“ตามล่า...ปริศนาการนอน” เป็นเรื่องราวเจาะลึกปัญหานอนน้อย นอนไม่พอ หยุดหายใจขณะหลับ EOLIFEMED ร่วมกับ TNNHEALTH นำเสนอข้อมูลฉบับเต็มด้วยเนื้อหา เจาะลึกจากอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเชี่ยวชาญคุณภาพการนอนหลับมาไขความลับของปริศนาการนอนที่ใช้เวลามากถึงหนึ่งในสามของชีวิตว่ามีกลไกที่ซ่อนเร้นที่หลายคนอาจไม่รู้มาก่อนว่า โรคจากการนอนที่ไม่มีคุณภาพ สร้างอันตรายต่อชีวิตแค่ไหน
นางสุภาพรรณ์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีโอ ไลฟ์เมด จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายเครื่องช่วยหายใจขณะหลับ RESMEDและเครื่องตรวจวิเคราะห์การนอนหลับ NOX เปิดเผยว่า นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน (หมอแทน) ได้แนะนำบริษัทให้มีส่วนร่วมเสริมสร้างการรับรู้ความสำคัญของคุณภาพการนอนหลับในช่วงเฉลิมฉลองในวันนอนหลับโลก (World Sleep Day) ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2565 เพื่อเป็นการต่อยอดจากหมอแทนครั้งหนึ่งเมื่อ 3-4 ปีก่อนได้แต่งหนังสือคุณภาพการนอนหลับแบบอ่านง่าย ๆ สำหรับบุคคลทั่วไป โดยแนะนำให้ทำอย่างจริงจังเพื่อสังคม โดยเรียนเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาการนอนหลับซึ่งแพทย์ไทยมีชื่อเสียงมากระดับ Inter มาให้ความรู้การนอนหลับที่ดี มีคุณภาพ การดูแล การใส่ใจการนอน กับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นประโยชน์ให้ประชาชนชาวไทยให้มีสุขภาพแข็งแรง อยู่อย่างมีความสุข โดยเฉพาะที่ไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ
“เหตุผล...คุณภาพที่ดีของการนอนเป็นเรื่องสำคัญต่อระบบร่างกายทั้งในเรื่องการสร้างการเจริญเติบโต การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งการกำจัดขยะในสมองที่มีการวิจัยในต่างประเทศจากมหาวิทยาลัยสโตนีบรูค (Stony Brook University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ลงในวารสารประสาทวิทยา (Journal of Neuroscience) เผยว่าระบบกลิมพาติก (Glymphatic System) จะทำงานคล้ายกับระบบต่อมน้ำเหลืองของร่างกาย เพื่อกำจัดขยะในสมอง เช่น อัลมีลอยด์ บีตา (Amyloid Beta) และโปรตีนเทา (Tau Proteins) เป็นตัวจุดชนวนโรคอัลไซเมอร์ และโรคระบบประสาทอื่น ๆ ตามมา ซึ่งกระบวนการทั้งหมดเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาการนอนอย่างมีคุณภาพ”
ทั้งนี้ บริษัทได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก 3 สมาคม ได้แก่ สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย สมาคมนิทราเวชศาสตร์ และสมาคมโรคนอนกรนและการนอนหลับ กับท่านอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาคุณภาพการนอน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ที่จะกระตุ้นการรับรู้ให้กับสังคมตระหนักถึงความสำคัญของการนอนอย่างเป็นกระบวนการ มีการจัดเรียงเนื้อหาให้ความรู้แบบง่ายต่อการเข้าใจ ซึ่งผลิตสื่อโดย TNN ออกอากาศในรายการ TNN HEALTH ช่อง TNN16 และทางSocial Media ของ TNN HEALTH ให้ความรู้แก่ประชาชน และเพื่อไขความลับการตามล่าปริศนาการนอน โดยได้ตั้งชื่อ ซีรีย์ นี้ว่า “ตามล่า...ปริศนาการนอน” รวม 3 ตอน ซึ่งจะออกอากาศในตอนแรกวันเสาร์ที่ 5, 12, 19 มีนาคม เวลา 15.00-15.30 น. ณ ช่อง TNN16
ตอนที่ 1 ความสำคัญของการนอน คุณภาพการนอนมีผลต่อสุขภาพและมีอันตรายอย่างไร
แนวโน้มความเสี่ยงของโรคอะไรบ้างหากมีคุณภาพการนอนที่ไม่ดี
วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 65 เวลา 15.00-15.30 TNN16 โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย
พลโท ดร. นพ. โยธิน ชินวลัญช์ นายกสมาคมนิทราเวชศาสตร์
ศ.นพ.ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ นายกสมาคมโรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ
อ.พญ. วิสาห์สิริ ตันตระกูล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบหายใจ ศูนย์โรคการนอนหลับ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ตอนที่ 2 วิธีสังเกตอาการ วิธีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพการนอน Sleep Test วิธีแนวทางการรักษา
ในวันเสาร์ที่ 12 มีนาคม 65 15.00-15.30 TNN16
Sleep Test Type 1 Polysomnography (PSG)
