แพทย์แนะวิธีคัดกรองมะเร็งปอด หากได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะต้น ช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิต และลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ
จากซ้ายไปขวา พ.อ.วิริสสร วงศ์ศรีชนาลัย, อ.พญ.ธนิศา ทองใบ, ผศ.พญ.ดนิตา กานต์นฤนิมิต, นพ.สกานต์ บุนนาค, พญ.กุลธิดา มณีนิล, อ.นพ.ศิระ เลาหทัย, พ.ท.ผศ.นพ.ไนยรัฐ ประสงค์สุข
กรุงเทพฯ ประเทศไทย–เดือนมะเร็งปอดโลกซึ่งตรงกับเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นเดือนที่ทั่วโลกร่วมตระหนักถึงภัยของมะเร็งปอด โรคร้ายที่จัดเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขอันดับต้น ๆ ของโลกและประเทศไทย เนื่องจากมะเร็งปอดมักไม่แสดงอาการในระยะต้น จึงทำให้ผู้ป่วยมะเร็งปอดส่วนใหญ่ตรวจพบในระยะแพร่กระจายหรือลุกลามไปตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายแล้วสถิติเผยว่า ผู้ป่วยในระยะที่ 4 หรือระยะสุดท้ายมีไม่ถึง 5% เท่านั้นที่มีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการเข้ารับการรักษามะเร็งปอดอย่างทันท่วงที คณะทำงานมะเร็งปอดเพื่อคนไทย(TLCG)ภายใต้มะเร็งวิทยาสมาคม ร่วมกับ บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัดได้จัดงาน“ตรวจก่อน พบไว รู้ทันภัยมะเร็งปอด”ซึ่งได้รับเกียรติจาก นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน และยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกหลายท่านที่มาร่วมกันเสวนา แบ่งปันมุมมอง และประสบการณ์การรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอด โดยงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษามะเร็งปอดให้แก่ประชาชาชนทั่วไปเนื่องจากการเข้าถึงการรักษาที่เหมาะสมกับระยะของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะต้น มีส่วนช่วยให้ผลลัพธ์การรักษาดีและลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ นอกจากนี้ ผู้ป่วยมะเร็งปอดยังได้เรียนรู้แนวทางการดูแลตัวเอง ในช่วงโควิด-19 อีกด้วย
นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
ข้อมูลจาก Global cancer Observatory ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่าในปี พ.ศ. 2563 โรคมะเร็งปอดมีอุบัติการณ์และอัตราการตายสูงสุดเป็นอันดับ 2 เมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ ในประเทศไทยโดบพบจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปอดรายใหม่สูงถึง23,717 ราย หรือคิดเป็น 65 รายต่อวันโดยเฉลี่ย อีกทั้ง ประชาชนไทยอีกกว่า 20,395 ราย หรือคิดเป็น 56 รายต่อวันโดยเฉลี่ยเสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งปอด ซึ่งสถานการณ์ความรุนแรงของโรคนี้ยังมีเเนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ริเริ่มนโยบาย ‘มะเร็งรักษาได้ทุกที่’ หรือ Cancer Anywhereตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564เพื่อคลายความกังวลด้านระยะเวลาการรอคอยและอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยมะเร็ง แต่ความท้าทายหลักของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดคือสัดส่วนการตรวจพบผู้ป่วยมะเร็งปอดในระยะต้นยังคงน้อยอยู่ ดังนั้น ความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การคัดกรองผู้มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด ได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่ระยะต้นมากยิ่งขึ้น
ระยะของมะเร็งปอดที่เข้ารับการรักษามีผลโดยตรงต่อโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วย โดย พ.ท.ผศ.นพ.ไนยรัฐ ประสงค์สุขอายุรแพทย์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กล่าวถึงการคัดกรองมะเร็งปอดและการสังเกตอาการเบื้องต้นว่า “หากเจอมะเร็งปอดในระยะที่ 4 หรือระยะแพร่กระจาย ผู้ป่วยจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี ประมาณ 5% เท่านั้นระยะที่ 3 หรือระยะลุกลามเฉพาะที่ ผู้ป่วยจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี ประมาณ 30%แต่ถ้าเราเจอมะเร็งปอดระยะ 1 หรือ 2 ก็คือระยะต้นผู้ป่วยจะมีอัตราการรอดชีวิตประมาณ5 ปี สูงเกือบ 60% อย่างไรก็ตามประเทศไทยตรวจพบมะเร็งปอดระยะต้นเพียงแค่ 30% เท่านั้น ถ้าเทียบกับต่างประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปพบผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะต้นสูงถึง 52-54%เนื่องจากในสหรัฐอเมริกามีแนวปฏิบัติของNational Comprehensive Cancer Network (NCCN) และในยุโรปเองมีแนวปฏิบัติของ EuropeanSociety of Medical Oncology(ESMO) ซึ่งแต่ละมาตรการล้วนแนะนำไปในทางเดียวกัน ว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วยการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกแบบใช้รังสีต่ำ (Low dose CT scan)ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง มีโอกาสที่จะตรวจพบมะเร็งปอดระยะต้นได้มากขึ้น”
