานก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ปวด  สาเหตุต่อมาก็คือพวกหมอนรองกระดูก ที่เจอได้บ่อยก็คือเรื่องของหมอนรองกระดูกที่มีปัญหาตั้งแต่ฉีก ปลิ้น หรือว่าเสื่อม พวกนี้ก็เกิดจากการใช้งานของเรา  หรือถ้าเกิดมีอุบัติเหตุ เช่นกระดูกสันหลังหัก ทรุด ยุบ หรือมีเรื่องของเนื้องอกหรือว่ามะเร็ง ก็ทำให้มีอาการปวดหลังเรื้อรังได้


นพ.ฐปนัตว์ เผยอีกว่าหากมีอาการปวดหลังเรื้อรัง ควรพบแพทย์เฉพาะทางโดยด่วนเพื่อทำการวินิจฉัยและนำไปสู่การรักษาที่ตรงจุด เพราะถ้าไม่รักษาอย่างแรกก็คือความเจ็บปวดเรื้อรังที่ทำให้ทรมานในอนาคตมีผลต่อคุณภาพชีวิตและการทำงาน อีกทั้งการกินยาแก้ปวด แก้อักเสบมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากกินยาไปนานๆ ก็ทำให้ก็จะส่งผลเสียต่อเรื่องของตับและไต  โดยเฉพาะไตที่ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสีย หากกินแก้ปวดเยอะจนเกินไปจะทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้นค่าไตก็แย่ลงอาจจะมีภาวะไตเสื่อมแทรกซ้อนตามมาได้


 


หากมีอาการปวดหลังเรื้อรังก็แนะนำให้มาตรวจกับแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังเพื่อวินิจฉัยโรคได้ชัดเจนจะได้รู้สาเหตุการปวดเพราะว่าอาการปวดของแต่ละชนิดของแต่ละโรคก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งการรักษาที่ตรงจุด จะทำให้คนไข้ได้หายจากอาการปวดหลังอย่างยั่งยืน


 


 


 


สำหรับโรงพยาบาลเอส สไปน์ เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคกระดูกสันหลัง ซึ่งการรักษาที่นี่จะครบวงจรมาก เพราะบางครั้งคนไข้มาด้วยอาการปวดหลังคล้ายกันแต่พอเราทำการตรวจวินิจฉัยแล้ว โรคไม่เหมือนกัน อาการกระดูกสันหลังเคลื่อนก็จะเป็นแบบหนึ่ง ปวดหมอนรองกระดูกปลิ้น ปวดจากข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบก็อีกแบบหนึ่ง


 


ทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของอาการปวด หากปวดจากหมอนรองกระดูกส่วนมากเกิดจากการลงน้ำหนักโดยเฉพาะท่าก้ม คือมีน้ำหนักโหลดที่กระดูกสันหลังเยอะจนเกินไป หรือบางรายที่มีหมอนรองกระดูกปลิ้นใหม่ๆ หรือเกิดการฉีกใหม่ๆ แทบจะเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ ปวดมากแทบจะลุกจากเตียงไม่ได้ อาการที่เกิดจากหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทมากขึ้น ก็จะมีอาการปวดร้าวตามเส้นประสาทที่ถูกกด เช่นปวดร้าวลงขามากๆ และมีอาการชาหรืออ่อนแรงร่วมด้วย บางรายกระดกขา กระดกนิ้วเท้าได้น้อยลง ส่วนที่ปวดจากข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ หรือเกิดจากข้อต่อที่เสื่อม จะมีอาการปวดที่เกิดจากท่าที่มีการแอนหลังเยอะๆ เนื่องจากตรงข้อต่อกระดูกสันหลัง หรือหลังคากระดูกสันหลังรับน้ำหนักมากจนมีอาการปวด ในบางรายที่ข้อต่อกระดูกสันหลังมีความเสื่อมและไม่แข็งแรงก็เริ่มมีการเคลื่อนตัวของกระดูกสันหลัง ซึ่งเวลาเคลื่อนก็ทำให้ปวดร้าวลงขาจากเส้นประสาทที่ถูกเส้นประสาท


ขณะที่ข้อมูลการรักษาผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดหลังเรื้อรังพบว่าอายุเฉลี่ยลดน้อยลงเรื่อยๆ จากพฤติกรรมการใช้หลังส่วนล่างที่ผิดวิธี เมื่อมาพบแพทย์และได้ทำการวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด พบว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทมากขึ้น

นพ.นพ.ฐปนัตว์ แนะนำว่าหากพบว่าตัวเองมีอาการปวดหลังเรื้อรังมาเป็นเวลานาน ให้เข้ามาพบกับแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เพื่อตรวจดูว่าอาการปวดหลังเรื้อรังเกิดจากสาเหตุอะไร ด้วยการตรวจร่างกาย x-ray ร่วมกับการทำ MRI  โดยโรงพยาบาล เอส สไปน์ ได้นำเครื่อง MRI แบบยืนมาให้บริการเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการให้บริการด้านกระดูกสันหลังโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  การตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ จะเป็นกุญแจสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพ  นอกจากการใช้เทคโนโลยี MRI แบบยืนแล้ว การวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังที่ถูกต้องยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การรักษาที่ตรงจุด แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และให้ผลลัพธ์การรักษาที่ยั่งยืน