กรดยูริกสูง สาเหตุของโรคหลายชนิด

กรดยูริก คือ สารที่ได้จากการสลายตัวของ Purine ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นมาตามธรรมชาติหรือการแตกตัวของเซลล์ รวมทั้งอาหารบางชนิดที่รับประทานเข้าไป หากร่างกายของเรามีการกำจัดกรดยูริกออกผ่านทางปัสสาวะได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดภาวะกรดยูริกในโลหิตสูง เสี่ยงต่อโรคหลายชนิด เช่น เกาต์ นิ่ว ข้อและไตอักเสบ เป็นต้น ซึ่งทราบได้จากการเก็บตรวจปัสสาวะ
กรดยูริกสูงเกิดจากอะไร
ภาวะ Hyperuricemia เกิดขึ้นได้จากร่างกายผลิตกรดยูริกขึ้นมาในปริมาณมากจนผิดปกติเอง หรือการขับสารนี้ออกผ่านปัสสาวะไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากความบกพร่องของไต ซึ่งระดับค่าของกรดยูริกจะเปลี่ยนไปตามอายุที่เพิ่มสูงขึ้น เพศกำเนิด รวมทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีมากในช่วงวัยเจริญพันธุ์ จะช่วยกำจัดสารนี้ และเมื่อเข้าสู่วัยประจำเดือนฮอร์โมนนี้ก็จะลดลง ทำให้ผู้หญิงจึงมีค่ากรดยูริกในเลือดปกติอยู่ที่ไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และผู้ชายมีค่าปกติไม่เกินอยู่ที่ 7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้กรดยูริกในเลือดสูงขึ้นหรือยับยั้ง ขัดขวางการขับสารนี้ออกทางปัสสาวะ ไม่ว่าจะเป็น
ความผิดปกติทางพันธุกรรมของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสาร Purine
* ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือด
* มีความผิดปกติบริเวณไตและต่อมไร้ท่อ
* บริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือผลไม้ที่อุดมไปด้วยฟรุกโตส
* ใช้ยาบางชนิด


กรดยูริกสูงห้ามกินอะไร
เครื่องในสัตว์
เนื้อสัตว์ปีก
ซุปเนื้อวัว
ปลาดุก ซาร์ดีน
หอย
กุ้ง
ถั่ว
กะปิ
ยีสต์
ชะอม
กระถิน
เห็ด
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์


กรดยูริกสูงกินอะไรได้บ้าง
ไข่ไก่
นมสด
ข้าวโอ๊ต
ขนมปัง
น้ำตาล
ถั่วงอก
คะน้า
ผลไม้ชนิดต่าง ๆ
เนย
ไขมันจากพืช และสัตว์


กรดยูริกสูงควรทำอย่างไร
พบแพทย์เพื่อรับฟังคำแนะนำในการปฏิบัติที่ส่งผลให้ระดับค่าของกรดยูริกในร่างกายลดระดับลง
* ใช้ยาที่ได้รับจากแพทย์อย่างเคร่งครัด
*ดื่มน้ำเปล่าสะอาดในปริมาณที่มากกว่าปกติ
*เลือกรับประทานและหลีกเลี่ยงอาหารต่าง ๆ ที่กล่าวมาในหัวข้อข้างต้น
*หากต้องเข้ารับการรักษาโรคประจำตัวอื่นหรือได้รับการผ่าตัด ควรแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ว่าตนเองนั้นระดับค่าของกรดยูริกในร่างกายสูง
ในการเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อตรวจหาค่ากรดยูริกอยู่ในร่างกายนั้น มักจะอยู่ในโปรแกรมตรวจสุขภาพต่าง ๆ ซึ่งโรงพยาบาลเพชรเวชพร้อมให้บริการ แม้ว่าภาวะกรดยูริกสูงนี้ อาจจะไม่ไม่มีอาการความผิดปกติเอาไว้ แต่ก็ไม่ควรปล่อยเอาไว้ ถ้าหากมีการขับกรดยูริกผ่านทางปัสสาวะปริมาณมากเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะสูง

ขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลเพชรเวช


https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/hyperuricemia