ม.มหิดลชี้ชวนร่วม “สร้างสุขภาวะ - ร้อยดวงใจแห่งสันติธรรม” ก่อนโลกสิ้นหวัง

www medi.co.th

ท่ามกลางปัญหาการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้แนวโน้มการดำเนินชีวิต และการประกอบการ ต้องอยู่ภายใต้ “กลไกการเฝ้าระวังทางธรรมชาติ” เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการหมุนไปของโลก
จนลืมกันไปว่า “การสร้างสุขภาวะเพื่อการสร้างสันติภาพ” ก็สามารถสร้างความเชื่อมั่นใน “การเพิ่มผลผลิต” ต่อมวลมนุษยชาติได้เช่นกัน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คือหนึ่งในความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้เป็นแกนหลักสำคัญในการนำองค์ความรู้ทางด้านสิทธิและสันติศึกษาเพื่อผลักดันให้เกิด “พื้นที่ปลอดภัย” และ “สังคมแห่งสันติ”
นอกจากนี้ ยังได้เป็นผู้นำแนวคิด “การสร้างสุขภาวะสันติภาพ” ไปเชื้อเชิญให้ชุมชนร่วมมือกันใช้ “สันติวิธี” เพื่อ “หยุดวงจรความรุนแรง”
โดยได้ชี้ให้เห็นว่า “สุขภาวะ” กับ “สันติภาพ” จะต้องไปด้วยกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ความรุนแรงที่ทำให้บาดเจ็บล้มตาย พิการ หรือต้องอยู่อย่างหวาดระแวง สุขภาวะกาย ใจ และสุขภาวะทางสังคมที่ดียิ่งสำคัญต่อการสร้างสุขภาวะสันติภาพ
อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ “สุขภาวะสันติภาพ” ไม่บังเกิด โดยเฉพาะในสังคมชายแดนใต้ เนื่องจากผู้คนในสังคมการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติต่อกันอย่างมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรี หรือ “หลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” เช่น เก็บข้อมูลชีวภาพ (Biometric Data) โดยไม่ให้อิสระเสรีภาพในการตัดสินใจอย่างเต็มที่เช่นที่เกิดในค่ายทหาร เป็นต้น
สังคมไทยกำลังวิกฤติเพราะขาดสุขภาวะสันติภาพ เพราะมีการเลือกปฏิบัติต่อกันและกัน เพราะมีความเหลื่อมล้ำและความไม่ธรรมทางสังคมสูงมาก นอกจากนี้ ยังมีอคติ และการเหมารวมตีตราเลือกปฏิบัติต่อคนยากจน กดขี่เหยียบย่ำศักดิ์ศรีของคนที่ด้อยอำนาจ เช่น แรงงานข้ามชาติ คนไร้บ้าน มีการปลุกระดมสร้างความเกลียดชังต่อคนที่คิดต่างจากเรา สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสภาวะที่ไม่เป็นมิตรต่อการมีสุขภาวะที่ดี และไม่เป็นมิตรต่อการสร้างสุขภาวะให้สันติภาพแก่สังคมใดเลย
มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” จึงควรที่จะนำความรู้สู่การยกระดับการสร้างสุขภาวะสันติภาพให้แก่สังคม เริ่มจากเปิดใจเรียนรู้เรื่องการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกผู้คนเสมอกัน ช่วยกันสร้างบรรยากาศที่เปิดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความเป็นธรรม ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา แต่ช่วยกันมองให้เห็นโครงสร้างและรากเหง้าของปัญหาที่แท้จริง ใข้ปัญญาและสันติธรรมในการแก้ไขเชิงระบบโครงสร้าง โดยมุ่งเป้าหมายให้สังคมอยู่ดี มีสุขถ้วนหน้ากัน
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th



ภาพจาก โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิตินวตาร ดิถีการุณ นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210