โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคของความเสื่อมที่เกิดขึ้นในระบบประสาท โดยเกิดขึ้นกับเซลล์ประสาทที่ผลิตสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ที่อยู่บริเวณก้านสมองส่วนบน (Midbrain) ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมักจะแสดงออกด้วยอาการของการเคลื่อนไหวผิดปกติเป็นอาการหลัก ซึ่งจะต่างกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ที่ผู้ป่วยมักจะแสดงออกด้วยอาการความจำหลงลืมเป็นอาการหลักปัจจุบันยังไม่พบปัจจัยหลักปัจจัยเดี่ยวที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการศึกษาพบว่า การมีประวัติสัมผัสสารเคมีในภาคอุตสาหกรรม หรือ สารเคมีในภาคเกษตรกรรม เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช ประวัติการใช้สารเสพติด เช่น เฮโรอีน หรือ แอมเฟตามีน การถูกกระทบกระแทกบริเวณศีรษะซ้ำเป็นเวลานาน หรือ การมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสันในหลายๆรุ่น อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคพาร์กินสันได้ ความชุกของโรคพาร์กินสันพบได้ประมาณร้อยละ 1 ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และความชุกจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 4 ในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะมีอาการและอาการแสดงอย่างไร? อาการของโรคพาร์กินสันนั้นแบ่งออกเป็น อาการความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว (Motor symptoms) อาการความผิดปกติที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว (Non-motor symptoms) อาการความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว จะประกอบไปด้วย 4 อาการหลักๆ ได้แก่ อาการสั่น (Tremor) สามารถเป็นที่มือ, ขา หรือ คางและมักจะเกิดขึ้นในขณะพักไม่ได้ใช้งานแขนขาด้านนั้นๆ อาการกล้ามเนื้อฝืดเกร็ง (Rigidity) โดยทั่วไปมักจะถูกตรวจพบโดยแพทย์ พบได้ที่บริเวณแขน ขา คอ หรือ ลำตัว อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) ผู้ป่วยจะมีการเคลื่อนไหวที่ช้าและความกว้างของการเคลื่อนไหวจะค่อยๆ ลดลงเมื่อทำการเคลื่อนไหวนั้นซ้ำๆ เช่น การกำแบมือทำได้ช้าและเมื่อทำซ้ำๆ พบว่าจะแบมือได้กว้างน้อยลงกว่าเดิมเป็นต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจะมาพบแพทย์ด้วยว่าขณะเดินแกว่งแขนได้ลดลงอาการสั่น, กล้ามเนื้อฝืดเกร็ง และการเคลื่อนไหวช้านั้น ในช่วงแรกของโรคอาการดังกล่าวมักจะแสดงออกที่ร่างกายข้างใดข้างหนึ่งก่อน จากนั้นเมื่อการดำเนินโรคเป็นมากขึ้น อาการดังกล่าวจะกระจายข้ามไปยังร่างกายข้างตรงข้าม แต่จะยังคงมีความรุนแรงของอาการไม่เท่ากันโดยข้างที่เป็นจุดเริ่มต้นของอาการมักจะยังคงมีความรุนแรงที่มากกว่าข้างที่เป็นตามมาทีหลัง การทรงตัวที่ไม่มั่นคง (Postural instability) ผู้ป่วยจะล้มง่ายกว่าปกติและมักพบว่าลำตัวและศีรษะจะค้อมไปด้านหน้านอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจจะแสดงอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ เช่นเขียนหนังสือตัวเล็กลง, เดินเท้าชิดก้าวสั้นๆ และซอยเท้าถี่ๆ, เดินศีรษะพุ่งไปด้านหน้าสีหน้านิ่งเฉยไม่แสดงอารมณ์ หรือ พูดรัวๆ และเสียงเบา เป็นต้น
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะมีอาการและอาการแสดงอย่างไร? อาการของโรคพาร์กินสันนั้นแบ่งออกเป็น อาการความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว (Motor symptoms) อาการความผิดปกติที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว (Non-motor symptoms) อาการความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว จะประกอบไปด้วย 4 อาการหลักๆ ได้แก่ อาการสั่น (Tremor) สามารถเป็นที่มือ, ขา หรือ คางและมักจะเกิดขึ้นในขณะพักไม่ได้ใช้งานแขนขาด้านนั้นๆ อาการกล้ามเนื้อฝืดเกร็ง (Rigidity) โดยทั่วไปมักจะถูกตรวจพบโดยแพทย์ พบได้ที่บริเวณแขน ขา คอ หรือ ลำตัว อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) ผู้ป่วยจะมีการเคลื่อนไหวที่ช้าและความกว้างของการเคลื่อนไหวจะค่อยๆ ลดลงเมื่อทำการเคลื่อนไหวนั้นซ้ำๆ เช่น การกำแบมือทำได้ช้าและเมื่อทำซ้ำๆ พบว่าจะแบมือได้กว้างน้อยลงกว่าเดิมเป็นต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจะมาพบแพทย์ด้วยว่าขณะเดินแกว่งแขนได้ลดลงอาการสั่น, กล้ามเนื้อฝืดเกร็ง และการเคลื่อนไหวช้านั้น ในช่วงแรกของโรคอาการดังกล่าวมักจะแสดงออกที่ร่างกายข้างใดข้างหนึ่งก่อน จากนั้นเมื่อการดำเนินโรคเป็นมากขึ้น อาการดังกล่าวจะกระจายข้ามไปยังร่างกายข้างตรงข้าม แต่จะยังคงมีความรุนแรงของอาการไม่เท่ากันโดยข้างที่เป็นจุดเริ่มต้นของอาการมักจะยังคงมีความรุนแรงที่มากกว่าข้างที่เป็นตามมาทีหลัง การทรงตัวที่ไม่มั่นคง (Postural instability) ผู้ป่วยจะล้มง่ายกว่าปกติและมักพบว่าลำตัวและศีรษะจะค้อมไปด้านหน้านอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจจะแสดงอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ เช่นเขียนหนังสือตัวเล็กลง, เดินเท้าชิดก้าวสั้นๆ และซอยเท้าถี่ๆ, เดินศีรษะพุ่งไปด้านหน้าสีหน้านิ่งเฉยไม่แสดงอารมณ์ หรือ พูดรัวๆ และเสียงเบา เป็นต้น
โรคพาร์กินสัน อาการ สาเหตุ และวิธีสังเกต คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติม>> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1668
ที่มา: โรงพยาบาลรามคำแหง