เป็นเรื่องราวของความสำคัญของการนอน ปัญหาที่พบหากนอนน้อย นอนไม่พอ นอนกรน หรือหยุดหายใจขณะหลับจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของเรา การทดสอบหาสาเหตุที่สร้างวิกฤติปัญหาการนอนของแต่ละคน ตรวจอย่างเต็มรูปแบบ Type 1, Polysomnography (PSG) ตรวจในโรงพยาบาลโดยผู้เชี่ยวชาญ ให้เห็นปัญหาจริงจากผู้เข้าร่วมการทดสอบในครั้งนี้ กับ “เซียนโอ๊ตโตะ” นักแคสเกมชื่อดังจาก ONLINE STATION ที่ต้องตะลึงกับผลการวิเคราะห์ปัญหาการนอนของตนเองผ่านอุปกรณ์วิเคราะข้อมูลการนอนมาตรฐานระดับโลก แบรนด์ NOX ซึ่งพบว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับต่อเนื่องตลอดชั่วโมงการนอน รวมทั้งเนื้อหาที่จะบอกเล่าถึงแนวทางการปรับตัว การแก้ไข และการใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจขณะหลับ CPAP (ResMed) ที่วงการแพทย์ทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาการนอนได้ดีที่สุด
อาจารย์ นายแพทย์ เกษียรสม วีรานุวัตติ์ (อายุรแพทย์) โรคสมองและระบบประสาท แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคการนอนหลับ โรงพยาบาล สมิติเวช ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า การตรวจวิเคราะห์ ใช้เครื่องตรวจวิเคราะห์การนอนหลับ NOX A1s เป็นลักษณะแบบ Full Polysomnography (PSG) ระบบ connect แบบ Bluetooth ติดตั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว สบายตัว ไม่รุงรัง ใช้เวลาติดตั้งเพียง 20-30 นาที วัตถุประสงค์เพื่อหาจำนวนครั้งที่หยุดหายใจขณะหลับ เจาะลึกดูคลื่นสมอง เช่น ความฝัน การหลับลึก หลับตื้น ปัจจัยทำให้หยุดหายใจ ความสม่ำเสมอของการเต้นของหัวใจ ระดับออกซิเจนในร่างกายระหว่างหลับลึก หลับตื้น การสะดุ้งตื่นเฮือกหายใจ เป็นต้น ทั้งนี้จะมีการสาธิตการใช้อุปกรณ์และการตรวจวิเคราะห์จริง จากเครื่อง NOX A1s
Sleep Test Type3 Home Sleep Test (HST)
“อีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจซึ่งเริ่มจะเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะช่วง COVID มีจำนวนคนไข้ไม่น้อยที่ไม่อยากไปทำ sleep test ที่โรงพยาบาล โรงพยาบาลเองก็กลัวถึงขั้นปิด Sleep Lab แต่อยากทำที่บ้าน หรือโรงแรม (Home Sleep Test) คนไข้กลุ่มนี้ มักจะมีอาการไม่ค่อยรุนแรง แต่มีเหตุที่น่ารำคาญ เช่น นอนกรน ดังจนรบกวนคนนอนข้าง ๆ ตื่นมาไม่สดชื่น ลุกขึ้นเข้าห้องน้ำบ่อย หาวนอนอยู่เรื่อย บ่าย ๆ จะง่วง ขับรถไม่ปลอดภัย เพื่อนทักว่าทำไมหน้าดูเครียดโซม นอนไม่พอหรือไง เป็นต้น แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจ sleep test แบบ Typ3 ซึ่งจะเป็นการตรวจระบบทางเดินหายใจส่วนบนว่ามีการอุดกั้นจากระบบทางเดินหายใจส่วนไหน ในการสาธิตเราได้ใช้เครื่องตรวจวิเคราะห์การนอนหลับ NOX T3s” อาจารย์ แพทย์หญิง ศิวพร เลิศพงษ์พิรุฬท์ (อายุรศาสตร์) โรคระบบการหายใจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการนอนหลับ โรงพยาบาล ราชวิถี ให้ความรู้เพิ่มเติม
ตอนที่ 3 ปริศนาการนอนหลับกับช่วง COVID ระบาด
วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 65 15.00-15.30 TNN16
เป็นการแลกเปลี่ยน การวิเคราะห์แนวโน้มคนไข้ที่มีปัญหาหยุดหายใจขณะหลับ โดยเฉพาะในช่วง COVID ว่าจำนวนคนไข้มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่ อย่างไร และเพราะเหตุใด ภายใต้วิกฤตของ COVID หากแพทย์มีความเห็นว่าคนไข้อยู่ในขั้นวิกฤตที่จะต้องมีการวิเคราะห์การนอนหลับ จะมีวิธีจัดการอย่างไร โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงที่ท่านอาจรู้จักอยู่แล้ว ประกอบด้วย
- รศ. แพทย์หญิง นฤชา จิรกาลวสาน ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินหาย วิกฤตบำบัด และโรคจากการนอนหลับ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- นายแพทย์ ธนีย์ ธนียวัน (หมอแทน) อาจารย์ เชี่ยวชาญโรคปอด วิกฤตบำบัด และBrigham & Women’s Hospital อาจารย์แพทย์ มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณท่านอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ร่วมมือกันสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ครั้งนี้ รวมทั้งทางทีมรายการ TNNHEALTH ที่ตั้งใจผลิตถ่ายทำ ตัดต่อ ผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพสมบูรณ์ ทำให้ประชาชนเข้าใจความสำคัญของการนอน และทำให้ทราบถึงกระบวนการตรวจวิเคราะห์การนอนสามารถเริ่มได้ด้วยตัวเองที่บ้าน หรือจะทำที่โรงแรม นอกเหนือไปจากการตรวจวิเคราะห์ในโรงพยาบาล โดยทุกขั้นตอนควบคุมมาตรฐานโดยเจ้าหน้าที่เทคนิคที่ผ่านการอบรมตามมาตรฐานการแพทย์ระดับสากลเป็นที่ยอมรับ