พ.ท. ผศ. นพ.ไนยรัฐ ประสงค์สุข อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ผู้ที่มีสุขภาพดีแต่มีแนวโน้มว่าอาจเกิดโรคมะเร็งปอด ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 50 - 80 ปี ผู้ที่สูบบุหรี่จัดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น สูบบุหรี่มากกว่า 30 ซองต่อปี หรือเคยสูบบุหรี่นานกว่า 15 ปี ผู้ที่ประกอบอาชีพในสภาพแวดล้อมที่มีสารพิษ เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมรถยนต์ โรงงานผลิตฉนวนกันความร้อน มีโอกาสที่จะสูดดมแร่ใยหินหรือสารแอสเบสตอส (asbestos) นิเกิล โครเมียม เข้าไปเป็นเวลานานวินมอเตอร์ไซด์ พนักงานกวาดถนน พนักงานในศาลเจ้าซึ่งสูดดมควันธูปเป็นประจำ เป็นต้น ผู้ที่มีประวัติโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพองเรื้อรัง ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งหรือมะเร็งปอดซึ่งอาจมีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม นอกจากนี้ การกลายพันธุ์ที่ผิดปกติภายในร่างกายของแต่ละคนก็ส่งผลให้เกิดมะเร็งปอดได้เช่นกัน ดังนั้น การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น ลดปริมาณการสูบบุหรี่หรือเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่สูบหรี่ การสวมใส่หน้ากากชนิดที่กันฝุ่น PM 2.5 เป็นต้น ก็มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอดลงได้
พญ.ธนิศา ทองใบสาขารังสิวินิจฉัยระบบทางเดินหายใจ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอายุรแพทย์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าได้เปรียบเทียบวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดแบบต่างๆ ว่ามีข้อดีและข้อจำกัดต่างกันไป “การเอกซเรย์ทรวงอก หรือ Chest x-ray ซึ่งมักรวมอยู่ในรายการตรวจสุขภาพประจำปี ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะคัดกรองเซลล์มะเร็งปอดในระยะต้นที่มีขนาดเล็ก ส่วน CT scan ซึ่งมีความแม่นยำสูงกว่ามาก เป็นวิธีที่ต้องรอคิวนาน บุคลากรด้านรังสีแพทย์ยังมีอยู่จำกัด และผู้เข้าตรวจได้รับรังสีในปริมาณสูง ดังนั้น วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดในปัจจุบันที่มีมาตรฐานและมีความแม่นยำกว่าการเอกซเรย์ทรวงอกถึง 6 เท่าคือการตรวจเอกเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกแบบใช้รังสีต่ำ (low dose CT scan)ซึ่งช่วยให้พบมะเร็งปอดได้รวดเร็วตั้งแต่ระยะต้น จึงทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดลงได้ 20%”
พญ.ธนิศา ทองใบ สาขารังสิวินิจฉัยระบบทางเดินหายใจ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอายุรแพทย์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะต้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามการแสดงอาการได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีอาการเลย ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักเจอว่าป่วยเป็นมะเร็งปอดโดยบังเอิญจากการตรวจร่างกาย ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งมีอาการเล็กน้อย เช่น ไอต่อเนื่องเป็นเวลานาน รับประทานยาแก้ไอแล้วแต่ไม่หาย ดังนั้น พยาธิแพทย์จึงจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อปอดเพื่อนำไปวิเคราะห์แปลผลว่าเป็นมะเร็งปอดหรือไม่ เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นมะเร็งปอด เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาวิชาจะร่วมกันวางแผนแนวทางการรักษาให้เหมาะสมกับระยะของโรค ขนาดและตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง และความพร้อมทางร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการผ่าตัดการให้ยาเคมีบำบัดก่อนหรือหลังการผ่าตัด และรังสีรักษา
ด้านการรักษามะเร็งปอดด้วยวิธีการผ่าตัด นพ.ศิระ เลาหทัยศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวว่า “หากแพทย์ประเมินแล้วว่าผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะต้นผ่าตัดได้ เทคนิคการผ่าตัดในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่ การผ่าตัดใหญ่แบบเปิดช่องอก โดยแพทย์จะผ่าก้อนเนื้อออกไป ผ่าตัดปอดบางกลีบ หรือผ่าปอดออกทั้งข้าง วิธีนี้มีข้อจำกัดก็คือ แผลค่อนข้างใหญ่และผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นนาน ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือการผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งแผลมีขนาดเล็กและใช้เวลาพักฟื้นสั้น ทั้งนี้ การรักษามะเร็งปอดระยะต้นด้วยวิธีการผ่าตัดทั้งสองเทคนิคช่วยเพิ่มโอกาสหายขาดให้กับผู้ป่วยได้มาก”
ผศ.พญ.ดนิตา กานต์นฤนิมิต รังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มะเร็งปอดถือเป็นภัยเงียบที่อันตรายเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกว่าเป็นมะเร็งปอดนั้น กว่าร้อยละ 70 มักจะตรวจพบในระยะที่ 4 หรือระยะแพร่กระจายแล้ว ดังนั้น การสร้างตระหนักและป้องกันตนเองจากปัจจัยเสี่ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญ ส่วนผู้ที่มีแนวโน้มการเกิดมะเร็งปอดควรเข้ารับการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพราะการเข้าถึงการรักษาตั้งแต่ระยะต้นมีโอกาสสูงที่ผลลัพธ์การรักษาจะเป็นไปในทางที่น่าพึงพอใจ และลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำได้ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคมะเร็งปอดได้ที่ช่องทางต่างๆดังนี้
LungAndMe:เฟสบุค LungAndMe,ยูทูปLungAndMe, LINEOfficial @LungAndMe,เว็บไซต์ www.LungAndMe.comและคลับเฮาส์@LungAndMe
กลุ่มสนับสนุนผู้ป่วยมะเร็งปอดและผู้ดูแล:พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องมะเร็งปอดได้ในเฟสบุคกลุ่ม ห้องนั่งเล่นพูดคุยเรื่องมะเร็งปอด (สำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแลเท่านั้น)
มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง:เฟสบุค Thai Cancer Society, เว็ปไซต์ www.thaicancersocitey.com
มะเร็งสมาคมวิทยา: เว็บไซต์http://www.thethaicancer.com/index.html