– อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส เปิดเผยข้อมูลจากรายงาน Risk Outlook 2022 ว่าองค์กรทั่วโลกพร้อมเพิ่มงบประมาณการลงทุนเพื่อสุขภาพของพนักงาน นอกจากนี้ ข้อมูลจากรายงานและแผนที่ความเสี่ยงโลกปรับปรุงใหม่นี้ ได้ชี้ให้เห็นว่าองค์กรต่าง ๆ กำลังเตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่ทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น
จากผลการสำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยงเกือบ 1,000 คนใน 75 ประเทศ[1] ผนวกกับข้อมูลเชิงลึกจาก Workforce Resilience Council และข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส บ่งชี้ว่าต่อไปองค์กรจะลงทุนในด้านการรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตมากขึ้น และในความเป็นจริงแล้วมีหน่วยงานมากกว่า 56% มีแผนเพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับการพัฒนาทั้งสองด้านนี้
ทุกวันนี้องค์กรต่าง ๆ กำลังเผชิญกับความท้าทายด้านสุขภาพทั้งสองส่วน คือนอกจากสุขภาพกายแล้ว โรคระบาดใหญ่ทั่วโลกยังส่งผลต่อวิกฤตสุขภาพจิตอีกด้วย มากกว่าหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถาม (36%) คาดว่าสุขภาพจิตจะส่งผลให้ผลผลิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 2565
ความจำเป็นในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการที่องค์กรต่าง ๆ คาดว่าจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในปี 2565 กล่าวคือ มากกว่าสองในสาม (68%) ขององค์กรคาดการณ์ว่าความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหรือยังคงเท่าเดิมในปีหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้มีอำนาจตัดสินใจที่รับผิดชอบการเดินทางเพื่อธุรกิจ 69% และพนักงานที่ได้รับมอบหมายให้ไปประจำในต่างประเทศ 67% คาดว่าความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นหรือเท่าเดิม
สาเหตุหลักที่คาดว่าจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของพนักงานลดลงในปี 2565
- โควิด 19
- ปัญหาสุขภาพจิต
- ภัยธรรมชาติรวมถึงสภาพอากาศที่รุนแรง
- ข้อกังวลด้านการเดินทาง
- ภัยคุกคามด้านความปลอดภัยและเหตุการณ์ความไม่สงบ
นายแพทย์ นีล เนอร์วิชผู้อำนวยการกลุ่ม ฝ่ายการแพทย์ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ให้ความเห็นว่า “ในปี 2565 เรากำลังเผชิญกับภัยคุกคามต่าง ๆ นานา ที่ซ้อนตัวกันอยู่เป็นชั้น ๆ กล่าวคือ เรากำลังก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 3 ของการแพร่ระบาดของโรค ในขณะที่สถานการณ์ โควิด-19 และผลกระทบจากการล็อคดาวน์จะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ธุรกิจชะงักงัน และความเสี่ยงอื่น ๆ ก็จะปรากฎตัวโผล่ขึ้นมาให้เห็นเด่นชัดมากขึ้นตามมาในทันทีที่ผู้คนเริ่มกลับมาเดินทาง จากการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าปี 2565 จะเป็นปีแห่งการลาออกครั้งใหญ่ องค์กรต้องออกมาตรการจำเป็นต่าง ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนพนักงาน โดยการลงทุนในกิจกรรมเพื่อสุขภาวะทางอารมณ์และสุขภาพกายซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นต่อการรักษาพนักงานไว้ นอกจากนี้ ยังจะช่วยหลีกเลี่ยงวัฎจักรแห่งความเลวร้ายที่สร้างปัญหาด้านประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย และเนื่องจากการทำงานของรัฐบาลและระบบการดูแลสุขภาพหลายแห่งยังต้องดำเนินต่อไปภายใต้สถานการณ์ที่มีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น องค์กรเชิงรุกเท่านั้นจะสามารถยืนหยัดความเป็นผู้นำได้ องค์กรที่สามารถช่วยพนักงานให้ทำงานในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด ย่อมจะได้รับการปรับตัว ยืดหยุ่น ความจงรักภักดี และประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานที่เพิ่มขึ้นตอบแทนกลับมา”
โควิด-19 ยังคงฉุดรั้งให้ธุรกิจชะงัก ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ ต่อสู้ที่จะรับมือ
สำหรับหลาย ๆ องค์กร โควิด-19 ยังคงเป็นความท้าทายในการดำเนินงานที่สำคัญ หนึ่งในสาม (33%) ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดกล่าวว่า การมีทรัพยากรที่พอเพียงสำหรับการจัดการกับไวรัสถือได้ว่าเป็นความท้าทายสูงสุดในปี 2565 นี้ และเป็นที่น่าประหลาดใจที่ว่าหากพิจารณาเฉพาะองค์กรในเอเชีย จะเห็นได้ว่ามีอัตราที่สูงกว่า กล่าวคือเกือบครึ่งคือที่ระดับ 47% นั่นแสดงให้เห็นว่าภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ในช่วงแรก ๆ อาจยังคงต้องรับมือกับการหยุดชะงักต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ในขณะเดียวกัน ผู้ตอบแบบสอบถามจากยุโรปตะวันตกและอเมริกามีแนวโน้มที่ต้องเจอความท้าทายกับการวางนโยบายเกี่ยวกับโควิด-19 มากขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากความจำเป็นในการกำหนดนโยบายการตรวจโควิดและการฉีดวัคซีนสำหรับโควิด-19 ทั้งนี้ 36% ของผู้ตอบแบบสอบถามในยุโรปตะวันตกและอเมริการะบุถึงเรื่องนี้ว่าเป็นปัญหา ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกจำนวน 25% มองว่าสิ่งนี้เป็นความท้าทาย
ในการรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ การจัดการผลกระทบที่สำคัญอย่างต่อเนื่องของโควิด-19 จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ องค์กรต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้นำควบคู่ไปกันกับการทำงานของแผนกต่าง ๆ เช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และการบริหารความเสี่ยง
ปัญหาด้านความปลอดภัยที่ยืดเยื้อคือความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่การแพร่ระบาดของโรคเป็นความกังวลอันดับต้นๆ แต่ทว่าความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอื่น ๆ ที่ยืดเยื้อก็คาดว่าจะเป็นตัวการที่ทำให้ธุรกิจชะงักในปี 2565 นี้เช่นกัน
ประเด็นความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถาม 21 % คาดการณ์ว่าภัยธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยสภาพอากาศที่รุนแรง จะเป็นปัจจัยที่กระทบต่อธุรกิจในปี 2565 ตามมาด้วยความกังวลด้านการคมนาคมขนส่งสำหรับการเดินทางในท้องถิ่น ภายในประเทศและระหว่างประเทศ (19%) และภัยคุกคามด้านความปลอดภัยและเหตุการณ์ไม่สงบ (16%)
มิกค์ ชาร์ป ผู้อำนวยการบริการด้านความมั่นคงปลอดภัยของ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส กล่าวว่า “ในการรับมือกับความเสี่ยง องค์กรจะต้องระบุจุดบอดของการบริหารจัดการภาวะวิกฤตทั้งภายในและภายนอกให้ชัดเจน และลงมือดำเนินการทันที เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น องค์กรต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่เป็นข้อเท็จจริง ปราศจากอคติ และมองไปข้างหน้า โดยเป็นรายละเอียดเฉพาะที่เชื่อถือได้ของแต่ละสถานที่ให้แก่พนักงานที่ต้องเดินทาง ตลอดจนพนักงานภายในประเทศให้ได้รับทราบอยู่เสมอ ทั้งนี้ การติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบก็นับเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน อีกทั้งหน่วยงานต้องมีกระบวนการที่เหมาะสมในการปฏิบัติตามหลักหรือความรับผิดชอบในการดูแลทรัพยากรบุคคล”
มุมมองของ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส
จากผลการสำรวจ Risk Outlook ร่วมกับข้อมูลของ Workforce Resilience Council และข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส การคาดการณ์ 5 อันดับแรกของ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ในปีนี้ ได้แก่:
- โควิด-19 และปัญหาสุขภาพจิตระยะยาวจะเป็นอุปสรรคหลักในการทำงานของพนักงานในปี 2565 โดยจะส่งผลต่อปัญหาการขาดงานและความต่อเนื่องงานที่ทวีความรุนแรงขึ้น
- การแพร่ระบาดของข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน (Infodemic) จะยิ่งทำให้การดูแลและปกป้องพนักงานดำเนินการได้ยากขึ้นไปอีก ในขณะที่ภาระหน้าที่ในการดูแลพนักงาน (duty of care) จะถูกปรับเปลี่ยนไปตามมาตรการด้านสุขภาพและความปลอดภัย ความคาดหวังของพนักงาน และการปฏิบัติตามกฎระเบียบใหม่ ๆ ที่ออกมา
- กิจกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดใหญ่จะเริ่มเข้าสู่ภาวะทรงตัวภายในปี 2566 เนื่องจากองค์กรใช้การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยมาสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน โดยนำมาใช้เป็นมาตรการในการรักษาบุคลากร และสร้างความเต็มใจที่จะกลับไปทำกิจกรรม ซึ่งรวมไปถึงการเดินทางเพื่อธุรกิจ
- ความเสี่ยงขององค์กรที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันได้ตั้งตัว ซึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความไร้ระเบียบทางสังคมและความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์จะยกระดับสูงขึ้นมากกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด
- การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (climate change) จะเพิ่มความถี่และระดับความรุนแรงของภัยคุกคามหรืออันตราย (hazard) ที่เกิดขึ้นจากสภาพที่ไวต่ออากาศ อาทิ โรคติดเชื้อ สภาพอากาศที่เลวร้าย (extreme weather event) และความตึงเครียดทางเศรษฐกิจและสังคม
Risk Outlook 2022 จะถูกนำเสนอในงาน Thailand Risk Outlook Webinar ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ท่านที่ประสงค์จะลงทะเบียน กรุณาคลิกที่นี่
[1] The annual risk outlook study exposes gaps in the protection of employee health and security such as risk perception, mental health, productivity impacts and operational challenges. The survey* is complemented with interpretations and predictions from the Workforce Resilience Council, as well as extensive proprietary data and analysis from International SOS. The Workforce Resilience Council is is made up of representative experts of all health, security, and safety fields. The participants in this year’s Council are from a mix of think tanks, associations, advisory boards, NGOs, and IGOs, relevant to the risks of working at home or abroad.