ม.มหิดลพัฒนา‘ประชากรคุณภาพ’ผ่าน ‘ความงามเชิงวรรณศิลป์’ เตรียมต่อยอดหลักสูตรเสริมทุนมนุษย์

ด้วยทฤษฎีแห่ง การเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง” (Transformative Learning) ที่แพร่หลายไปทั่วโลก ปัจจุบันได้กลายเป็น เครื่องมือสำคัญ ของการเรียนรู้เพื่อปรับตัวในโลกที่เปลี่ยนแปลง โดยเริ่มต้นที่ การเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่การเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์


 


รองศาสตราจารย์ ดร.ประภาพรรณ อุ่นอบ อาจารย์ประจำภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวไว้ว่า มนุษย์เพียงคนเดียวสามารถ สร้างหรือ ทำลายสังคมได้แม้เพียงปลายนิ้ว โดย การใช้กระบวนการวรรณศิลป์ เป็นหนึ่งในหนทางสำคัญของ การเปลี่ยนแปลงตัวเองในเชิงสร้างสรรค์ สู่การเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ ก่อนที่โลกจะถูกทำลายด้วย น้ำมือมนุษย์ ด้วยกัน


ซึ่งตามทฤษฎีของ Mezirow ได้ชี้ให้เห็นถึง หัวใจของ การเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองนอกจากการ เข้าถึงตัวตนของตัวเองให้ได้แล้ว ยังต้องเปี่ยมด้วย ความตั้งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่ ชีวิตใหม่ในวันข้างหน้าด้วยความแน่วแน่


และเพื่อการบรรลุเป้าหมาย SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ และ SDG16 ที่มุ่งสู่การสร้าง สันติภาพ ที่โลกต้องการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และเข้าถึงได้ยาก จำเป็นต้องอาศัย การเรียนรู้ผ่านเรื่องราวแห่งศิลปะ เพื่อการเข้าถึง สันติภาพที่อยู่ภายใน ให้ได้รู้จัก กล่อมเกลาจิตใจตัวเอง ก่อนแผ่ขยายไป กล่อมเกลาโลก

อาจารย์ ดร.พลธรรม์ จันทร์คำ หัวหน้าศูนย์สันติวิธีชายแดนใต้ โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้คิดค้นแนวคิด “MIPDAL” (A Model of Inner Peace Development through the Art of Literature) โดยใช้ กระบวนการวรรณศิลป์ เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองในเชิงสร้างสรรค์ จากการทดลองด้วยตัวเอง โดยผลลัพธ์ที่ได้สามารถใช้ เสริมทักษะ การเป็น นักเขียน และ บุคคลทั่วไป ให้ได้ค้นพบ ความแตกต่าง ในงานเขียน และการได้ เข้าถึงตัวตน ของตัวเอง


เริ่มด้วย เพ่งพินิจสู่การ พิจารณาจนได้บทสรุปแล้วจึง จัดการด้วยปัญญาโดยพบว่าจากการทดลองปลีกตัวเพื่อ เสาะแสวงหาความสงบจากธรรมชาติรอบตัว จนเกิด อารมณ์วรรณศิลป์ที่สามารถถ่ายทอดออกมาในเชิงกวี และสะท้อนให้เห็นถึง ความสุขใน ความสงบ


เป็นหนทางเว้นว่างจากความวุ่นวายที่อยู่เพียงเอื้อม และเป็น หัวใจแห่งสันติภาพที่เริ่มต้นด้วย ความสุขจาก ความสงบข้างในจิตใจ


เส้นทางแห่งสันติภาพจะยังคงมั่นคงและยั่งยืนต่อไป หากได้ตั้งต้นด้วย ทุนมนุษย์ เมื่อเร็วๆ นี้ แนวคิด “MIPDAL” โดย อาจารย์ ดร.พลธรรม์ จันทร์คำ ได้รับการพิจารณาเป็นรายวิชา ศิลปะเพื่อสันติภาพ” (Art for Peace) และกำลังพัฒนาเป็นตำราที่พร้อมเปิดสอนเพื่อปูพื้นฐานให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนพัฒนาสู่การเป็น ประชากรคุณภาพ ที่พร้อมมุ่งสู่การเป็น ปัญญาของแผ่นดิน ตามปณิธานของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในอีก 2 ปีข้างหน้าต่อไป


ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th


สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิตินวตาร ดิถีการุณ นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)


งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210