3 ธันวาคม “วันคนพิการสากล” สปสช. รณรงค์ “ส่งเสริมการเป็นผู้นำคนพิการ เพื่ออนาคตที่ครอบคลุมและยั่งยืน”

วันคนพิการสากล 3 ธ.ค. สปสช. รณรงค์ “ส่งเสริมการเป็นผู้นำคนพิการเพื่ออนาคตที่ครอบคลุมและยั่งยืน” เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมพัฒนา “กองทุนบัตรทอง” สู่ความครอบคลุมบริการที่จำเป็นเพื่อคนพิการ พร้อมเผย ปี 2566 มีคนพิการในระบบบัตรทองสะสม 1.13 ล้านคน รับบริการดูแลสุขภาพ 3.8 ล้านครั้ง รับอุปกรณ์เครื่งช่วยความพิการพ 3.4 หมื่นชิ้น 


 


นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า วันคนพิการสากล ตรงกับวันที่ 3 ธันวาคมของทุกปี เริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 2535 โดยองค์การสหประชาชาติกำหนดขึ้น เพื่อส่งเสริมความเข้าใจปัญหาความพิการ ยกระดับการสนับสนุนเพิ่มศักดิ์ศรี สิทธิและความเป็นอยู่ดีของผู้พิการ และในปี 2567 ณรงค์ภายใต้แนวคิด “ส่งเสริมการเป็นผู้นำคนพิการ เพื่ออนาคตที่ครอบคลุมและยั่งยืน” (Amplifying the leadership of persons with disabilities for an inclusive and sustainable future)


สปสช. ได้ให้ความสำคัญต่อคนพิการ โดยเฉพาะด้านสุขภาพ มีการพัฒนาสิทธิประโยชน์ต่างๆ ภายใต้ “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” (บัตรทอง 30 บาท) ในการดูแลคนพิการอย่างต่อเนื่อง ทั้งบริการขั้นพื้นฐานสาธารณสุข และบริการที่เป็นสิทธิเฉพาะสำหรับคนพิการที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนพิการ อาทิ บริการกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัดการประเมิน/แก้ไขการพูด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด การฟื้นฟูการได้ยิน การฟื้นฟูการเห็น การกระตุ้นพัฒนาการ และการได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการ เป็นต้น พร้อมอำนวยความสะดวกโดยคนพิการที่ได้รับการลงทะเบียน ท.74 สามารถเข้ารับบริการสถานพยาบาลรัฐในระบบบัตรทองได้ทุกแห่ง

นพ.จเด็จ กล่าวว่า ในส่วนสิทธิประโยชน์เพื่อดูแลคนพิการ สปสช. ดำเนินการอยู่ในรายการ “บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์” โดยในปีงบประมาณ 2566 มีคนพิการลงทะเบียนสะสมในระบบบัตรทอง จำนวน 1.301 ล้านคน ในจำนวนนี้ได้ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์จำนวน 1,133,707 คน หรือจำนวน 3,826,137 ครั้ง และบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการจำนวน 28,873 คน หรือจำนวน 34,461 ชิ้น  


ทั้งนี้ในส่วนของบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ แยกเป็นประเภทคนพิการที่เข้ารับริการ ได้แก่ 


คนพิการจำนวน 162,772 คน เป็นจำนวน 544,881 ครั้ง, ผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องฟื้นฟูฯ จำนวน 463,414 คน เป็นจำนวน 1,513,090 ครั้ง, ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องฟื้นฟูฯ จำนวน 469,155 คน เป็นจำนวน 1,516,773 ครั้ง, ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงจำนวน 538 คน เป็นจำนวน 1,715 ครั้ง และ 5 พื้นฟูสมรรถภาพระยะกลาง (Intermediate Care: IMC) รวม 4 กลุ่มโรค (หลอดเลือดสมอง บาดเจ็บที่สมอง บาดเจ็บไขสันหลัง และบาดเจ็บที่สะโพก จำนวน 37,828 คน เป็นจำนวน 249,478 ครั้ง


        ส่วนบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ แยกเป็นประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ แขนเทียม-ขาเทียมจำนวน 6,304 คน เป็นจำนวน 8,148 ชิ้น เครื่องช่วยฟัง จำนวน 8,234 คน เป็นจำนวน 8,366 ชิ้น ไม้เท้าคนพิการทางสายตา จำนวน 158 คน เป็นจำนวน 158 ชิ้น และอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการอื่นๆ จำนวน 14,683 คน เป็นจำนวน 17,789 ชิ้น 


นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ดี เมื่อแยกตามรายการกิจกรรมบำบัดฟื้นฟู ปีงบประมาณ 2566 มีการเข้ารับบริการ ดังนี้ กายภาพบำบัดจำนวน 674,195 คน เป็นจำนวน 2,353,892 ครั้ง จิตบำบัดจำนวน 327,028 คน เป็นจำนวน 790,083 ครั้ง พฤติกรรมบำบัดจำนวน 130,178 คน เป็นจำนวน 289,389 ครั้ง กิจกรรมบำบัดจำนวน 65,335 คน เป็นจำนวน 208,389 ครั้ง การฟื้นฟูการได้ยินจำนวน 20,027 คน เป็นจำนวน 27,853 ครั้ง กระตุ้นพัฒนาการจำนวน 22,797 คน เป็นจำนวน 49,878 ครั้ง การฟื้นฟูสมรรถภาพการเห็นจำนวน 5,184 คน เป็นจำนวน 9,784 ครั้ง  การประเมินแก้ไขการพูดจำนวน 10,656 คน เป็นจำนวน 30,864 ครั้ง และฉีดยาลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อจำนวน  569 คน เป็นจำนวน 768 ครั้ง  


        นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า นอกจากบริการดูแลคนพิการข้างต้นแล้ว ในระบบบัตรทองยังมีกลไกที่เพิ่มการเข้าถึงบริการให้ผู้พิการด้วย ได้แก่การขึ้นทะเบียน “ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป” ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้การรับรองเป็นสถานบริการสาธารณสุขอื่น ตามมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 โดยปี 2566 มีจำนวน 43 แห่ง นอกจากนี้ยังมี “กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพระดับจังหวัด” ที่จัดตั้งขึ้นในปี 2552 ซึ่ง สปสช. สนับสนุนท้องถิ่นระดับจังหวัดทั่วประเทศ ร่วมจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชิพให้กับคนพิการ ซึ่งข้อมูลล่าสุดปี 2567 มีจำนวน 69 จังหวัดที่เข้าร่วมแล้ว


        “เนื่องในวันคนพิการสากล 3 ธันวาคม สปสช. ร่วมรณรงค์ภายใต้แนวคิด การส่งเสริมการเป็นผู้นำคนพิการเพื่ออนาคตที่ครอบคลุมและยั่งยืน โดยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นการบริหารในรูปแบบคณะกรรมการที่เปิดให้ทุกภาคส่วนมีส่วนรวม รวมถึงคนพิการ ซึ่งที่ผ่านมาการพัฒนาในหลายๆ ด้าน ก็มาจากกลุ่มคนพิการ องค์กรคนพิการต่างๆ ที่มีส่วนร่วมนำเสนอร่วมกัน จนทำให้ระบบเกิดความครอบคลุมการดูแลที่จำเป็น โดยเฉพาะในส่วนของการดูแลคนพิการ” เลขาธิการ สปสช. กล่าว