เจ็บป่วยตอนท้อง ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย

ขณะตั้งครรภ์คุณแม่ทุกท่านจะรับประทานยาตัวใดเพื่อรักษาอาการก็มักจะกังวลว่ายาตัวนี้จะมีผลต่อลูกในครรภ์ไหมนะ ยาตัวไหนบ้างนะที่คุณหมอเคยห้าม เป็นไข้ปวดหัว ไอ มีเสมหะ กินยาฆ่าเชื้อได้ไหมจะอันตรายต่อลูกรึเปล่า คำถามเหล่านี้คงวนเวียนซ้ำ ๆ บางท่านถึงกับเลือกที่จะอดทน ไม่รับประทานยาใดเลยเพราะกลัวว่าจะไปกระทบต่อลูกน้อย หากอาการค่อย ๆ ดีขึ้นก็โล่งใจ แต่หากเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นเมื่อไหร่กว่าคุณแม่จะได้รับประทานยาที่ถูกต้อง บางทีอาการป่วยก็ทวีความรุนแรงจนอาจจะส่งผลเสียต่อทั้งคุณแม่และคุณลูกไปแล้ว เรามาดูกันเถอะว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ควรเลือกใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์
1. อาการปวดหัวไมเกรน
หากมีอาการปวดไมเกรน ควรแจ้งแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ยาที่สามารถใช้ได้ : ยาพาราเซตามอล
- รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ห่างกัน 4-6 ชั่วโมง (ขึ้นกับน้ำหนักตัว และขนาดยา)
- ห้ามรับประทานเกิน 4,000 มิลลิกรัม/วัน
- หากรับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์
ที่สำคัญห้ามใช้ ยาแก้ปวดไมเกรนเออร์โกทามีน (Ergotamine) เด็ดขาด !!! เพราะทำให้ลูกน้ำหนักตัวน้อย และมดลูกบีบตัวเกิดการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้


2. อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
ยาที่สามารถใช้ได้ : วิตามินบี6 (Pyridoxine) ยาขิง


3. อาการคัดจมูก
วิธีที่ควรเลือกใช้ : สามารถใช้น้ำเกลืออุ่น ๆ พ่น/ล้างจมูก เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นได้


4. อาการท้องผูก
ยาที่สามารถใช้ได้ : ยาระบายชนิดเพิ่มปริมาณอุจจาระ (bulk-forming laxatives) เป็นยาที่ใช้ในหญิงมีครรภ์ได้ เช่น ไฟเบอร์จากเมล็ดเทียนเกล็ดหอย (psyllium husk), เมทิลเซลลูโลส (methylcellulose)
- ยาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในรูปยาผง ก่อนรับประทานให้ละลายผงยาให้เข้ากันดีกับน้ำ โดยห้ามผสมยากับน้ำร้อน เนื่องจากทำให้ผงยาไม่ละลายและกลายเป็นวุ้น
- รับประทานยาหลังผสมทันที
- รับประทานห่างจากยาอื่นอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- ควรดื่มน้ำมากๆ และบริโภคอาหารที่มีกากใยให้เพียงพอ
- การใช้ยาระบายเป็นการบรรเทาอาการท้องผูกชั่วคราวเท่านั้น


5. อาการท้องเสีย
ยาที่สามารถใช้ได้ : ยาผงเกลือแร่ ORS


6. ยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ยาที่สามารถใช้ได้ : ยาไซเมทิโคน (Simethicone)


นอกจากนี้ยังมียาอื่น ๆ ที่ควรระมัดระวังในการรับประทาน เช่น ยาที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกโดยเฉพาะในช่วงการตั้งครรภ์สามเดือนแรก อาจทำให้ทารกมีภาวะพิการทางสมองหรือปัญญาอ่อนได้


ดังนั้นหากมีอาการเจ็บป่วยขณะตั้งครรภ์ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับคำแนะนำและการรักษาที่ถูกต้อง โดยแพทย์จะพิจารณาการรักษาและยาที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล ไม่ควรซื้อยากินเอง หรือแม้แต่ยาบางชนิดที่เคยรับประทานเป็นประจำหรือยารักษาโรคประจำตัวก็อาจจะเป็นยาที่อันตรายร้ายแรงต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรให้ทราบว่าตั้งครรภ์อยู่ก่อนใช้ยา


 

 


ข้อมูลอ้างอิง


1.เครื่องดื่มและยาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเลี่ยง-สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข. (2020). RetrievedDecember 26, 2023, from 


2.    กรดไหลย้อนในหญิงตั้งครรภ์-ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแพทย์(n.d.) 


3.การใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์-สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา( อย. ). (n.d.). RetrievedDecember 27, 2023, from 


4.    Nausea and Vomiting ofPregnancy – Department of Obstetrics and Gynecology Faculty of Medicine ChiangMai University.(2018). Retrieved December 26, 2023, from 


5.การใช้ยาในหญิงมีครรภ์: ข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์| โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล. (2022). Retrieved December 26, 2023, from 


6. Pseudoephedrine (Sudafed®). (1994). In Mother To Baby | FactSheets. Organization of Teratology Information Specialists (OTIS). 


7.กร็ดความรู้ของคุณแม่ตั้งครรภ์กับการใช้ยา| คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา. (n.d.). Retrieved December 27, 2023, from 


8.โรคจมูกและไซนัสในหญิงตั้งครรภ์. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล.(2014). Retrieved December 27, 2023, from 


9.What medicine can Itake for allergies while I’m pregnant? (2021). Retrieved December 27, 2023,from 


10.   Safety of MedicationsDuring Pregnancy—Women’s Health Issues. (2023). MSD Manual Consumer Version.Retrieved December 27, 2023, from 


11.Black, R. A., & Hill, D. A. (2003). Over-the-countermedications in pregnancy. 


12.  Stanley, A. Y., Durham, C. O., Sterrett, J. J., &Wallace, J. B. (2019). Safety of Over-the-Counter Medications in Pregnancy. 


13.การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร. (n.d.). RetrievedDecember 28, 2023, from 


      14. การใช้ยาระบายชนิดเพิ่มปริมาณอุจจาระสำหรับอาการท้องผูก| โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล. (2022). Retrieved May 23, 2024, from 

 


 


ขอบคุณข้อมูลจาก https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/2307