สถานการณ์โควิด-19 ทำให้องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกหันมาคิดทบทวนรูปแบบการให้ความช่วยเหลือพนักงาน จากผลการศึกษาของ International SOS บริษัทผู้ให้บริการความช่วยเหลือด้านสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยแก่พนักงานขององค์การต่าง ๆ ทั่วโลกมากกว่า 12,000 บริษัท แสดงให้เห็นว่า ในปัจจุบันองค์การต่าง ๆ ในประเทศไทยให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นในการกำหนดกลยุทธ์ด้านการสนับสนุนพนักงานให้ชัดเจน เพื่อให้มั่นใจถึงความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ จากผลการศึกษาประจำปี Risk Outlook 2022 บ่งบอกว่าองค์กรต่าง ๆ กำลังเผชิญกับความท้าทายในด้านสุขภาพสองประการ นอกจากความปลอดภัยด้านกายภาพแล้ว สถานการณ์โรคระบาดยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตอีกด้วย ซึ่งองค์กรต่าง ๆ มากกว่าครึ่ง (56%) ได้เพิ่มการให้ความช่วยเหลือแก่พนักงานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และวางแผนที่จะเพิ่มงบประมาณในทั้งสองด้านนี้[1]
หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) คือผู้ที่อยู่เบื้องหน้าในการรับมือกับความท้าทายนี้ และถูกคาดหวังให้นำเสนอโครงการด้านสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สถานการณ์โควิด-19 ทำให้บทบาทของ HR ในองค์กรเกิดวิวัฒนาการเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเพิ่มทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ ในด้านปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน ข้อตกลงระหว่างสาขาในประเทศ และข้อกำหนดต่าง ๆ ในด้านสุขภาพ สถานการณ์โรคระบาดยังเป็นตัวเร่งให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างอนาคตที่ปลอดภัย ยืดหยุ่น และยั่งยืนสำหรับพนักงาน ซึ่งหากไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการดังกล่าว อาจส่งผลให้เกิดการถดถอยของประสิทธิภาพการทำงาน การรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร และความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน
นพ. จามร เงินชารี ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส กล่าวว่า “ในช่วงสถานการณ์โรคระบาด บุคลากรด้าน HR ได้เผชิญกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 60% และปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมและบทบาทสำคัญมากขึ้นในทีมบริหารภาวะวิกฤต[2] การพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสมกับขนาดองค์กร ความต้องการเฉพาะรวมถึงความท้าทายต่าง ๆ ที่แต่ละองค์กรต้องเผชิญเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การกำหนดมาตราการฉีดวัคซีน การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม การลดการขาดงานที่เกิดจากปัญหาสุขภาพ หรือการทำให้สวัสดิการด้านสุขภาพเป็นเครื่องมือในการทำให้พนักงานที่มีความสามารถอยากอยู่ทำงานกับองค์กร ซึ่งพนักงานที่ต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุน ได้แก่ พนักงานที่ประจำอยู่ในประเทศ พนักงานที่ประจำอยู่ต่างประเทศ และผู้ที่เดินทางเพื่อการทำงานหรือธุรกิจ”
นพ. จามร กล่าวต่อว่า “การดำเนินงานของเราในประเทศไทยเริ่มต้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2537 โดยเราเป็นแกนหลักในการให้บริการช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการช่วยเหลือในภาวะวิกฤต ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถรับมือได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต และเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสและความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นได้ เราเข้าใจถึงความท้าทายทางธุรกิจอย่างที่ไม่มีใครเหมือน และมีผลงานที่โดดเด่นในการช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ ในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความเป็นอยู่ สุขภาพ และความปลอดภัยของพนักงานทั้งในประเทศและทั่วโลกในเชิงรุก”
การให้บริการต่าง ๆ ตั้งแต่การสร้างความยืดหยุ่นในการกลับไปทำงาน การทบทวนและจัดทำนโยบายการเดินทาง และการวางแผนบริหารจัดการการกลับมาเดินทาง อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ผู้ให้บริการความช่วยเหลือด้านสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยทั่วโลก พร้อมที่จะช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ ให้มั่นใจว่าพนักงานมีสุขภาพที่ดีและปลอดภัยเพื่อการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน สิ่งนี้มีความสำคัญกับองค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะองค์กรที่อยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการรักษาพนักงานปัจจุบันไว้และดึงดูดผู้มีความสามารถใหม่ ๆ ให้เข้ามาร่วมงาน
“โปรแกรมการสร้างความยืดหยุ่นให้แก่พนักงาน ต้องรวมทุกสิ่งที่จำเป็นเพื่อบริหารจัดการทีมงานของคุณให้มีความปลอดภัยในระหว่างที่พวกเขาทำงานอยู่ทั่วโลก บริการของเราเป็นการเตรียมพนักงานให้พร้อมสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงในระดับต่าง ๆ ช่วยให้พวกเขารู้สึกว่าได้รับความช่วยเหลือและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คอยให้ความช่วยเหลือเมื่อมีคำถาม ข้อกังวล หรือวิกฤต ไม่ว่าจะที่ไหนเวลาใด การเป็นพันธมิตรกับอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส สามารถช่วยชีวิตผู้คน ยกระดับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน และเสริมสร้างความยืดหยุ่นขององค์กรได้” นพ. จามร กล่าวเสริม