การประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ถือเป็นเวทีการประชุมระดับนานาชาติประจำ ปีที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสำคัญและมีผลกระทบไปทั่วโลก โดยมีมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับหน่วยงานที่สำคัญทั้งภายในประเทศและหน่วยงานระหว่างประเทศ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานระดับนานาชาติอื่น ๆ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และนำ เสนอนวัตกรรมทางนโยบายสุขภาพที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง โดยหัวข้อการประชุมฯ หลักในปี 2568 (PMAC 2025) คือ “กุมทิศทางเทคโนโลยีในยุคของ AI สู่โลกที่มีสุขภาวะที่
ดีขึ้น” หรือ "Harnessing Technology in an Age of AI to Build a Healthier World" จะรวบรวมผู้นำระดับโลก นโยบาย นักวิจัย และนักนวัตกรรม เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะในด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างโลกที่ผู้คนมีสุขภาวะที่ดีขึ้นและเสมอภาคมากขึ้น
ในฐานะส่วนหนึ่งของการประชุม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมการศึกษาดูงาน (Field Trip) ในหัวข้อ “Establishing an Open Data Platform for AI development and Utilizing Metaverse in Medical Training and Patient Care in Thailand” โดยมุ่งเน้นการนำเสนอความก้าวหน้าการในใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเมตาเวิร์ส ผ่านเครื่องมือ AR/VR เพื่อสร้างนวัตกรรมในการดูแลสุขภาพและการฝึกอบรมทางการแพทย์
ที่มาและความสำคัญของการประชุม PMAC 2025
การประชุมรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (PMAC) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นเวทีระดับนานาชาติสำหรับผู้นำด้านสุขภาพ ผู้กำหนดนโยบาย นักวิจัย และผู้ริเริ่มจากทั่วโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนำเสนอนวัตกรรมที่สามารถปรับปรุงระบบสุขภาพทั่วโลกได้ การประชุมครั้งนี้ยังเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงวางรากฐานให้กับการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทย
การศึกษาดูงานไฮไลต์
หนึ่งในกิจกรรมหลักของ PMAC 2025 ได้แก่กิจกรรมศึกษาดูงาน (Field Trip) ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 30 มกราคม 2568 ระหว่างเวลา 9.00 – 12.10 น. ณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร กิจกรรมศึกษาดูงาน (Field Trip) นี้จะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้เห็นถึงการบูรณาการการพัฒนาฐานข้อมูลทางการแพทย์ เทคโนโลยี AI และเมตาเวิร์ส ในด้านสุขภาพ และข้อเสนอแนะผ่านมุมมองของโรงเรียนแพทย์ในการเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านสุขภาพ โดยเน้นบทบาทของโรงเรียนแพทย์ในการเป็นผู้นำทั้งด้านเทคโนโลยีการศึกษาและสุขภาพ การสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลทางการแพทย์ที่ล้ำหน้า และการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของประชาคมโลกในอนาคต
ไฮไลต์สำคัญของกิจกรรมศึกษาดูงาน (Field Trip) :
1. แพลตฟอร์มข้อมูลทางการแพทย์เปิด :
- ผู้เข้าร่วมจะได้พบกับตัวอย่างการพัฒนา แพลตฟอร์มข้อมูลทางการแพทย์แบบเปิด (Open Medical Data Platform) ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ร่วมก่อตั้งและออกแบบร่วมกับหน่วยงานระดับประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพและนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI โดยแพลตฟอร์มนี้สนับสนุนการกำหนดมาตรฐานข้อมูล การแบ่งปัน และการกำกับดูแล ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างระบบ AI ที่แข็งแกร่งในประเทศไทย
- ตัวอย่างของขับเคลื่อนนวัตกรรม และการพัฒนาต่อยอด AI อันเป็นผลลัพธ์จากแพลตฟอร์มนี้
2. การบูรณาการ AR/VR ในการฝึกอบรมทางการแพทย์และการดูแลผู้ป่วย :
- การสำรวจเทคโนโลยี AR/VR ที่ใช้ในการฝึกอบรมทางการแพทย์เพื่อสร้างภาพสามมิติของร่างกายมนุษย์
- การนำเสนอแอปพลิเคชัน VR ในการดูแลผู้ป่วย และเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย
3. การอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญ :
- รับฟังการอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับศักยภาพในอนาคตของการพัฒนาฐานข้อมูลทางการแพทย์ AI และเมตาเวิร์สในด้านการดูแลผู้ป่วย โดยแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับวิธีที่เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงการฝึกอบรมทางการแพทย์ ผลลัพธ์ของผู้ป่วย และระบบสุขภาพของประเทศไทย
- บูทจัดแสดงนวัตกรรมกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี : อาทิ เช่น บูทสาธิตการใช้งาน แพลตฟอร์มข้อมูลทางการแพทย์แบบเปิด (Open Medical Data Platform) และการพัฒนานวัตกรรมด้าน AI จากแพลตฟอร์มข้อมูลดังกล่าว บูทการสาธิตการใช้นวัตกรรม AR/VR เพื่อเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้การวิภาคศาสตร์สำหรับนักศึกษาแพทย์ ระบบการคัดกรองฉุกเฉินแบบเสมือนจริง และเพื่อการดูแลแบบประคับประคองเพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย และการใช้นวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยบกพร่องทางสายตา เป็นต้น
ผู้ให้ข้อมูลและวิทยากรสำคัญ
- ศ.คลินิก นพ.อาทิตย์ อังกานนท์ – คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
- ศ.นพ. ม.ล. ชาครีย์ กิติยากร – รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและความร่วมมือ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- รศ.นพ. สิทธิ์ พงษ์กิจการุณ – หัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด – ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)
- ดร. นที เทพโภชน์ – นายกสมาคมเมตาเวิร์สไทย
- คุณศิริพร เสมสาร – ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการดูแลแบบประคับประคอง คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- ดร. เบญริตา จิตอารี – สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- ความเข้าใจเกี่ยวกับการมาตรฐานและการใช้ข้อมูลสุขภาพในการพัฒนา AI และการปรับปรุงผลลัพธ์ของผู้ป่วย ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในระบบสุขภาพของประเทศ
- ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทการเปลี่ยนแปลงของ AR/VR ในการศึกษาทางการแพทย์และการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยระยะสุดท้าย
- การสร้างโอกาสความร่วมมือระหว่างภาคส่วนสุขภาพของไทยและผู้มีส่วนร่วมระดับนานาชาติ
ทัศนศึกษานี้เป็นตัวอย่างที่ดีของความมุ่งมั่นของ PMAC 2025 ในการ ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างโลกที่มีสุขภาพดีและเท่าเทียมยิ่งขึ้น ส่งเสริมความร่วมมือระดับนานาชาติ และแบ่งปันโซลูชั่นด้านสุขภาพที่เป็นนวัตกรรมของประเทศไทยบนเวทีโลก
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Field trip และโครงการริเริ่มต่าง ๆ ของ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่จะจัดแสดงในงาน PMAC 2025 สามารถเข้าศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ [https://pmac-2025.com/fieldtrip/3/detail]